วันนี้ (11 ม.ค.2565) พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ในช่วงนี้ กรมสุขภาพจิตให้ความสำคัญกับการประเมินสุขภาพจิต ในระบบติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต ผ่านระบบ www.วัดใจ.com หรือ ระบบ Mental Health Check In ซึ่งได้ทำการสอบถามผู้ประเมินจนถึง 9 ม.ค.นี้ จำนวน 2,579,026 คน
จากผู้ตอบแบบประเมิน 2.5 ล้านคน พบว่าเครียดสูง 216,098 คน หรือ 8.38% เสี่ยงซึมเศร้า 254,243 คน หรือ 9.86 % เสี่ยงฆ่าตัวตาย 140,939 คนหรือ 5.46% มีภาวะหมดไฟ 25,552 หรือ 4.16% ซึ่งทั้งหมดต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิต
นอกจากนี้ การฟื้นฟูสุขภาพจิตในผู้ป่วยที่มีภาวะ Long COVID-19 ที่หลังจากติดเชื้อแล้ว 3 เดือนยังคงมีอาการทั้งทางกาย และจิตใจได้อยู่กว่าครึ่ง ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแล เพราะยังเป็นปัจจัยที่สำคัญที่นำมาสู่อัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นในอนาคต
ลดอัตราฆ่าตัวตายเชิงพื้นที่จากสถานการณ์ COVID-19
พญ.อัมพร กล่าวอีกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 มีเป้าหมายการดูแลสุขภาพจิตประชาชน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 โดยวาระ นอกจากการทำงานเชิงรุกในระดับพื้นที่เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจของบุคคล ครอบครัว และชุมชนแล้ว ยังมีเรื่องของการลดอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่จากสถานการณ์ COVID-19 อีกด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้มีการจัดทำหนังสือต่อประธานคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ลงนามถึงกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ในการสนับสนุนคณะอนุกรรมการการประสานงานเพื่อการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตระดับจังหวัด พร้อมทั้งติดตามการทำงานและให้ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป่วยโควิดรายใหม่ 7,133 ระลอก ม.ค.65 สะสม 61,174 คน
"โอมิครอน" ระบาดเร็ว "นพ.ยง" คาดไม่นานจะมาแทน "เดลตา"