ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แผ่โครงการ อบต.ทั่วประเทศ ทำอะไร-ที่ไหนแพง

การเมือง
23 พ.ย. 64
09:00
2,690
Logo Thai PBS
แผ่โครงการ อบต.ทั่วประเทศ ทำอะไร-ที่ไหนแพง
นับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ที่จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้ง 5,300 แห่งในวันที่ 28 ต.ค.นี้ ไทยพีบีเอสจึงชวนหันมองถิ่นฐานบ้านเกิดว่ามีการพัฒนาไปทิศทางใด ผ่านข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่ อบต.เป็นผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของโครงการ

“อีสาน” งบฯ พุ่งโครงการเพียบ แต่ “ใต้” แพงสุด

ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ถึงสิงหาคม 2564 มีโครงการของ อบต.ทั้งประเทศ รวมกว่า 3 ล้านโครงการ มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท โดยปีที่สูงที่สุดคือปี 2563 กว่า 9 แสนโครงการ มูลค่า 1 แสนล้านบาท

แต่ละปีได้เงินเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 30-38 ก่อนถูกหั่นในปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

โดยภาคตะวันตกมีมูลค่าเฉลี่ยต่อประชากรสูงที่สุด (จำนวนประชากรปี 2563 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโครงการและงบประมาณมากที่สุด ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ผุด 1.2 ล้านโครงการ และใช้เงินไป 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่ภาคกลางก็มีโครงการนับแสนต่อปี และใช้จ่ายสูงกว่าค่าเฉลี่ยเช่นกัน

แม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้งบประมาณก้อนโต แต่ "มูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการ" พบว่าภาคใต้สูงที่สุด โครงการละ 140,000 บาท

สัดส่วนต่อทั้งประเทศและจังหวัดสูงสุด ด้านจำนวนโครงการ

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 40 : นครราชสีมา
  • ภาคกลาง ร้อยละ 23 : นครสวรรค์
  • ภาคใต้ ร้อยละ 14 : นครศรีธรรมราช
  • ภาคเหนือ ร้อยละ 9 : เชียงใหม่
  • ภาคตะวันออก ร้อยละ 8 : ฉะเชิงเทรา
  • ภาคตะวันตก ร้อยละ 7 : กาญจนบุรี

สัดส่วนต่อทั้งประเทศและจังหวัดสูงสุด ด้านงบประมาณ

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 35 : นครราชสีมา
  • ภาคกลาง ร้อยละ 22 : นครสวรรค์
  • ภาคใต้ ร้อยละ 18 : นครศรีธรรมราช
  • ภาคตะวันออก ร้อยละ 9 : ฉะเชิงเทรา
  • ภาคเหนือ ร้อยละ 8 : เชียงใหม่
  • ภาคตะวันตก ร้อยละ 7 : กาญจนบุรี

“นครราชสีมา” แชมป์โครงการ-งบฯ แต่ “สมุทรปราการ” มูลค่าสูงสุด

จังหวัดจำนวนโครงการสูงสุด

  1. นครราชสีมา
  2. ขอนแก่น
  3. ชัยภูมิ
  4. ศรีสะเกษ
  5. อุบลราชธานี

จังหวัดงบประมาณสูงสุด

  1. นครราชสีมา
  2. กาญจนบุรี
  3. ขอนแก่น
  4. นครศรีธรรมราช
  5. ชัยภูมิ

จังหวัดมูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการสูงสุด

  1. สมุทรปราการ
  2. นราธิวาส
  3. ภูเก็ต
  4. ปัตตานี
  5. นนทบุรี

จากภาพด้านล่างจะเห็นได้ว่า จังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีมูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการสูง แต่อันดับหนึ่งคือ จ.สมุทรปราการ เฉลี่ยราวโครงการละ 293,000 บาท มากกว่าอันดับสองอย่างเห็นได้ชัด

ส่วนกลุ่มท้ายตารางคือจังหวัดภาคเหนือ รวมไปถึงภาคกลางบางจังหวัด โดย จ.แม่ฮ่องสอน มีมูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการต่ำสุด โครงการละประมาณ 77,000 บาท เท่ากับ 1 ใน 4 ของ จ.สมุทรปราการ

อบต.ไหน "ที่สุด" อะไรบ้าง

อบต.จำนวนโครงการมากสุด

  1. อบต.หนองบัว จ.กาญจนบุรี 13,600 โครงการ
  2. อบต.หนองแวง จ.กาฬสินธุ์ 10,000 โครงการ
  3. อบต.เกาะหมาก จ.ตราด 7,900 โครงการ
  4. อบต.ปากน้ำ จ.ชุมพร 5,700 โครงการ
  5. อบต.วังทอง จ.กำแพงเพชร 5,500 โครงการ

อบต.งบประมาณมากสุด

  1. อบต.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ 1,500 ล้านบาท
  2. อบต.หนองบัว จ.กาญจนบุรี 1,400 ล้านบาท
  3. อบต.หนองแวง จ.กาฬสินธุ์ 1,200 ล้านบาท
  4. อบต.เกาะหมาก จ.ตราด 1,100 ล้านบาท
  5. อบต.คลองสาม จ.ปทุมธานี 1,100 ล้านบาท

อบต.มูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการมากสุด

  1. อบต.นาชุมเห็ด จ.นครปฐม 5.4 ล้านบาท
  2. อบต.นาไม้ไผ่ จ.ตรัง 4.8 ล้านบาท
  3. อบต.ดอนฉิมพลี จ.นครราชสีมา 2 ล้านบาท
  4. อบต.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ 1.4 ล้านบาท
  5. อบต.สมสนุก จ.บึงกาฬ 1 ล้านบาท

เมื่อนำ “อันดับที่” ของตัวเลขรวมปี 2560 - 2564 ด้านจำนวนโครงการ งบประมาณ และมูลค่าเฉลี่ยต่อโครงการ มาหาว่า “จังหวัดไหนมีอันดับที่สะสมสูงที่สุด” พบว่าอันดับ 1 คือ อบต.คลองสาม จ.ปทุมธานี

อบต.ต้องทำอะไร?

อำนาจหน้าที่ของ อบต.ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในระดับตำบล จำแนกกลุ่มภารกิจได้ดังนี้

[ผู้อ่านสามารถคลิกดูสถิติโครงการตามภารกิจที่เป็นข้อความสีส้ม]

กลุ่ม A กิจการที่ อบต. ‘ต้องทำ’ มี 9 ภารกิจ

กลุ่ม B กิจการที่ ‘อาจจัดทำ’ 13 ภารกิจ

  • B(1) ให้มีน้ําเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร
  • B(2) ให้มีการบำรุงรักษาการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  • B(3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
  • B(4) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อน และสวนสาธารณะ
  • B(5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
  • B(6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
  • B(7) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
  • B(8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  • B(9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
  • B(10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
  • B(11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
  • B(12) การท่องเที่ยว
  • B(13) การผังเมือง

กลุ่ม C ภารกิจอื่น ๆ 11 ภารกิจ ที่ทีมข่าวจำแนกเพิ่มเติมจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

  • C(1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
  • C(2) การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
  • C(3) เพศศึกษาและวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
  • C(4) การส่งเสริมสุขภาพ
  • C(5) การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  • C(6) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
  • C(7) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
  • C(8) การส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
  • C(9) การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
  • C(10) การสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก
  • C(11) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง