ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ที่ไหนบ้าง? สถานที่เสี่ยงโควิดช่วง "สงกรานต์" ศบค.นัดถก 18 มี.ค.

สังคม
7 มี.ค. 65
14:05
576
Logo Thai PBS
ที่ไหนบ้าง? สถานที่เสี่ยงโควิดช่วง "สงกรานต์" ศบค.นัดถก 18 มี.ค.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศบค.ชุดใหญ่ 18 มี.ค.นี้ นัดถกมาตรการคุมเข้มสงกรานต์ลดเสี่ยงโควิด หลังไม่งดจัดงาน ไม่ห้ามการเดินทาง พร้อมเปิดสถานที่เสี่ยงตั้งแต่การเดินทาง กิจกรรมรื่นเริง ในบ้าน รวมทั้งจุดพักรถ แนะ 2 สัปดาห์เร่งพาผู้สูงอายุฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นลดเสี่ยงป่วยและเสียชีวิต

วันนี้ (7 มี.ค.2565) พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผอ.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงมาตรการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะถึงช่วงสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันอย่างน้อย 5 วันตั้งแต่วันที่ 13-15 เม.ย.ว่า ในปีนี้ยังไม่งดจัดงาน ไม่ได้ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด จึงต้องพิจารณาแนวทางและดูการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงนี้

วันหยุดสงกรานต์ปีนี้ จะมีกิจกรรมพบปะ คาดการณ์จะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้น ทางกรมอนามัย เสนอมาตรการป้องกันโควิดช่วงสงกรานต์ ต้องประเมินว่าจะมีความเสี่ยงจากกิจกรรมการเดินทาง การรวมตัวพบปะสังสรรค์ กิจกรรมรดน้ำดำหัว ดำน้ำประแป้ง รดน้ำดำหัว

อ่านข่าวเพิ่ม "สงกรานต์" ไม่ห้ามเดินทาง สมช.ของดปาร์ตี้-กิจกรรมเสี่ยงโควิด

โดยจะมีการประชุมศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ เพื่อหารือกับ 6กระทรวงหลัก จะต้องมีการประชุมถึงมาตรการพร้อมกัน คือกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม

เช็กสถานที่เสี่ยงสงกรานต์ที่ไหนบ้าง?

พญ.สุมนี กล่าวว่า  พื้นที่เสี่ยงที่อาจจะมีการติดเชื้อในช่วงสงกรานต์เริ่มตั้งแต่การเดินทาง การทำกิจ กรรม การทานอาหารร่วมกันในครอบครัว สาดน้ำ การจัดกิจกรรมรื่นเริง สถานที่ที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น ขนส่งสาธารณะ สถานีขนส่ง เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง รถตู้ ปั๊มน้ำมันทุกจุด จุดพักรถ บ้าน ร้านอาหาร ศาสนสถาน วัด สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ 

โดยเชิญชวนในเวลา 2 สัปดาห์ให้นำผู้สูงอายุเข้ามาฉีดวัคซีน เพราะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค และกลุ่มเสี่ยงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว โโยเฉพาะที่ต้องระมัดระวัง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรง ผู้ป้วยติดเตียงและมะเร็งระยะสุดท้าย และต้องชวนให้ไปฉีวัคซีนกระตุ้ ขอให้นำไปฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ลดป่วยหนักและเสียชีวิต

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เสียชีวิตสูงสุด 65 คน ยอด "RT-PCR รวม ATK" เกิน 4.5 หมื่นคน

10 อันดับโควิดรายวัน กทม.แชมป์-อาการหนักปอดติดเชื้อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง