วันนี้ (24 ธ.ค.2564) พญ.แพทย์หญิง อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ดังนี้ ระบุว่า สัดส่วนสายพันธุ์ โควิด -19 ภาพรวมช่วงวันที่ 20 -23 ธ.ค.2564 จำนวน 874 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า 83.89 % ขณะที่ สายพันธุ์โอมิครอน 16.2 % แบ่งเป็นกกรุงเทพ จำนวน 207 ตัวอย่าง พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า 56.5 % พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 43.5 % ภูมิภาค จำนวน 667 ตัวอย่าง พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า 92.2 % พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 7.8 % ขณะที่กลุ่มที่เดินทางจากต่างประเทศ จำนวน 221 ตัวอย่าง พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า 47.1% พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 52.9 %
ขณะที่ทุกเขตสุขภาพ สายพันธุ์หลักยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้า และพบสายพันธุ์เบต้าประรายในภาคใต้ ขณะที่ กทม.ซึ่งมีรายงานสายพันธุ์โอมิครอนยังพบในระบบเทสต์แอนด์โก
สหรัฐฯยอดติดโอมิครอนเพิ่ม
ขณะที่สถานการณ์ในสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นจาก 12 % เป็น 73 % ภายใน 1 สัปดาห์ และแทบจะเป็นสายพันธุ์หลักของอเมริกาแล้ว นอกจากนี้ในประเทศอังกฤษ พบว่าความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ โอมิครอนลดลง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า โดยผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 50 % โดยผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 20 -25 %
นอกจากนี้ แอสตราเซเนกา เปิดเผยผลวิจัย พบว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 โดสที่ 3 ของแอสตราเซเนกามีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์โอมิครอน
ขณะที่ ฮ่องกง ตรวจพบเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน บริเวณหลอดลม และอยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยพบเชื้อใน น้ำมูก น้ำลาย สายคัดหลั่ง เชื้อมีแนวโน้มไม่ลงปอดทำให้แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้า และสามารถหลบภูมิคุ้มกันในกลุ่มผู้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม หรือ ผู้ที่หายป่วยเมื่อเจอเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนก็ยังสามารถติดได้
เตรียมพร้อมรับช่วงปีใหม่
พญ.อภิสมัย ยังกล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐจึงยกระดับความเข้มงวด ขณะที่ภาคเอกชนบางร้านได้เตรียมมาตรการที่พร้อมมากขึ้น เพราะการแพร่ระบาดที่รวดเร็วและง่าย แม้จะมีอาการหนักน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น ดังนั้นการที่ จะสรุปว่า สายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าจึงลดความระมัดระวังก็อาจจะประเมินต่ำไป
ขณะที่เทศกาลปีใหม่ กระทรวงสาธารณสุขย้ำให้ทุกโรงพยาบาลเตรียมความพร้อมข้าราชการทุกภาคส่วน โดยขอให้ ข้าราชการกระทรวง และศูนย์กักกันในชุมชน จัดทีมเตรียมรับการแพร่ระบาด และระบบโฮมไอโซเลชั่น รองรับกรณีประชาชนเดินทางกลับบ้านช่วงเทศกาลปีใหม่
นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยของ ม.ออกฟอร์ดว่า การให้วัคซีน แอสตราเซเนกา เป็นเข็ม 3 มีแนวโน้มป้องกันสายพันธุ์โอมิครอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขอให้ประชาชนที่รับวัคซีนเข็มที่ 2 ไปแล้ว และระยะห่างจากเข็ม 2 เกิน 3 เดือน สามารถไปเข้ารับวัคซีนได้เนื่องจากขณะนี้มีวัคซีนเพียงพอ
นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กยังชื่นชมมาตรการป้องกันโควิด-19 และร่วมออกแบบการจัดเทศกาลปีใหม่ใน 5 จังหวัด เช่น จ.ภูเก็ต จ.เชียงใหม่ จ.นครราชสีมา จ.พระนครศรีอยุธยา และ ระยอง โดยมีข้อกำหนดเช่น การเข้าร่วมงานในจำนวนที่เกิน 1,000 คน ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น ผ่านระบบ Queq โดยเปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. ลงข้อมูล วัคซีนครบ 2 เข็ม ตรวจ ATK ในระยะเวลา 72 ชม.และมีจุดตรวจ
รวมถึง การจัดงานที่ จ.ระยอง งดจำหน่ายแอลกอฮอล์ ด้วย นอกจากนี้ ใน จ.ระยองยังได้กำหนดจุดจอดเพื่อให้มีจุดเข้า-ออกที่ชัดเจน และบริการรถรับ-ส่งประชาชนเข้าร่วมงาน และมีการวัดอุณหภูมิ คัดกรองทั้งหมด สแกน QR Code รวมทั้งทำสายรัดข้อมูลกรณีที่ผ่านการคัดกรองแล้ว นอกจากนี้ยังให้เตรียมแผนฉุกเฉิน กรณีมีเหตุฉุกเฉินหน้างาน ขณะที่ประชาชนที่ไปร่วมงาน ขอให้พกหน้ากากอนามัยไปหลายชิ้น ระมัดระวังตนเอง
ขณะที่ การจัดงานปีใหม่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะคนรู้จักในครอบครัว ศบค.ชุดเล็ก ก็มีความเป็นห่วง ขอแนะนำให้ตรวจ ATK ด้วยตนเองก่อนร่วมงานและให้เฉลิมฉลองอย่างมีความสุข
ให้โรงแรมร่วมติดตาม
นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก ยังมีมาตรการเพิ่มเติมจากการยกเลิกระบบ เทสต์แอนด์โก ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. โดยย้ำให้ โรงแรม ตรวจสอบเอกสารให้ชัดเจน เช่น เอกสารการฉีดวัคซีน การตรวจ PCR ที่ทำเหมือนเดิม และเพิ่มเติมเช่น โรงแรมจะต้องตรวจสอบผู้ที่เดินทางว่าวันที่วันที่ 5-6 ว่ายังอยู่ในพื้นที่หรือไม่ และ ให้ตรวจ PCR ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายให้ ซึ่งโรงแรมจะต้องประสานไปยังจังหวัดปลายทางด้วย จะต้องติดตามได้ 100 % พร้อมทั้งลงผลในระบบ coste ด้วย