ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คนแรกของโลก! ทีมแพทย์สหรัฐฯ ปลูกถ่ายหัวใจหมูให้ผู้ป่วยสำเร็จ

Logo Thai PBS
คนแรกของโลก! ทีมแพทย์สหรัฐฯ ปลูกถ่ายหัวใจหมูให้ผู้ป่วยสำเร็จ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายหัวใจหมูดัดแปลงพันธุกรรมให้มนุษย์ที่ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้ายสำเร็จ
เมื่อต้องเลือกทิ้งชีวิตหรือปลูกถ่ายอวัยวะในครั้งนี้ ผมเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ ทั้งที่รู้ว่าหนทางช่างมืดมน แต่นี่เป็นทางเลือกสุดท้ายของผม

"เดวิด เบนเนตต์" วัย 57 ปี ป่วยด้วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย ก่อนจะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว หลังจากได้รับการพิจารณาจากทีมแพทย์ว่าเขาไม่มีวิธีรักษาด้วยการปลูกถ่ายหัวใจแบบปกติที่ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะชั้นนำหลายแห่ง ทำให้เขาตัดสินใจเดินตามทางเลือดเดียวที่เหลืออยู่

เดวิด เบนเนตต์ ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจหมูดัดแปลงพันธุกรรมได้อย่างราบรื่นและมีอาการดีหลังผ่านมาแล้ว 3 วัน ซึ่งเป็นการปลูกถ่ายครั้งแรกโดยศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (University of Maryland Medical Center)

การปลูกถ่ายอวัยวะในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ทีมแพทย์นำหัวใจของสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้มาทำหน้าที่เหมือนหัวใจของมนุษย์ โดยที่ร่างกายไม่ปฏิเสธทันที นับเป็นก้าวสำคัญของประวัติศาสตร์การแพทย์ เนื่องจากเป็นเพียงทางเลือกเดียวที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาอนุมัติการผ่าตัดเป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อช่วงสิ้นปีผ่านบทบัญญัติเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ เนื่องจากได้รับการพิจารณาว่าไม่มีทางเลือกอื่นที่จะรักษาผู้ป่วยได้


นพ.บาร์ทลีย์ กริฟฟิธ ศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมปลูกถ่าย ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ระบุว่า นี่เป็นการผ่าตัดที่ทำให้เราเข้าใกล้ทางออกสำหรับปัญหาขาดแคลนอวัยวะไปอีกขั้น นับเป็นทางเลือกใหม่ที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยในอนาคต 

ขณะที่ ดร.มูฮัมหมัด โมฮิอุดดิน ระบุว่า นี่เป็นจุดสุดยอดของการวิจัยที่ซับซ้อนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผ่านการฝึกฝนเทคนิคต่าง ๆ การทดลองในหมูให้ปลูกถ่ายอวัยวะสู่คนได้ ขั้นตอนการทดลองที่สำเร็จให้ข้อมูลที่มีค่าต่อวงการแพทย์เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยในอนาคต

ที่มา : University of Maryland School of Medicine

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง