ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สั่งเฝ้าระวัง “โรคไข้ดิน” สงขลา ตายแล้ว 5 ใน 7 คน

สังคม
18 ต.ค. 65
12:36
35,777
Logo Thai PBS
สั่งเฝ้าระวัง “โรคไข้ดิน” สงขลา ตายแล้ว 5 ใน 7 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พบผู้ป่วยโรคเมลิออยด์โดสิส หรือโรคไข้ดิน ในพื้นที่ 6 ตำบลของ อ.เทพา จ.สงขลา จำนวน 7 คน เสียชีวิตแล้ว 5 คน ทางเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอเทพา เร่งลงพื้นที่รณรงค์ยับยั้งการระบาดและเก็บตัวอย่างดินและน้ำไปตรวจวิเคราะห์

วันนี้ (18 ต.ค.2565) ที่ อ.เทพา จ.สงขลา เครือข่ายสุขภาพอำเภอเทพา จ.สงขลา นายวีรศักดิ์ เบญอะหลี สาธารณสุขอำเภอเทพา จ.สงขลา ออกรณรงค์ป้องกันโรคเมลิออยด์โดสิส หรือโรคไข้ดิน หลังจากที่พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ใน อ.เทพา ตั้งแต่เดือนเม.ย. ถึงเดือนต.ค.ปีนี้ จำนวน 7 คน และเสียชีวิตถึง 5 คน

ประกอบด้วย พื้นที่ ต.เกาะสะบ้า 2 คน เสียชีวิต 1 คน ,ต.ท่าม่วง 1 คนเสียชีวิตแล้ว ,ต.เทพา เสียชีวิต 1 คน ,ต.ลำไพล เสียชีวิต 1 คน ,ต.ปากบาง เสียชีวิต 1 คน และ ต.วังใหญ่ 1 คน

ในวันนี้เครือข่ายสุขภาพอำเภอเทพา ออกรณรงค์ครั้งใหญ่ ให้ประชาชนตื่นตัวและรู้วิธีการป้องกันจากการป่วยด้วยโรคไข้ดิน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทั้ง 6 ตำบล ที่พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ เพื่อยับยั้งการระบาดเร็วที่สุด โดยลงพื้นที่พบประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั้งที่ทำไร่ทำนาทำสวน และประชาชนที่อยู่ตามหมู่บ้าน เพื่อให้ความรู้ และวิธีการป้องกันโรคนี้

นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างดินและน้ำ ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วย เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดว่ามีเชื้อของโรคเมลิออยด์โดสิสหรือโรคไข้ดินปนเปื้อนหรือไม่

สำหรับโรคเมลิออยโดสิส เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ระบาดในประเทศไทย ไม่มีอาการแสดงที่จำเพาะ ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการไข้สูงเพียงอย่างเดียว อาจมีไข้สูงช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยไม่มีอาการจำเพาะที่อวัยวะใด ๆ และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ 2 วัน ถึงนานหลายปี

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Burkholderia pseudomal lei พบได้ทั่วไปในดินและน้ำในแหล่งระบาด พบบ่อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่ร่างกายอนุษย์โดยผ่านทางผิวหนัง ไม่จำเป็นต้องมีรอยขีดข่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานาน หรือการดื่มน้ำที่ไม่ผ่านการต้มสุก ผ่านทางการหายใจ หายใจฝุ่นดินเข้าไปในปอด

วิธีการป้องกันคือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากต้องสัมผัสดินหรือน้ำ เช่นทางการเกษตร จับปลา ลุยน้ำ หรือลุยโคลน ควรสวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาวเสื้อแขนยาว สวมหน้ากากอนามัยหรือ ชุดลุยน้ำ หรือหลังเสร็จจากการลุยน้ำให้ความสะอาดร่างการฟอกสบู่ทันที

กรณีหากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทาแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ ไม่ใส่ดินหรือสมุนไพรใด ๆ ลงบนแผล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะหายสนิท และควรดื่มน้ำต้มสุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง