ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คำบอกเล่า ชีวิตกลางน้ำคนอุบลฯ ติดน้ำท่วม 1 เดือน

ภัยพิบัติ
13 ต.ค. 65
16:31
443
Logo Thai PBS
คำบอกเล่า ชีวิตกลางน้ำคนอุบลฯ ติดน้ำท่วม 1 เดือน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

“น้ำท่วมมิดหลังคาสูงเกือบ 3 เมตรอยู่ไม่ได้”

“อยากให้น้ำลดไว ๆ ลำบากมาอยู่ศูนย์พักพิง”

“น้ำท่วมจุดนี้นานกว่าเพราะเป็นแอ่งกระทะของแม่น้ำมูล ได้รับโปรโมชัน”

เสียงสะท้อนของชาวบ้านในศูนย์พักพิงชั่วคราว เทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี บอกกับทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ ระหว่างการลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่หลังถูกน้ำท่วมนานเกือบ 1 เดือน

 

นางประยูร บุญเคน ชาวบ้านหมู่บ้านหาดสวนยา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี อายุ 50 ปี บอกว่า อพยพมาพร้อมกับสามี และลูกรวม 5 คน ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา เพราะน้ำท่วมมิดหลังคา ไม่มีที่อยู่ และระดับน้ำท่วมยังไม่ลดลง

อีกทั้งกังวลว่าจะมีฝนตกลงเพิ่มในวันพรุ่งนี้ (14 ก.ย.) ส่งผลให้น้ำท่วมสูงขึ้น แต่ที่จุดอพยพแห่งนี้มีอาหาร 3 มื้อ ช่วยแบ่งเบาภาระในช่วงที่ขาดรายได้จากการขายผัก

ประยูร กล่าวว่า เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำห้องนำเคลื่อนที่มาให้ชาวบ้านได้ใช้บริการ เพราะค่อนข้างลำบาก

น้ำท่วมไปไหนก็ลำบาก ไม่มีห้องน้ำ
ประยูร บุญเคน

ประยูร บุญเคน

ประยูร บุญเคน

ขอห้องน้ำลอยน้ำ-มิจจาชีพฉวยโอกาส

สอดคล้องกับ นายศราวุธ บุญห่อ ที่กำลังเดินทางเอาอาหารไปฝากสุนัขที่เลี้ยงไว้ บอกตรงกันว่า ปีนี้น้ำมูลมาแรง และเร็วท่วมนาน ตอนนี้ที่บ้านน้ำมิดหัวลึก 3 เมตร ต้องอพยพครอบครัวมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. ยอมรับว่าค่อนข้างลำบากทั้งเรื่องของการอยู่อาศัยแต่ก็ต้องจำยอมเพราะสถานการณ์น้ำท่วมไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

สิ่งที่ชาวบ้านอยากได้ตอนนี้คือ ส้วม และระบบสุขาเพราะต้องยอมรับว่าบางคนก็อาจ ต้องขับถ่ายใส่ถุง มีผู้นำชุมชนไปแจ้งแล้วแต่ไม่แน่ใจว่าติดขัดอะไร

ทุก ๆ วันจะต้องเข้าไปดูบ้าน ขึ้นเรือไปจากศูนย์พักพิงประมาณ 1 กม. และเอาอาหารไปให้สุนัข เพราะขนย้ายมาอยู่ด้วยไม่ได้
ศราวุธ บุญห่อ

ศราวุธ บุญห่อ

ศราวุธ บุญห่อ

 

ขณะที่ นายสุมิน เฉลิมศิลป์ รองประธานชุมชนหาดสวนยา บอกว่า ภาพรวมสถานการณ์น้ำท่วม ถึงแม้ชาวบ้านจะมาอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว แต่เรื่องอาหารความเป็นอยู่มีการมีจิตอาสาและมีหน่วยงานเข้ามาดูแลเต็มที่

เขาบอกว่า สิ่งที่ยังขาดเหลือเป็นเรื่องของห้องสุขาที่ยังไม่มาแม้จะมาอยู่ที่นี่เกือบ 1 เดือน ชาวบ้านบางส่วนต้องยอมเดินข้ามสะพานระยะทางเกือบ 500 เมตร เพื่อไปเข้าที่ปั๊มน้ำมันในฝั่งตรงข้าม

น้ำท่วมยังมีมิจฉาชีพมาซ้ำเติม ลักขโมยของในบ้าน เขารู้บ้านไหนฐานะดีหรือไม่ดี เตาแก๊สถูกยกไป สายไฟก็ยังมาแอบตัด เพราะเขารู้ว่าไฟตัดแล้ว ทำให้ชาวบ้านบางส่วนเลือกที่จะเฝ้าบ้าน
สุมิน เฉลิมศิลป์

สุมิน เฉลิมศิลป์

สุมิน เฉลิมศิลป์

นอนเฝ้าบ้านชั้นลอย-น้ำไม่เหมือนเดิม

ด้านนายประภาส สมบูรณ์ ชาวบ้านหาดสวนยา ที่วันนี้จำยอมนอนเฝ้าบ้านน้ำท่วมที่ชั้นลอย บอกว่า อยากอยู่ที่บ้าน เพราะสงสารบ้าน ตอนนี้อยู่บนชั้นลอยนอนดูระดับน้ำไปเรื่อย ๆ ก็พบว่าสูงขึ้นทุกวันจนเกือบมิดหลังคามองไปเห็นแต่น้ำแผ่เต็มพื้นที่ กลางคืนจุดเทียนนอน

ประภาส สมบูรณ์

ประภาส สมบูรณ์

ประภาส สมบูรณ์

 

ประภาส ระบุว่า มวลน้ำข้างบนยังมีมาก ลำพังฝนตกในเขต จ.อุบลราชธานี ก็มากแต่ตรงนี้เป็นแอ่งกระทะพื้นที่สุดท้ายที่รอรับน้ำ ได้โปรโมชันสุด ๆ ถ้าท่วมต่ออีก 1 เดือน คิดว่าจะอยู่ต่อไปที่บ้าน คงใช้วิธีต่อขึ้นไปเรื่อย ๆ และใช้ผ้าใบมาคลุม 

น้ำไม่คงเดิม ปีนี้น้ำขึ้นมาก ปีหน้าน้ำอาจจะลดลงหน่อย มันจะคงเดิมไม่ได้ มวลน้ำข้างบนมีมากตรงนี้เป็นแอ่งกระทะรับน้ำ ได้โปรโมชัน

นอกจากนี้นายประภาส ยังบอกอีกว่า สำหรับที่บ้านก่อนหน้านี้ได้ลงทุนปลูกไม้ประดับ หวังว่าจะไว้ขายในช่วงหน้าหนาวลงทุนไปเกือบ 30,000 บาท พอน้ำมาพังหมด หลังจากน้ำรถยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากจุดไหนดีเพราะบ้านก็เสียหาย อาชีพก็ต้องนับหนึ่งใหม่

ถวายเพลพระทุกวันจนกว่าน้ำลด

นางภาวินี วงศ์เสนา นางอำพร พงษ์อนันต์ และนางอำนวย ชัยภูมิ หมุ่บ้านคุ้มวัดหนองบัว ห่างจากจุดสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี จ.อุบลราชธานี นำอาหารและปัจจัยมาถวายพระ

วัดเสนาวงศ์ (บ้านท่าบ้งมั่ง) ที่ต้องพายเรือมารับเพลในช่วงเวลา 10.00 น. ของทุกวันตั้งแต่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากวัดถูกน้ำท่วมหนัก พระ 9 รูปต้องอยู่กับวัด ตัวแทนชาวบ้านบอกว่าอิ่มเอมใจ แม้จะต้องมาถวายเพลพระทุกวัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมชลฯ คาดน้ำท่วมอุบลฯ ยาวอีก 1 เดือน จ่อรับน้ำจากศรีสะเกษ

ปิดไม่มีกำหนด น้ำล้อม "สวนสัตว์อุบลฯ" สัตว์ 600 ชีวิตปลอดภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง