ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ก่อนจะมาเป็น "Thailand or ไทยแลนด์" ฟอนต์ไวรัลอ่านได้ 2 ภาษา

ไลฟ์สไตล์
14 ม.ค. 65
13:49
19,196
Logo Thai PBS
ก่อนจะมาเป็น "Thailand or ไทยแลนด์" ฟอนต์ไวรัลอ่านได้ 2 ภาษา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"สุชาล ฉวีวรรณ" หรือ บึก วัย 37 ปี เจ้าของผลงาน บอกเล่าการออกแบบตัวอักษร "Thailand or ไทยแลนด์" เมื่อเจอป้ายนี้คุณอ่านเป็นภาษาอะไร หลังกลายเป็นไวรัลชั่วข้ามคืน กับยอดรีทวีตกว่า 1.2 แสนครั้ง

Thailand or ไทยแลนด์
How can you read this?

คำถามชวนคิดจากผลงาน "Thailand-ไทยแลนด์" ปิดทองบนกระจก ฝีมือ "สุชาล ฉวีวรรณ" หรือ บึก Designer & Decorative Glass Artist วัย 37 ปี ที่สร้างความประทับใจให้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จนมีการรีทวีตในทวิตเตอร์ไปแล้วกว่า 125,000 ครั้ง 

"สุชาล" ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ ถึงจุดเริ่มต้นของผลงานชิ้นนี้ว่า เริ่มต้นจากได้รับโปรเจ็กทำ Branding ให้ร้านอาหารไทยในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างที่ออกแบบและดีไซน์ก็ลองวาดและออกแบบหลายคำจนไปเจอมุมหรือจุดที่ดูแล้วรู้สึกว่ามันไปต่อได้จากคำว่า "ไทย" เป็น "ไทยแลนด์"

ผมดีไซน์งานชิ้นนี้จนรู้สึกว่าลงตัวที่สุดโดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ แล้วลงมือทำงานกระจกด้วยทอง 23K และทองคำขาว 12K เสริมเทคนิคพิเศษเพื่อให้เกิด Texture อีก 2 สัปดาห์

 
"สุชาล" ย้ำว่า ชื่นชอบผลงานชิ้นนี้มาก เพราะนอกจากการใช้เทคนิคที่หลากหลายในงาน Glass Gilding แล้ว ดีไซน์ของฟอนต์เองยังมีจุดเด่นคือ เหมือนให้สมองได้ประมวลว่าจะอ่านเป็นภาษาอะไรอยู่ ราวกับเป็น "ภาพลวงตา" แต่ไม่คาดคิดว่าคนอื่นจะชื่นชอบและส่งต่อกันในสื่อสังคมออนไลน์จนเป็นไวรัลขนาดนี้

หลังผลงานเริ่มกลายเป็นที่สนใจในโลกออนไลน์ บึก Designer & Decorative Glass Artist จึงเริ่มวางแผนขั้นต่อไป โดยการยื่นเอกสารเบื้องต้น เพื่อขอจดลิขสิทธิ์ ป้องกันผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่ได้รับอนุญาต พร้อมกับเตรียมเดินหน้าเข้าสู่วงการ NFT ด้วยการเปิดตัวผ่านผลงาน "Thailand-ไทยแลนด์" ชิ้นนี้

ดีใจที่คนเห็นคุณค่าและมูลค่าของงานศิลปะ เพราะงานศิลปะช่วยให้ผู้คนผ่อนคลาย และทำให้เราสบายใจ และหวังว่าอนาคตวงการศิลปะจะโตขึ้นกว่านี้ เพราะมีช่องทางให้หารายได้มากขึ้น และเคารพเรื่องลิขสิทธิ์กันมากขึ้น


สำหรับ "สุชาล" ในวัยเด็กชื่นชอบงานศิลปะ และมีงานอดิเรกคือ การอ่านหนังสือการ์ตูน ก่อนจะเริ่มฉายแววเข้าสู่วงการดีไซน์ หลังชื่นชอบงาน Artwork เรียกว่าไปเจอใบปลิวที่ไหนเป็นต้องเก็บกลับบ้านเสียทุกที ก่อนจะเลือกเส้นทางชีวิตตามความชอบเรียนสาขาวิชาการออกแบบสื่อสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว. และเริ่มต้นทำงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ไปจนถึงออกแบบปกอัลบั้ม

กระทั่งปี 2553 มีโอกาสได้ไปเรียนที่ออสเตรเลีย ควบคู่กับการทำงานออกแบบกราฟิกทั้งดีไซน์ Branding ออกแบบโลโก้ให้ร้านค้า ก่อนจะไปเรียนเสริมด้าน Glass Gilding ในปี 2559 เพื่อเพิ่มเทคนิค และลูกเล่นต่าง ๆ ให้งานออกแบบ พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ทุกอย่างผ่านผลงานที่สร้างสรรค์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง