ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

THE EXIT : ปัญหาการขึ้นทะเบียนของแรงงานข้ามชาติ

สังคม
21 ม.ค. 64
19:47
345
Logo Thai PBS
THE EXIT : ปัญหาการขึ้นทะเบียนของแรงงานข้ามชาติ
ทีมข่าวไทยพีบีเอสลงพื้นที่ตรวจสอบการลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ จ.เชียงราย หลังจากรัฐบาลผ่อนผันให้อยู่ทำงานในประเทศไทยได้ แต่กลับพบปัญหาสำคัญ เพราะแรงงานหลายคนถูกเลิกจ้างและไม่มีเงินไปขึ้นทะเบียน รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้

วันนี้ (21 ม.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หอพักย่านตลาดสดกลางเมืองเชียงราย เป็นที่พักอาศัยของแรงงานชาวเมียนมาหลายครอบครัว คิมโมตู เป็นหนึ่งในแรงงาน พักที่นี่ เขาอาศัยอยู่กับครอบครัว 3 คน และทำงานโรงงานแห่งหนึ่งในตัวเมืองเชียงราย แต่มีรายได้ แค่ค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ

 

 

ก่อน 7 โมงเช้า เกือบทุกวัน คิมโมตู ต้องเตรียมข้าว ซื้อกับข้าว ราคาถุงละ 20 บาทจากตลาดสดใกล้ที่พัก ข้าวและกับข้าว ที่เห็นนี้ เป็นทั้งอาหารมื้อเช้า และมื้อเที่ยง ของ "คิมโมตู"

 

 

ผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้จำนวนวันทำงาน "คิมโมตู" ลดน้อยลง ส่งผลต่อรายได้ และค่าใช้จ่าย ในครอบครัว

 

คิน โม ตู แรงงานชาวเมียนมา

คิน โม ตู แรงงานชาวเมียนมา

คิน โม ตู แรงงานชาวเมียนมา

ที่บ้านอยู่ด้วยกัน 3 คน แม้แฟนจะทำงานด้วย ก็มีค่าใช้จ่ายฝากเลี้ยงลูกมีค่าใช้จ่าย 1,500 บาท ค่าห้อง ค่าไฟ 2,000 บาท ค่านมลูก และค่ากิน 8,000 บาท มีเงินเก็บไม่มาก ก่อนหน้านี้เคยส่งให้ครอบครัวที่เมียนมาเดือนละ 2,500 บาท ในช่วง COVID-19 ก็ไม่ได้ส่งเลย
ณัชชา เสมอวงษ์ นายจ้าง

ณัชชา เสมอวงษ์ นายจ้าง

ณัชชา เสมอวงษ์ นายจ้าง


แรงงานทั้งหมดที่โรงงานมีจำนวน 15 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวเมียนมาทั้งแรงงานไทยและเมียนมาได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จากที่เคยทำงานเกือบทุกวัน มีโอที ตอนนี้ต้องลดวันลง เพราะยอดการสั่งซื้อน้อยลงก็ส่งผลต่อรายได้

ข้อมูลแรงงานแท้จริงอาจสูงกว่าเท่าตัว

คิมโมตู เป็นหนึ่งในแรงงานข้ามชาติ ที่มีอยู่ประมาณ 27,000 คน ที่ขึ้นทะเบียนแรงงานถูกต้องใน จ.เชียงราย แต่ข้อมูลที่แท้จริงในเชียงราย อาจมีแรงงานที่ไม่ถูกต้อง อีกเกือบเท่าตัว THE EXIT พูดคุยกับแรงงานชาวเมียนมาหลายคน

 


ทุกคนบอกว่ายังมีแรงงานชาวเมียนมาอีกจำนวนมาก ที่มีนายจ้าง และไม่มีนายจ้าง เกือบทั้งหมดตกงาน ผลกระทบจาก COVID-19

 

สืบสกุล กิจนุกร ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ ม.แม่ฟ้าหลวง

สืบสกุล กิจนุกร ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ ม.แม่ฟ้าหลวง

สืบสกุล กิจนุกร ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ ม.แม่ฟ้าหลวง


มีแรงงานที่ไม่มีนายจ้างมีเยอะ แรงงานข้ามชาติหลายคนอยากขึ้นทะเบียน บางคนมีนายจ้าง เจ้านายก็ไม่ยอมให้ทำก็มี แรงงานเมียนมาหลายคนก็ไม่มีเงิน ก็ไม่ทำตั้งแต่มีสถานการณ์โควิดก็ต้องไปอยู่ร่วมกันกับญาติ เพื่อลดค่าใช้จ่าย จะกลับเมียนมาก็ไม่ได้เพราะปิดประเทศ

ขึ้นทะเบียนแรงงานผ่านมือถือไม่ได้ 


การขึ้นทะเบียนออนไลน์ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก มือถือใช้ไม่ได้ แรงงานไม่มีคอมพิวเตอร์ จึงลงทะเบียนไม่ได้

ส่วนค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะตรวจสุขภาพสูง 7,200 บาท ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่มีนายจ้างรู้สึกกังวลใจไม่สามารถจ่ายเงินตรวจสุขภาพได้

 

 

สำหรับค่าใช้จ่ายขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีนายจ้าง มีค่าใช้จ่ายรวม 7,200 บาท แบ่งเป็นค่าตรวจ COVID-19 จำนวน 3,000 บาท ค่าตรวจโรคต้องห้าม 6 โรค จำนวน 1,000 บาท และค่าซื้อประกันสุขภาพเป็นเวลา 2 ปี จำนวน 3,200 บาท

 



ส่วนชาวต่างชาติ ที่ไม่มีนายจ้าง เมื่อลงทะเบียนแล้วต้องหานายจ้างให้ได้ภายในวันที่ 13 ก.ย.นี้ และการเปิดให้ลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่ จ.เชียงราย ในวันแรกมีแรงงานข้ามชาติมาขึ้นทะเบียนทางออนไลน์เพียง 18 คน และกรณีมีนายจ้างขอขึ้นทะเบียนมีเพียง 36 คน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง