ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ธปท.สั่งแบงก์ปรับระบบ "ยืนยันตัวตน" รูปแบบอื่น แทนบัตรเดบิต-เครดิตได้

เศรษฐกิจ
18 ต.ค. 65
12:46
5,414
Logo Thai PBS
ธปท.สั่งแบงก์ปรับระบบ "ยืนยันตัวตน" รูปแบบอื่น แทนบัตรเดบิต-เครดิตได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ธปท.ชี้แจงกรณีการปรับขั้นตอนฝากเงินผ่านเครื่อง CDM ต้อง "ยืนยันตัวตน" ผ่านบัตรเดบิต-บัตรเครดิต พร้อมสั่งธนาคารพาณิชย์พัฒนารูปแบบให้ใช้ "บัตรประเภทอื่น" ยืนยันตัวตนแทนได้

เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2565 ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ วิพากษ์วิจารณ์กรณีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ออกหลักเกณฑ์กำหนดให้การทำธุรกรรมฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ หรือ CDM ต้องใช้บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ยืนยันตัวตน เพื่อป้องกันไม่ให้มีช่องทางฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ เป็นช่องว่างขบวนการฟอกเงินของอาชญากรรมต่างๆ ทั้งการพนันและยาเสพติด

ผูัใช้บริการทางการเงินบางส่วน กังวลว่า มาตรการดังกล่าวอาจสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการออกบัตรใหม่ รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมผ่านตัวแทนผู้ให้บริการทางการเงิน หรือ Banking agent

อ่านข่าว : ปปง.เข้มฝากเงินตู้ CDM ต้องใช้บัตรเดบิตยืนยันตัว เริ่ม 15 พ.ย.นี้

ด้านนางบุษกร ธีระปัญญาชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงกรณีข่าวการทำธุรกรรมฝากเงินผ่านเครื่อง CDM ต้องใช้บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต เสียบเข้าตู้พร้อมกรอกรหัส เพื่อยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรม ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.นี้เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของสำนักงาน ปปง.

ส่วนผู้ที่ไม่มีบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต สามารถฝากเงินผ่านสาขาธนาคาร หรือตัวแทนผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ตู้เติมเงิน เคาเตอร์ของร้านสะดวกซื้อ ไปรษณีย์ และตัวแทนรับฝากเงินอื่นของธนาคาร

ทั้งนี้ ธปท.จะเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการพัฒนาระบบให้สามารถรองรับการยืนยันตัวตนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การใช้บัตรประชาชน หรือการยืนยันตัวตนในลักษณะ Cardless เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยเร็ว

ข้อมูลจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานค่าธรรมเนียมการออกบัตรเดบิตของธนาคารพาณิชย์ พบว่า การออกบัตรใหม่ครั้งแรกจะไม่มีค่าธรรมเนียม ไปจนถึง 200-500 บาท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการใช้บัตร พ่วงกรมธรรม์ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ บนบัตรหรือไม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง