ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ใบยา" เริ่มทดสอบวัคซีนโควิดในมนุษย์ คาดผลิตล็อตแรกกลางปีหน้า

Logo Thai PBS
"ใบยา" เริ่มทดสอบวัคซีนโควิดในมนุษย์ คาดผลิตล็อตแรกกลางปีหน้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ใบยา ไฟโตฟาร์ม เร่งวัคซีน COVID-19 จากพืชเจ้าแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มั่นใจกลางปีหน้า ผลิตล็อตแรก หวังให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ พร้อมรับมือเปิดประเทศ

วันนี้ (28 ต.ค.2564) รศ.วรัญญู พูลเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทคโนโลยี และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด คนไทยทีมแรก ที่คิดค้นวัคซีน COVID-19 จากพืช กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าของวัคซีนจากใบยานั้นขณะนี้ขั้นตอนการทดสอบหาประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงความเป็นพิษในสัตว์ทดลองเสร็จสิ้นแล้ว กำลังเริ่มทำการทดสอบในมนุษย์

 

หากทุกอย่างเป็นไปตามคาดการณ์ ภายในกลางปีหน้าจะผลิตวัคซีน COVID-19 ออกมาให้คนไทยได้ใช้ และเมื่อทำสำเร็จ ก็จะมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่ผลิตขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทย และนำมาฉีดให้คนไทยได้มากขึ้น ทำให้เราทุกคนกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติได้

รศ.วรัญญู  กล่าวว่า วัคซีนจากใบยา เป็นวัคซีนจากพืชแห่งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป้าหมายใหญ่ของเรา คือ อยากให้ประเทศ มีความมั่นคงด้านสุขภาพ สามารถพัฒนาและผลิตยา รวมถึงวัคซีนได้เองดังนั้นตั้งแต่ปีที่แล้วทีมวิจัยทุกคนเร่งทำงานไม่ได้หยุด เพราะเรารู้ว่าสถานการณ์ในประเทศเป็นอย่างไร และเราไม่ได้ทำคนเดียว แต่เป็นทีมใบยา มีทั้งทีมนักวิจัยอื่นๆทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์แทบจะทุกมหาวิทยาลัยมาช่วยกัน เพื่อพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประเทศ

รศ.วรัญญู พูลเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทคโนโลยี และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด

รศ.วรัญญู พูลเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทคโนโลยี และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด

รศ.วรัญญู พูลเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทคโนโลยี และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด

 

รศ.วรัญญู ย้ำว่า เทคโนโลยีของ บ.ใบยาฯ ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรมพืช และเป็นคนละพันธุ์กับใบยาที่ใช้สูบ กระบวนการคือ เมื่อพืชเติบโตจนได้ขนาดเหมาะสม ก็ส่งถ่ายดีเอ็นเอเข้าไปในพืช จากนั้นตัดมาสกัดทำให้เหลือโปรตีนชิ้นส่วนที่ต้องการ โดยกำจัดโปรตีนอื่น ๆ ทั้งหมดของพืชออกไป จากนั้นนำมาฉีดในสัตว์ทดลองและมนุษย์ ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันได้รวดเร็ว สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้

เราอาจเป็นพลุนัดแรกที่ออกไป ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์เห็น และอยากออกมาทำ และหากไทยมีบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี มาพัฒนาผลิตภัณฑ์เยอะขึ้น ประเทศเราก็จะมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแน่นอน เพราะมีเทคโนโลยีของตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

“จุฬา-ใบยา” เริ่มทดสอบวัคซีนในคนเฟส 1 ต้น ก.ย.นี้

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง