ถือเป็นเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ในวันครบรอบ 30 ปีหลังโศกนาฎกรรม "พญาแร้ง" 1 ใน 3 ชนิด นกขนาดใหญ่ของที่เคยบินเหนือน่านฟ้าป่าห้วยขาแข้งสูญพันธุ์ยกฝูงราว 35 ตัวเมื่อวันที่ 14 ก.พ.2535
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดบ้านกลางป่า "พญาแร้ง" ก่อนส่งตัว 14 ก.พ.นี้
สำเร็จ! “พญาแร้ง" คู่แรก กลับบ้าน "ห้วยขาแข้ง" ในรอบ 30 ปี
ทำให้ “พญาแร้ง” สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย อยู่ในสถานภาพสูญพันธุ์ในธรรมชาติมานานถึง 30 ปีเต็ม และอยุ่ในบัญชีสัตว์เสี่ยงวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ในบัญชีแดง ของ IUCN
กระทั่งวันนี้ 14 ก.พ.2565 ถือเป็นปฐมบทของความหวังในการคืนพญาแร้ง กลับคืนบ้านแห่งสุดท้ายที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
14 ก.พ 2535
พญาแร้ง ฝูงสุดท้ายราว 30 ตัว ตายจากซากยาเบื่อฟูราดานที่พรานนำมาล่อเสือโคร่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ปี 2557-2563
องค์การสวนสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หารือเตรียมโครงการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย
ตามแผนระยะที่ 1 เดือน ต.ค-ธ.ค. 2563 ดำประชุมวางแผนจัดทำโครงการ ส่วนระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 9 เดือน (วันที่ 1 ม.ค 2564 – 30 ก.ย.2566 ศึกษาพฤติกรรมและเก็บข้อมูลอื่นๆ ของพญาแร้งในกรงเลี้ยง จับคู่ผสมพันธุ์ ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผล และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ รวมถึงการสำรวจประชากรนกกลุ่มแร้ง
ปี 2564
วันที่ 31 ม.ค.64 แม่พญาแร้ง ชื่อ “นุ้ย” อายุ 20 ปีของสวนสัตว์นครราชสีมา ออกไข่ 1 ฟอง ถือเป็นข่าวดีในวงการอนุรักษ์นกใกล้สูญพันธุ์ในระดับโลก เพราะเป็นการออกไข่ฟองแรกในรอบ 25 ปี แต่หลังรอลุ้นอีก 2 เดือนไข่ไม่ฟักตัว
ปี 2565
เดือนม.ค.ที่ผ่านมา แม่พญาแร้งในกรงเลี้ยงชื่อ “นุ้ย” ออกไข่ 1 ฟอง ยังรอลุ้นอีก 2 เดือนว่าจะออกเป็นตัวหรือไม่
ม.ค.2565
ทีมวิจัย เคลื่อนย้ายพญาแร้งชื่อ “ป๊อก’ พญาแร้งตัวผู้จากสวนสัตว์นครราชสีมา มาเตรียมเทียบคู่กับ “มิ่ง” พญาแร้งตัวเมียที่อยู่ในการดูแลของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หลังประเมินสภาพแวดล้อมพื้นที่ซับฟ้าเหมาะสม
13 ก.พ.2565
ทีมวิจัย "พญาแร้ง" ซ้อมเสมือนจริงขั้นตอนการปล่อย "ป๊อก-มิ่ง" วันนี่ (14 ก.พ.) เปิดกรงขนาดใหญ่กลางป่าห้วยขาแข้ง หวังให้จับคู่ตามธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูประชากรคืนถิ่น โดยหวังจะเห็นไข่และลูกของพญาแร้งในพื้นที่ซับฟ้าผ่าอีกครั้ง
ขอบคุณภาพปก : อานุภาพ แย้มดี