ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ไรเดอร์" ปรับไปใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แก้น้ำมันแพง

เศรษฐกิจ
5 มิ.ย. 65
19:13
1,679
Logo Thai PBS
"ไรเดอร์" ปรับไปใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แก้น้ำมันแพง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปัญหาน้ำมันแพงกระทบต้นทุนไรเดอร์ หลังกลุ่มน้ำมันเบนซิน ยังไม่ได้รับการอุดหนุนราคาเหมือนดีเซล กลุ่มไรเดอร์ย่านถนนบรรทัดทองบางส่วน หาทางออกด้วยการหันไปเช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพราะเทียบกับค่าน้ำมันแล้ว แต่ละวันถูกกว่าเป็นหลักร้อยบาท

วันนี้ (5 มิ.ย.2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พาหนะหลักที่ต้องใช้ในการทำมาหากินของกลุ่มไรเดอร์ คือ มอเตอร์ไซค์ เพื่อขนส่งอาหารตลอดทั้งวัน และเป็นหนึ่งในผู้ที่เดือดร้อนจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ จนทำให้ต้นทุนค่าขนส่งอาหารเฉลี่ยวันละ 100 -180 บาท หรือ ต้องเสียค่าน้ำมันวันละ 250 บาท


ช่วง 2-3 เดือนนี้ กลุ่มไรเดอร์ย่านถนนบรรทัดทอง หลายคน ตัดสินใจเปลี่ยนมาทดลองใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแทน โดยยอมเสียค่าเช่ากับบริษัทที่เปิดให้เช่า เพราะหากเปรียบเทียบค่าเช่าวันละ 120 บาท ถูกกว่าเท่าตัว และบริษัทให้เช่ารับผิดชอบทั้งค่าบำรุงรักษารถ และประกันภัย


ความจุแบตเตอรี่วิ่งได้สูงสุด 125 กิโลเมตร หากต้องวิ่งรับงานวันละ 40 งาน ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ศูนย์ให้บริการ 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ใช้เวลา 10 นาที ไรเดอร์มองว่า ไม่เป็นปัญหา

ปัจจุบันธุรกิจให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในไทยมีเพียงบ 4-5 ราย แต่ละรายจะมีอัตราค่าเช่า เฉลี่ย 83 – 200 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเช่า และจำนวนแบตเตอรี่ที่เลือกใช้ตามระยะการวิ่ง 

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) พบว่า ผลจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้ยอดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไตรมาสแรกของปีนี้ สูงขึ้นมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ยอดจดทะเบียนรถ EV เดือน เม.ย.2565 สะสมรวม 5,614 คัน สถานีชาร์จทั่วประเทศรวม 944 แห่ง


ส่วนมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮออล์ กระทรวงพลังงาน ยืนยันว่า กำลังหาวิธีช่วยเหลือกลุ่มไรเดอร์ นอกเหนือจากวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ได้เงินค่าอุดหนุนเดือนละ 250 บาท


ทั้งนี้ การจะสนับสนุนให้ครัวเรือนหันมาใช้รถ EV เพิ่มขึ้น การประชุมบอร์ดเร็ว ๆ นี้ สนพ.จะเสนอแพ็กเกจสนับสนุนลงทุน ตรึงค่าไฟฟ้า EV สำหรับผู้ประกอบการต่อเนื่องถึงปี 2568 พร้อมกับสนับสนุนการผลิตเครื่องชาร์จและแบตเตอรี่ EV ทั้งด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน ไปจนถึงการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อเร่งการใช้ EV ในประเทศ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง