ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.ไฟเขียวใช้วิธีตรวจยืนยันโควิด-19 แบบใหม่

สังคม
7 มี.ค. 65
13:59
2,080
Logo Thai PBS
สธ.ไฟเขียวใช้วิธีตรวจยืนยันโควิด-19 แบบใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยที่ประชุม EOC ไฟเขียวใช้วิธีตรวจยืนยันเชื้อ COVID-19 แบบใหม่ กำหนดคุณสมบัติเทียบเท่า RT-PCR โดยต้องเป็นชุดตรวจที่ตรวจจับสารพันธุกรรมของไวรัสได้ขั้นต่ำไม่เกิน 1000 copies/ml และตรวจจีโนม 2 ยีน หรือ 1 ยีน 2 ตำแหน่งได้

วันนี้ (7 มี.ค.2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม EOC ของกระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบแนวทางคำแนะนำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สำหรับไวรัสก่อ COVID-19 ฉบับร่าง ... มี.ค.2565 

นพ.ศุภกิจ ระบุว่า ก่อนหน้านี้สิ่งส่งตรวจที่จะตรวจสารพันธุกรรม ซึ่งได้มาจากการแหย่จมูก แล้วนำไปตรวจ ซึ่งมีวิธีการตรวจหลัก ๆ คือ RT-PCR วันนี้เพิ่มเติม ให้ใช้น้ำลายได้ เนื่องจากจะให้ผลใกล้เคียงกัน


ส่วนสิ่งส่งตรวจที่เหมาะสมสำหรับการตรวจหาแอนติเจน มี 2 แบบ เป็น Professional Use และ Home Use สำหรับ Home Use หากใช้น้ำลาย แนะนำให้ใช้น้ำลายตอนเช้าหลังตื่นนอน ให้น้ำลายจากส่วนลึกของลำคอออกมา แต่ไม่ใช่เสลด และก่อนจะตรวจ หากไม่ใช่ตอนตื่นนอน แนะนำให้งดแปรงฟัน งดอาหาร งดยาอม อย่างน้อย 30-60 นาที แล้วแต่ยี่ห้อ

กรณีเด็ก ควรเลือกไม้ Swab ควรเลือกไม้นิ่ม เหมาะกับเด็ก เป็นไปได้คือควรฝึกบ้วนน้ำลาย เพื่อไม่ให้การตรวจยุ่งยาก

นอกจากนี้ เดิมกระทรวงสาธารณสุขให้การตรวจยืนยันว่าป่วยเป็น COVID-19 หรือไม่ โดยใช้ RT-PCR เป็นหลัก แต่วันนี้มีเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้ามา เช่น LAMP หรือ CRISPR และ TMA เป็นต้น จึงมีการพิจารณาเพิ่มชุดตรวจ NAATs ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อที่มีความไว และความจำเพาะสูงมาก สามารถใช้ได้เพื่อการคัดกรอง และเพื่อยืนยันการติดเชื้อ (Confirmatory Test)

ทั้งนี้ ต้องเป็นชุดตรวจที่ตรวจจับสารพันธุกรรมของไวรัสได้ขั้นต่ำไม่เกิน 1000 copies/mlที่มีคุณสมบัติ 2 ประการของชุดตรวจ NAATs นำมาใช้ Comfirmatory test ได้ โดยต้องเป็นชุดตรวจที่ตรวจจับสารพันธุกรรมของไวรัสได้ขั้นต่ำไม่เกิน 1000 copies/ml ก็หาเจอ และต้องตรวจจีโนม 2 ตำแหน่ง จะ 2 ยีน หรือ 1 ยีน 2 ตำแหน่งก็ได้

การรายงานผล หากพบทั้ง 2 ตำแหน่ง หรือ 2 ยีน และพบสารพันธุกรรม ก็จะยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 หากพบอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าสรุปไม่ได้ โดยชุดตรวจ NAATs วันนี้ยังใช้ RT-PCR เป็นหลักอยู่


ทั้งนี้ หากประชาชนคนใดเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการ ยังเน้นย้ำให้ ATK first เมื่อเป็นผลบวก ต้องประเมินอาการ โทร 1330 ให้หมอประเมินอาการว่ามีความเสี่ยงไหม และถามตัวเองว่ามีโรคที่เสี่ยงอันตรายไหม หากแข็งแรงดี สบายใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาอะไร และ Home Isolation หรือ Community home Isolation ได้

หากมีความเสี่ยง เช่น อ้วน มีโรคประจำตัว สูงอายุ มีอาการ ก็ต้องตรวจ NAATs ตรวจสารพันธุกรรม ก่อนจะเข้าโรงพยาบาลรักษาอาการ เพราะบางคนไม่มีความจำเป็น จึงต้องมีมาตรการจัดการเตียงไว้สำหรับผู้ที่จำเป็นเท่านั้น และหากผลตรวจ ATK เป็นลบ และไม่มีอาการ ก็กักตัว แล้วตรวจซ้ำในอีก 3 วัน หากจำเป็น หรือเมื่อมีอาการ


ส่วนการเปิดประเทศแล้วมีคนเดินทางเข้ามา ยังใช้ RT-PCR เป็นหลัก หากเป็นนักท่องเที่ยว One day trip การตรวจให้เร็วและได้ผลก็มีส่วนสำคัญ เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาการตรวจแอนติเจนด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ (Machine based assay : MBA) หรือวิธีตรวจสารพันธุกรรม (NAATs) ได้ตามสถานการณ์ ในกรณีตรวจคัดกรองตัวอย่างจำนวนมาก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง