ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ไกด์หนุ่ม” ฝ่าคลื่นโควิด เปิดร้านเซิร์ฟสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่

ไลฟ์สไตล์
9 ธ.ค. 65
17:40
794
Logo Thai PBS
“ไกด์หนุ่ม” ฝ่าคลื่นโควิด เปิดร้านเซิร์ฟสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไกด์หนุ่มวัย 32 ปี ผันตัวเองเปิดร้านเซิร์ฟบอร์ดหาดกะรน ท่ามกลางโรคโควิดระบาด หวังทำในสิ่งที่รัก บนบ้านเกิด จนกลายเป็นเครือข่ายการรวมตัวคนรุ่นใหม่ต่อยอดหลายธุรกิจ

เมืองภูเก็ตรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงเนื่องจากแบกรับภาระไม่ไหว แต่ยังมีอีกหนึ่งธุรกิจที่สวนกระแสที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤต เพียงเพื่อไม่ต้องการให้เมืองภูเก็ตเงียบเหงา

เด็กหนุ่มวัย 32 ปี ที่มองบ้านเกิดตัวเอง มองบรรดาร้านค้าที่ปิดแทบทุกร้าน ซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจเปิดร้าน swell club สวนกระแสเพื่อหวังเพียงว่าขอเป็นกำลังเล็กๆ ที่สามารถดึงนักท่องเที่ยวได้บ้าง

นายณรงค์ยศ นาคปาน

นายณรงค์ยศ นาคปาน

นายณรงค์ยศ นาคปาน

จุดเปลี่ยนของชีวิต

นายณรงค์ยศ นาคปาน หรือ ดอน อายุ 32 ปี เล่าให้ไทยพีบีเอสออนไลน์ฟัง ว่า หลังเรียนจบการโรงแรมการท่องเที่ยว ได้ทำงานเป็นมัคคุเทศก์ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ช่วงระหว่างทำงาน ได้เจอผู้ใหญ่ที่นับถือชักชวนให้เล่นกระดานโต้คลื่น ที่เขาหลัก และนี่ก็เป็นครั้งแรกของการจับกระดานโต้คลื่นของดอนนั่นเอง

หลังจากที่ได้ลองเล่น 1-2 ชั่วโมง ดอนรู้สึกว่ากีฬานี้มีความน่าสนใจ มีความสุข ไม่ต้องคิดอะไร และได้เล่นมาเรื่อยๆ ที่มีเวลาว่างจากงานประจำ

จากภาระงานที่หนักไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง และไม่มีเวลาดูแลคนในครอบครัว หรือสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ประจวบเหมาะกับเกิดโรคโควิด-19 ระบาดในช่วงปี 2563 ทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยลง จึงเป็นจุดเปลี่ยนให้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ทำมา 4 ปี แต่ใจรักงานบริการ รักภาษา รักการพบปะผู้คน ชอบเปิดโลกใหม่ๆ ดอนยังคงรับงานฟรีแลนซ์เรื่อยมา

เริ่มนับหนึ่งของ swell club ท่ามกลางโควิด

swell club สอนเล่นกระดานโต้คลื่น หรือ Surf Board เจ้าแรกของหาดกะรน ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการแพร่ระบาดของ โควิด-19

เมืองภูเก็ตเงียบมาก เกิดมาชีวิตนี้ไม่เห็นมาก่อน และไม่คาดคิดว่าจะเห็นภาพเมืองภูเก็ตที่แทบจะกลายเป็นเมืองร้าง

ด้วยเงินก้อนสุดท้ายที่มีอยู่ รวมหุ้นกับเพื่อนคนละ 50,000 บาท รวมเป็น 100,000 บาท เพื่อหาสถานที่ บริหารจัดการในร้านทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง และยังมีเหล่าบรรดาเพื่อนๆ ที่มาช่วยในการออกแบบและตกแต่งร้าน

ไม่ได้กลัวว่าการเปิดธุรกิจในช่วงโควิดระบาดจะทำให้ร้านไปไม่รอด ไม่เคยคิดเช่นนั้น แค่ต้องการทำอะไรในสิ่งที่เรารัก คิดในใจ ณ ตอนนั้น ลองกันดูสักตั้ง ไหวไม่ไหวก็ช่างมัน
swell club

swell club

swell club

ทำไมต้องเป็น Surf Board

ดอน เล่าว่า เป็นคนภูเก็ตโดยกำเนิด และกิจกรรมกระดานโต้คลื่นของเมืองภูเก็ตได้เกิดขึ้นนานแล้วประมาณ 17 - 18 ปี แต่ส่วนตัวเริ่มเล่นมาประมาณ 5 ปี และก่อนหน้านี้ไม่รู้มาก่อนว่ากระดานโต้คลื่นที่ภูเก็ตก็สามารถเล่นได้

เกิดจากการตั้งคำถาม ว่าทำไมหาดกะรนถึงไม่มีกิจกรรมหรือชมรมอะไร ที่ทำให้นักท่องเที่ยวมาที่นี่มากกว่าการมานั่งมองทะเล

และด้วยใจรักในกีฬาประเภทนี้ และบนหาดกะรนมีคลื่นที่สวย ที่สามารถเล่นกระดานโต้คลื่นได้เช่นเดียวกับหาดอื่นๆ

swell club

swell club

swell club

จากโครงการขายฝันสู่ความเป็นจริง

เกิดจากต้นทุนที่ติดลบ ทั้งเป็น community ที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่มีคนรู้จัก และท่ามกลางโควิด-19 จึงทำให้ดูเหมือนจะเป็นโครงการขายฝัน

น้องดอนเล่าว่า ต้องการทำอะไรบางอย่างเพื่อให้คนได้รู้จักกีฬาชนิดนี้ และให้รู้ว่า จ.ภูเก็ต สามารถเล่นกระดานโต้คลื่นได้ โดยเริ่มการทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการเล่นกระดานโต้คลื่น เพื่อเป็นการโปรโมท แต่ก็ใช้ระยะเวลานานพอสมควร

เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลายนักท่องเที่ยวเริ่มท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้ภูเก็ต รวมทั้งหาดกะรนเริ่มกลับมาคึกคัก แต่มองว่ายังไม่เต็ม 100 %
swell club

swell club

swell club

กลุ่มลูกค้า swell club

ลูกค้าส่วนใหญ่จะติดต่อทางช่องทางโซเชียลมีเดีย กลุ่มคนที่นิยมเล่นอย่างเช่น รัสเซีย ออสเตรเลีย อังกฤษ อเมริกา และสำหรับลูกค้าคนไทยเองจะมีความหลากหลายด้านอาชีพ

นักท่องเที่ยงคนหนึ่งบอกว่าเคยมาไทยเกือบ 10 ครั้ง เพิ่งทราบว่าที่ไทยสามารถเล่นกระดานโต้คลื่นได้ และปัจจุบันตอนนี้ก็กลับมาภูเก็ตซ้ำอีกหลายครั้ง เพื่อมาเล่นกระดานโต้คลื่น

กลุ่มคนอายุส่วนใหญ่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งเด็กสุดที่เคยมาเล่นที่นี่อายุ 9 ขวบ แต่ต้องมีระดับการดูแลด้านความปลอดภัยสูง และเคยสอนคนอายุมากสุดเกือบ 60 ปี ทั้งนี้ไม่จำกัดอายุขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมร่างกายของแต่ละคน

swell club คือ community

จากคนที่รักในกระดานโต้คลื่น ที่มารวมตัวกันที่นี่ มีความหลากหลายด้านอาชีพ ได้มาเจอกัน พบปะพูดคุย มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในสายอาชีพของแต่ละคน อย่างเช่น ดีไซน์เนอร์ เภสัชกร อาจารย์ และอีกหลายอาชีพ ที่มารวมกลุ่มทำกิจกรรมที่ใจรักด้วยกัน community จึงเกิดขึ้น ณ ที่นี่

ทั้งนี้ swell club เปิดพื้นที่ให้ทุกคนมารวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเปิดพื้นที่หน้าร้านให้กับเครือข่าย นำสินค้าที่ตัวเองมีมาวางขาย อย่างเช่นสายอาชีพอาจารย์ที่นำผ้าพิมพ์ลายมาวางขาย รวมทั้งครูสอนศิลปะที่วาดโปสการ์ด รวมทั้งทำสร้อยข้อมือมาวางขาย เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยกระจายรายได้

swell club

swell club

swell club

จุดเด่น และ ความแตกต่าง

โรงเรียนสอนกระดานโต้คลื่นใน จ.ภูเก็ต มีหลายแห่ง กระจายตามชายหาดต่างๆ ซึ่งแต่ละที่มีความหลากหลาย

สำหรับ swell club จะเน้นขายความเป็น community ขายความเป็นกันเอง ขายความเอาใจใส่ เสนอมุมมองที่นักเซิร์ฟไม่ค่อยได้เห็นทั้งในเรื่องของการแนะนำในรูปแบบวีดีโอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่ถ่ายทอดให้ลูกค้าได้เห็น

มาตรฐานในการดูแลลูกค้า

ดอน บอกว่า ต้องดูลูกค้าว่าอยู่ระดับไหน ระดับพื้นฐาน ระดับมีพื้นฐานแล้ว หรือระดับชำนาญ เพราะการเล่นกระดานโต้คลื่น กำลังเล่นอยู่กับธรรมชาติ สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือความปลอดภัยของลูกค้า ทั้งนี้ต้องเช็กสภาพอากาศในแต่ละวัน

นอกจากมีใจรักแล้ว ยังต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยเพื่อเป็นการป้องกันการบาดเจ็บได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับคนที่เป็นครูสอนหรือเป็นโค้ชต้องมีผ่านการอบรมจากสมาคมกระดานโต้คลื่นแห่งประเทศไทยด้วย

swell club

swell club

swell club

ความสนุกเมื่อโต้คลื่นกลางทะเล

น้องดอน เล่าว่า กระดานโต้คลื่นถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมเอ็กซ์ตรีมทางน้ำที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก

แต่สำหรับคนไทยยังถือว่าเป็นกีฬาชนิดใหม่หลายคนยังมีความกลัวไม่กล้าจะเล่น อยากให้เปิดใจลองเล่นสักครั้ง อาจจะติดใจและอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอีกทั้งยังตื่นเต้น ท้าทาย ได้เจอเพื่อนใหม่ๆ
น.ส.เบญจะมาภรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง

น.ส.เบญจะมาภรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง

น.ส.เบญจะมาภรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง

เล่น Surf Board ฝ่า “ความกลัว”

น.ส.เบญจะมาภรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง หรือ เบญ อายุ 34 ปี หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง swell club เปิดใจว่า เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยที่สูญเสียบุคคลในครอบครัวจากเหตุการณ์สึนามิ ส่งผลให้กลายเป็นโรคแพนิคกลัวทะเล และพยายามหาทางออกโดยการไปดำน้ำ ทำกิจกรรมทางทะเล แต่สิ่งที่เบญค้นพบคือไม่ได้กลัวทะเล แต่เป็น “คลื่น” ที่ทำให้กลัว

ดอนได้ชักชวนให้เล่นกระดานโต้คลื่น เมื่อได้ลองเบญรู้สึกติดใจและทำให้ความกลัวที่เกิดขึ้นภายใต้จิตใจลดน้อยลง

ตอนนี้อาการกลัวคลื่นเรียกได้ว่าลดลงแล้ว แต่เมื่อไหร่ที่เจอคลื่นสูงมากๆ ก็ยังมีอาการแอบกลัวนิดหน่อย ต้องคอยปลอบตัวเองว่ามันแค่คลื่นไม่ใช่สึนามิ และหวังว่าจะผ่านไปได้

อนาคต Surf Board

เบญ บอกว่า ก่อนหน้านี้กะรนยังไม่ได้รับความนิยมเล่นกระดานโต้คลื่นเนื่องจากมรสุมแรงกว่าชายหาดอื่นๆ แต่ปรากฏว่าเมื่อวันใดที่มรสุมน้อยลงหาดกะรนจะมีคลื่นที่สวยมาก ส่วนนักท่องเที่ยวเองเริ่มมาโต้คลื่นที่กะรนมากยิ่งขึ้น

สำหรับกีฬาประเภทนี้ ดอน บอกว่า เริ่มเป็นที่นิยมและรู้จักแพร่หลาย ซึ่งคนไทยหลายคนก็กวาดรางวัลการแข่งขันตามสถานที่จัดการแข่งขันในต่างประเทศมากมายหลายรางวัล

ภาพนักเล่นเซิร์ฟที่ชายหาดกะรนประมาณกว่า 40 คน ที่กำลังโต้คลื่น ผมรู้สึกดีใจมากที่คนชื่นชอบกีฬาประเภทนี้และเป็นภาพที่หาดูได้ยากที่หาดกะรน ยังตราตรึงใจอยู่ทุกวันนี้ ทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้เริ่มเห็นผล ซึ่งบ่งบอกได้ว่าคนกำลังให้ความสนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง