ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

WHO ชี้โลกเผชิญ "หัวเลี้ยวหัวต่อ" โควิด-19 ย้ำเตือนอย่าประมาท

ต่างประเทศ
25 ม.ค. 65
13:00
422
Logo Thai PBS
WHO ชี้โลกเผชิญ "หัวเลี้ยวหัวต่อ" โควิด-19 ย้ำเตือนอย่าประมาท
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
องค์การอนามัยโลกส่งสัญญาณเกี่ยวกับพัฒนาการของการระบาดของโควิด-19 ด้านหนึ่งยังแสดงความกังวล แต่อีกมุมคือความหวังที่จะหลุดพ้นจากการเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกสถานการณ์ในขณะที่โลกเผชิญการระบาดของโควิด-19 เข้าสู่ปีที่ 3 ว่าเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เพราะมีเครื่องมือต่างๆ ที่จะยับยั้งภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากโควิด-19 ได้แล้ว เพียงแต่ต้องใช้อย่างชาญฉลาด และกระจายไปอย่างทั่วถึงเท่าเทียม

สถานการณ์ขณะนี้ไวรัสสายพันธุ์ "โอมิครอน" เพิ่งระบาดได้ 9 สัปดาห์ แต่มีผู้ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 80 ล้านคน จำนวนนี้มากกว่าผู้ติดเชื้อทั้งหมดตลอดปี 2563 ซึ่งเป็นเพียงจำนวนที่องค์การอนามัยโลกได้รับรายงานเท่านั้น

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่งไปยังองค์การอนามัยโลก หารเฉลี่ยได้เป็นจำนวน 100 คนทุกๆ 3 วินาที และที่น่าตกใจคือมีผู้เสียชีวิต 1 คนทุกๆ 12 วินาที

ขณะที่การระบาดยังทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศที่ยังมีวัคซีนไม่ทั่วถึง องค์การอนามัยโลกยอมรับว่า อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าอัตราการติดเชื้อที่พุ่งทะยานขึ้นรวดเร็วอย่างชัดเจน แต่ที่สำคัญจะประมาทไม่ได้

"อนามัยโลก" ย้ำเตือนอย่าประมาทโควิด-19

ผอ.องค์การอนามัยโลก กล่าวอีกว่า หากประเทศต่างๆ ปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ โลกมีโอกาสจะยุติการระบาดอย่างเฉียบพลันได้ภายในปี 2565 เท่ากับว่าเราจะทำให้โควิด-19 พ้นจากการเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลกได้ในที่สุด

กลยุทธ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด รวมถึงเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากร 70% ของทั้งโลก เพิ่มอัตราการตรวจหาเชื้อ และทำให้ทั่วโลกเข้าถึงออกซิเจนรวมถึงยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโควิด-19 ได้อย่างเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกในภาคพื้นยุโรปได้เปิดเผยการคาดการณ์สถานการณ์โรคระบาดในปี 2565 ว่า น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เบื้องต้นคาดว่าเดือน มี.ค.นี้ ประชากรในยุโรปราว 60% จะติดเชื้อโอมิครอน และหลังจากนั้นอีกหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นเดือน จะเริ่มเกิดภูมิคุ้มกันในระดับโลก ไม่ใช่แค่จากการติดเชื้อ แต่เป็นเพราะการฉีดวัคซีนด้วย ก่อนที่อัตราการติดเชื้อจะแผ่วลง และมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งช่วงใกล้สิ้นปี แต่อาจจะไม่กลับมาเป็นการระบาดใหญ่อีกระลอก

ยกตัวอย่าง "สหรัฐอเมริกา" ระหว่างที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงเฉลี่ยวันละ 690,000 คน ผู้เชี่ยวชาญเริ่มเห็นสัญญาณการติดเชื้อที่ลดลง แต่ยังคงระวังเรื่องโรงพยาบาลที่เต็มล้นกับการเสียชีวิต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อัตราการฉีดวัคซีนน้อย

อ่านข่าวอื่นๆ

"ฝรั่งเศส" เริ่มใช้มาตรการตรวจใบผ่านวัคซีน

"ฮ่องกง" หวั่นโควิดระบาดหนักย่านพักอาศัย-สั่งปิดอาคารเขตไควชง

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง