วันนี้ (16 เม.ย.2565) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานผู้ติดเชื้อเพิ่ม 18,892 คน ผู้ป่วยสะสม 1,788,749 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 65)หายป่วยกลับบ้าน 22,220 คน หายป่วยสะสม 1,595,484 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) กำลังรักษาตัว 221,452 คน เสียชีวิต 125 คน รวมเสียชีวิตสะสม 5,056 คน (ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.28
ขณะที่จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ที่ยังรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2,062 คนเฉลี่ยจังหวัดละ 27 คนอัตราครองเตียง ร้อยละ 26.7 นอกจากนี้กรมควบคุมโรครายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อจากการตรวจ ATK จำนวน 8,858 คนรวมตัวเลขสะสม 1,367,964 คน
ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิดในรอบ 1 สัปดาห์ระหว่างวันที่ 11-15 เม.ย.ที่ผ่านมามีมากกว่า 100 คนต่อเนื่อง โดยวันนี้ถือเป็นตัวเลขเสียชีวิตสูงที่สุดในรอบเกือบ 4 เดือน ดังนี้
- 11 เม.ย.65 ติดเชื้อเพิ่ม 22,387 คนเสียชีวิต 105 คน
- 12 เม.ย.65 ติดเชื้อเพิ่ม 19,982 คน เสียชีวิต101 คน
- 13 เม.ย.65 ติดเชื้อเพิ่ม 23,015 คน เสียชีวิต 106 คน
- 14 เม.ย.65 ติดเชื้อเพิ่ม 24,134 คน เสียชีวิตเพิ่ม 115 คน
- 15 เม.ย.65 ติดเชื้อเพิ่ม 20,289 คน เสียชีวิตเพิ่ม 119 คน
- 16 เม.ย.ติดเชื้อเพิ้่ม 18,892 คน เสียชีวิตเพิ่ม 215 คน
อ่านข่าวเพิ่ม โควิดไทยสะสม 3 ล้านคน-ฉากทัศน์ชี้ 19 เม.ย.เลวร้ายสุดติดเชื้อเกินแสนคน
ชี้หลังสงกรานต์รพ.รับมือคลื่นคนป่วยโควิด
ขณะที่ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟชบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ระบุว่า สถิติผู้เสียชีวิตจากโควิดช่วงสงกรานต์ยังทรงแบบขึ้นเล็กน้อย ไม่ต่างจากการเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุในช่วงเวลาเดียวกันที่น่าหวาดเสียวคือจำนวนผู้ป่วยอาการหนัก และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่ลดลงแล้วกลับขึ้นไปใกล้เคียงช่วงก่อนเทศกาล
โรงพยาบาลใหญ่หลายแห่งในหัวเมือง กำลังวิ่งวุ่นผันศักยภาพการดูแลผู้ป่วยทั่วไปมาดูแลผู้ป่วยโควิดอาการหนักที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น เกือบทั้งหมดยังเป็นกลุ่มเปราะบางที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้ไม่ครบ สัปดาห์หน้าคงเริ่มเห็นคลื่นกระเพื่อมว่าจะเล็กหรือใหญ่กันแน่
ผ่านมาแล้วสำหรับวันผู้สูงอายุแห่งชาติ วันครอบครัว จนเข้าสู่วันนี้ “วันเถลิงศก” ปีนี้มีการผ่อนคลายให้ผู้คนเฉลิมฉลองตามสมควร ยังมีการฝ่าฝืนบ้างแต่ในภาพรวมพอจะเอาอยู่ ได้โปรดช่วยกันเซฟผู้สูงอายุ คนท้อง และเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ ให้รอดพ้นจากโควิดได้มากที่สุด
อ่านข่าวเพิ่ม สธ.แนะเกณฑ์ฉีดวัคซีนเด็ก "ครึ่งโดส" รับมือเปิดเทอมพ.ค.นี้
ผลข้างเคียงวัคซีนโรคกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก 32 คน
นอกจากนี้ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ยังระบุว่า เมื่อพ้นจากเทศกาลสงกรานต์แล้ว เป็นช่วงเข้าสู่การเตรียมพร้อมเปิดเทอมในกลางเดือนหน้า หนึ่งในมาตรการรองรับคือการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นครั้งที่หนึ่ง (เข็ม3 ) ให้กับเด็กอายุ 12-17 ปี หลังจากผ่านเข็มสองมาแล้วกว่า 3 เดือน อาจจะมีผู้ปกครองบางคนกังวลเรื่องภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแทรกซ้อน
ข้อมูลจากคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งอเมริกา (US CDC) ได้ติดตามผลการฉีดวัคซีนของไฟเซอร์เข็ม 3 ในวัยรุ่นจำนวน 2.8 ล้านคน ระหว่างวันที่ 9 ธ.ค.2564 -20 ก.พ.นี้ พบการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแทรกซ้อนรวม 32 คน ทั้งหมดเกิดในเพศชายโดยมี 27 คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ทุกรายปลอดภัยดี
เมื่อคิดเป็นสัดส่วนการเกิดความผิดปกตินี้ ต่อผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนทั้งหมดในช่วงอายุ 12-17 ปีคือ 11.4 คนในหนึ่งล้าน ซึ่งลดลงกว่าเดิม 6-10 เท่าเมื่อเทียบกับการฉีดในเข็มที่ 2 ซึ่งพบ 70.7 คน ในหนึ่งล้าน
สำหรับอายุ 12-15 ปี และ 105.9 รายในหนึ่งล้านสำหรับอายุ 16-17 ปี สำหรับผลข้างเคียงอื่นๆ ไม่แตกต่างกันระหว่างเข็มสองกับเข็มสาม เห็นอย่างนี้แล้วผู้ปกครองที่ยังลังเลรีบเปลี่ยนใจกันได้แล้ว https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/71/wr/pdfs/mm7109e2-H.pdf
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เสียชีวิตจากโควิดเกินร้อย 3 วันติด กลุ่มสูงวัย-โรคเรื้อรัง 97%
ทั่วโลกติดโควิดแตะ 500 ล้านคน - ไทยป่วยเพิ่ม 2.3 หมื่น