ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พบ "นกเปล้าหน้าแดง" นกประจำถิ่นหายากของไทย

สิ่งแวดล้อม
9 พ.ค. 65
15:42
1,626
Logo Thai PBS
 พบ "นกเปล้าหน้าแดง" นกประจำถิ่นหายากของไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล พบ "นกเปล้าหน้าแดง" นกประจำถิ่นหายากของไทย

เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2565 เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล พบ "นกเปล้าหน้าแดง" เพศเมีย ซึ่งพบโดย นายวัชระ สงวนสมบัติ นักปักษีวิทยา และนักวิชาการประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และบันทึกภาพไว้ได้โดยนายบุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

สำหรับนกเปล้าหน้าแดง (Jambu Fruit Dove) เป็นนกชนิดที่พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย การกระจายพันธุ์ มีกำเนิดในสุมาตรา และบอร์เนียว ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในมาเลเซีย และไทย

ลักษณะทั่วไป เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (26-27 ซม.) ตัวผู้ใบหน้าเลือดหมู ด้านบนลำตัวสีเขียว ด้านล่างลำตัวสีขาว มีลายพาดสีชมพูที่อก และสีช็อคโกแลต ที่ขนคลุมโคนขนหางด้านล่าง คางสีออกดำ ขาและนิ้วสีแดง

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

 

ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่บริเวณใบหน้าเป็นสีม่วง คางทางพาดสีเข้ม ด้านล่างลำตัวสีเขียวเข้ม โดยบริเวณท้องเป็นสีขาว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลแดง-สีเนื้อ แตกต่างจากนกเปล้าอื่นๆ โดยขอบตาสีขาว ปากสีส้ม ไม่มีลายที่ปีก สีบริเวณอกและท้องตัดกันชัดเจน ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายกับตัวเมีย แต่บริเวณ ใบหน้าเป็นสีเขียว โคนปากสีเข้ม

เป็นนกที่พบตามป่าชายเลน และป่าดงดิบ ตั้งแต่ ระดับพื้นราบ จนกระทั่งความสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบโดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบที่อยู่เป็นฝูง เวลาเกาะกิ่งไม้พักผ่อน โดยเฉพาะในตอนเย็น ตัวจะยกสูงขึ้น ส่วนของท้องไม่ติดกับกิ่งไม้เหมือนอย่างนกเปล้าทั่วไป

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

 

นอกจากนี้ เป็นนกที่ค่อนข้างจะเปรียว จึงไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก กินผลไม้ต่างๆเป็นอาหาร โดยการเกาะกับกิ่งไม้ ผลกําลังสุก ใช้ปากเด็ดแล้วกลืนกินทั้งผล หากเป็นผลไม้ขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะกลืนกินทั้งผลก็อาจจะใช้ปากจิกกินทีละส่วน บ่อยครั้งที่ลงมายังพื้นดิน กินผลไม้สุกที่หล่นจากต้นโดยวิธีเดียวกัน หรือกินน้ำหรือกินโป่ง

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

ภาพ : บุญฤทธิ์ เดโชโชย หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกิจกรรมพิเศษ ประจำอุทยานแห่งชาติทะเลบัน

 

นกเปล้าหน้าแดง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว หรือระหว่างเดือน พ.ย. - ก.พ. ทำรังตามต้นไม้ เป็นรังแบบง่ายๆ ใช้กิ่งไม้มาวางซ้อนทับกันตามง่ามไม้ ส่วนชีววิทยาการสืบพันธุ์อื่นๆ ยังไม่เคยมีผู้ใดรายงานไว้ในประเทศไทย แต่คาดว่าคงไม่แตกต่างไปจากนกเปล้าอื่นๆมากนัก โดยเฉพาะการเลี้ยงดูลูกอ่อนในระยะแรกๆ คงใช้น้ำนมนกเช่นเดียวกัน

นกเปล้าหน้าแดง เป็นนกประจําถิ่นของไทย พบเฉพาะภาคใต้ตอนใต้สุด พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก สถานภาพตามกฎหมาย กฎหมาย นกเปล้า หน้าแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง