ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดภาพ “นกกระเรียนพันธุ์ไทย” คืนทุ่งประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

สิ่งแวดล้อม
21 ก.ย. 65
14:54
2,219
Logo Thai PBS
เปิดภาพ “นกกระเรียนพันธุ์ไทย” คืนทุ่งประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“นกกระเรียนไทย” หลังสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติมาแล้ว 50 ปี หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า นกกระเรียนพันธุ์ไทยเคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของไทยไปแล้ว

ด้วยความพยายามของนักอนุรักษ์ ทำให้พวกเขาได้กลับมาโบยบินกลางทุ่งนา อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ อีกครั้ง ปัจจุบันมีนกกระเรียนพันธุ์ไทยอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และสามารถขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ (ข้อมูลจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร)

 "หมาย ไม้เรียว" ช่างภาพธรรมชาติ เฝ้าบันทึกภาพลีลาอันงดงามของกระเรียนไทย มาฝาก พร้อมบันทึกในเพจของเขาว่า

การถ่ายภาพธรรมชาติ ชีวิตมันเหมือนชีพจรลงเท้าจริง ๆ ไปช้ากว่านี้ลูกนกโต ต้นหญ้า ต้นข้าวในนาสูงท่วมตัวนก โอกาสที่จะถ่ายภาพครอบครัวนกกระเรียนพันธ์ไทยแบบนี้ค่อนข้างยากมาก มีโอกาสก็ต้องไป

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

บางครั้งภาพที่เราอยากได้แสงเช้ากับนกในหัว ก็ไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง ไม่มีแสงเช้าฝนตกตลอดทั้งคืน เช้ามาก็ยังไม่หยุด สถานการณ์มันจะสอนให้เราเกิดประสบการณ์ในการถ่ายภาพท่ามกลางสายฝน อุปกรณ์ต้องพร้อม เสื้อกันฝน ผ้าคุมกล้อง รองเท้าบูท แต่ผมลืม ขอขอบคุณมิตรภาพจากพี่ๆ ด้วยที่ให้ยืมเสื้อกันฝน ถุงดำเอามาเจาะรูคุมกล้องคุมเลนส์ ไม่งั้นอดได้ภาพนกกระเรียนพันธ์ไทย ขอขอบคุณจากใจจริง

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ข้อมูล “นกกระเรียนพันธุ์ไทย” จากเว็บไซต์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า นกกระเรียนพันธุ์ไทยเคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของไทยไปแล้ว แต่ด้วยความพยายามของนักอนุรักษ์ ทำให้พวกเขาได้กลับมาโบยบินกลางทุ่งอีกครั้ง ปัจจุบันมีนกระเรียนพันธุ์ไทยอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ และสามารถขยายพันธุ์ได้เองจำนวน 102 ตัว

การหายไปของนกกระเรียนพันธุ์ไทยส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาและการขยายตัวของเมือง วิถีชีวิตของผู้คนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีการทำเกษตรที่ใช้สารเคมี ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งเสื่อมโทรม รวมไปถึงการล่าในอดีต สิ่งเหล่านี้ต่างรบกวนการใช้ชีวิตของพวกเขา ทำให้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว นกกระเรียนพันธุ์ไทยได้ถูกระบุเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในธรรมชาติของไทย

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

โครงการนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2525 ในช่วงนั้นมีการร่วมมือระหว่างไทยกับมูลนิธิอนุรักษ์นกกระเรียนสากล (International Crane Foundation)

ต่อมาในปี 2533 สวนสัตว์โคราชเริ่มมีการขยายพันธุ์แบบธรรมชาติและการผสมพันธุ์เทียม จากจำนวนพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้นจำนวน 33 ตัว ได้ลูกนกที่รวมพ่อแม่พันธุ์ในกรงเลี้ยงทั้งหมดประมาณ 100 ตัว ภายในปี 2552

แม้การเพาะขยายพันธุ์จะสำเร็จ แต่เป้าหมายหลักในครั้งนี้ ไม่ใช่การเพิ่มจำนวนของลูกนกในกรงเลี้ยง แต่เป็นการพานกกระเรียนพันธุ์ไทย ให้กลับมาโบยบินในธรรมชาติอีกครั้ง

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ปี 2554 องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย และสวนสัตว์โคราช ได้ปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทย กลับคืนสู่ธรรมชาติเป็นครั้งแรก 10 ตัว เป็นลูกนกกระเรียน อายุประมาณ 1 ปี โดยพิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมคือ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำสนามบิน จ.บุรีรัมย์

ทั้ง 2 พื้นที่ ถือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของนกหลายชนิด และมีภาพถ่ายยืนยันว่า จังหวัดบุรีรัมย์เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทยในอดีต

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

จากการปล่อยลูกนกในปีนั้นพบว่า ไม่ประสบผลสำเร็จ ลูกนกอยู่รอดได้ประมาณ 1-2 ปี เท่านั้น เนื่องจากเป็นการปล่อยลูกนกครั้งแรก องค์ความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ของนักวิจัยจึงมีไม่มากมาก ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมในปีนั้น ทำให้การติดตามทำได้ยากขึ้นจึงไม่สามารถเข้าไปดูแลลูกนกได้

โครงการได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในทุก ๆ ปีจะมีการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยประมาณ 10-15 ตัว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมา ได้มีการปล่อยเพิ่มอีกจำนวน 14 ตัว ซึ่งก่อนหน้านี้ปล่อยไปแล้ว 119 ตัว รวมเป็น 133 ตัว จากการติดตามพบว่า โอกาสรอดของลูกนกสูงถึง 70% และคาดว่ามีนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่อาศัยในธรรมชาติจริง ๆ จำนวน 102 ตัว

นกกระเรียนพันธุ์ไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนาข้าวเป็นสัดส่วนมากกว่า 40% การหาจุดบาลานซ์ระหว่างนกกระเรียนไทยกับชาวนาจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

ขอบคุณภาพ : หมาย ไม้เรียว

จากความร่วมมือกับท้องถิ่นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจเรื่องนกกระเรียนพันธุ์ไทยมากขึ้น นาข้าวที่ได้รับความเสียหายจากการย่ำเท้าของนกกระเรียนก็จะมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบ โดยส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านในบริเวณโดยรอบเอง ได้เปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อหาจุดสมดุลทางธรรมชาติที่คนและสัตว์จะอาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนได้อย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง