ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

The EXIT ล้วงข้อมูลนำเข้าเศษพลาสติก

สิ่งแวดล้อม
15 ต.ค. 64
13:23
380
Logo Thai PBS
The EXIT ล้วงข้อมูลนำเข้าเศษพลาสติก
ติดตามสถานการณ์รีไซเคิลผ่านกลุ่มซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า หลังรัฐไม่ประกาศมาตรการ “ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกโดยเด็ดขาด” ในเดือน ก.ย. 2563 พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าราคารับซื้อพลาสติกในประเทศอาจมีความสัมพันธ์กับปริมาณนำเข้าเศษพลาสติก

ขวดน้ำดื่มที่เป็นพลาสติกใส ทำมาจาก พลาสติก PET ถูกพบมากที่สุด ระหว่าง ประสงค์ แซ่ตั้ง ตระเวณเก็บของเก่าย่านลาดกระบัง และ ถือเป็นประเภทพลาสติกเขาพบมากที่สุดตลอด 30 ปีตั้งแต่ทำอาชีพนี้มา 

อันดับสองที่พบ คือ พลาสติกสีขาวขุ่น หรือ พลาสติก HDPE อย่างเช่น แกลลอนเครื่องปรุง หรือ ขวดนมยี่ห้อต่างๆ

พลาสติกที่เก็บได้ในแต่ละวัน จะถูกนำมาทำความสะอาดเบื้องต้น แยกประเภท ก่อนจะนำไปขายที่สถานีรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ สุวรรณภูมิ

 

วันนี้ ( 5 ต.ค.64 ) ประสงค์ ขายของเก่าเฉพาะพลาสติกใส ประเภทพลาสติก PET  น้ำหนักรวม 9.5 กก. ได้เงิน 109 บาท

ในใบเสร็จรับเงินค่าขายของเก่า ระบุราคารับซื้อพลาสติกใส หรือ PET อยู่ที่กิโลกรัมละ  11 บาท พลาสติกรวมกิโลกรัมละ 8 บาท แม้เทียบไม่ได้กับราคารับซื้อพลาสติก PET เมื่อ 20 ปีก่อนที่สูงถึงกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ประสงค์บอกว่า ราคานี้ยังดีกว่าปีที่แล้ว ทำให้รายได้ของซาเล้งเริ่มกลับมาอีกครั้ง

 พอราคาดีคนก็เก็บของเก่าเยอะขึ้น ถ้าราคาตกก็ไม่มีคนเก็บเพราะมันไม่คุ้ม 

พลาสติกที่รับซื้อจากซาเล้ง ถูกนำมาคัดแยกประเภท ทำความสะอาด เตรียมส่งเข้าอัดก้อน และรอคิวนำส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล 

อิทธิกร ศีรีจันบาล กรรมการผู้จัดการสถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ บอกว่า ราคารับซื้อพลาสติกชนิดต่างๆ เริ่มกลับมาดีขึ้น ทำให้กลุ่มอาชีพเก็บของเก่าเริ่มมีแรงจูงใจ   ก่อนหน้านี้ การนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ส่งผลต่อธุรกิจรับซื้อของเก่าและรายได้อาชีพซาเล้ง

เศษพลาสติกนำเข้าส่งผลต่อราคารับซื้อในไทย

The EXIT ตรวจสอบราคารับซื้อพลาสติกใส และ พลาสติกรวมสี ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2564 เปรียบเทียบกับ ข้อมูลปริมาณการนำเข้าเศษพลาสติก พิกัดศุลกากร 3915 เศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นพลาสติกจากต่างประเทศ พบว่า เมื่อมีการนำเศษพลาสติกเข้าสะสมมากติดต่อกันหลายปีตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2563 อาจส่งผลต่อ ราคารับซื้อในประเทศทำให้ลดลงเรื่อยๆ จะเห็นว่า ราคารับซื้อในประเทศเริ่มปรับเพิ่มขึ้นในปี 2564 หลังจาก ประเทศไทยพยายามยุติการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ

 

คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปรับเปลี่ยนนโยบาย ไม่ประกาศมาตรการ “ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกโดยเด็ดขาด” ในเดือนกันยายน 2563 แต่กลับมีมติใหม่ในการประชุมวันที่ 25 มกราคม 2564 กำหนดแผนควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติก ตั้งเป้าห้ามนำเข้าในอีก 5 ปี หรือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ระหว่างนี้ ให้นำเข้าได้ แต่ต้องลดสัดส่วนลงทุกปี

การปรับเปลี่ยนนี้ มีขึ้นหลังกลุ่มโรงงานเรียกร้องให้เปิดการนำเข้าเศษพลาสติก โดยอ้างว่า ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ ระบุมีความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกถึง 685,190 ตันต่อปี

3 แนวทางพิจารณาห้ามนำเข้า

 

แนวทางที่ 1 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี 2564 ตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5

แนวทางที่ 2 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี 2569 ตามมติคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564

แนวทางที่ 3 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี 2566

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง