ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เลือกตั้งท้องถิ่น สะเทือนพรรค "แตกหัก-พรรคร้าว"

การเมือง
15 ธ.ค. 63
11:59
1,766
Logo Thai PBS
เลือกตั้งท้องถิ่น สะเทือนพรรค "แตกหัก-พรรคร้าว"
เรื่องยากของพรรคใหญ่ คือการตัดสินใจ "เลือก" ผู้สมัครฯ เพราะแต่ละต่างมี "กลุ่มก๊วน" หากแบ่งไม่ลงตัวอาจกลายเป็น "รอยร้าว"

การเลือกตั้ง อบจ. ไม่ใช่แค่พื้นที่ให้ พรรค-นักการเมือง ได้ลุยเลือกตั้ง แต่หลายครั้งการเฟ้นตัวผู้สมัคร นำมาซึ่งความแตกแยกภายในพรรค

1. "เพื่อไทย" สนามเชียงราย จบด้วย "ลาออก"

กรณี นายสามารถ แก้วมีชัย กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยลาออก ในเดือน ม.ค. ปี 2563 ต้นเรื่องพบว่า นายสามารถ หารือกับผู้บริหารชุดเดิม นำโดย นายภูมิธรรม เวชชยชัย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เพื่อไทย ในฐานะผู้ใหญ่ในพื้นที่

นัดแรกตกลงว่าจะส่งคนของ นายสามารถ คือ นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ ลงชิงตำแหน่ง นายก อบจ.เชียงราย

ซ้าย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์

ซ้าย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์

ซ้าย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์

แต่ต่อมา นายวิสาร กลับเสนอชื่อลูกสาว คือ น.ส.วิสาระดี อมรวิวัฒน์ หรือ "ส.ส.ยิ้ม" (อดีต ส.ส.เชียงราย เขต2) อ้างว่าคุ้นเคยพื้นที่มากกว่า

ท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยเลือกส่ง ส.ส.ยิ้ม ลงเลือกตั้ง นายก อบจ. ส่วน นายสามารถ ยื่นจดหมายลาออก

สำหรับประเด็นที่ถูกวิจารณ์มากที่สุดคือเรื่องส่วนตัว เพราะ น.ส.วิสาระดี เป็นภรรยา นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และมีศักดิ์เป็นลูกสะใภ้ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

เรื่องนี้จึงสะเทือนความสัมพันธ์คนในพรรค... แต่ก็มีรายชื่อของทั้งคู่ ทั้ง นางอทิตาธร และ น.ส.วิสาระดี ชิงตำแหน่ง นายก อบจ.เชียงราย

2. "เพื่อไทย" หัก "บูรณุปกรณ์"

จ.เชียงใหม่ พื้นที่หลักของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าเลือกตั้งใหญ่-เล็ก ยึดฐานคะแนนเสียงไว้ได้ ซึ่งอดีตการเลือกตั้ง อบจ. มี นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ หัวหน้ากลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม นำทีมกวาดเก้าอี้

รอบนี้ นายบุญเลิศ ไม่ประกาศจุดยืนลงในนามพรรคใด และให้ลูกทีม "ฟรีสไตล์" 

ด้วยท่าทีที่ไม่ชัดเจน พรรคเพื่อไทย ตัดสินว่า นายบุญเลิศ ย้ายขั้วซบพรรคพลังประชารัฐ และอ้างรูปถ่ายที่ นายบุญเลิศ ถ่ายร่วมกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ

ซ้าย นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์

ซ้าย นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์

ซ้าย นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์

ต่อมา พรรคเพื่อไทย เลือกส่ง "ส.ว.ก๊อง" หรือ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร (ชื่อเดิม คือ ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร) โดยเน้นการหาเสียงเรื่องการเมืองระดับชาติและปัญหาเศรษฐกิจระดับชาติ ซึ่งถูกมองว่าไกลตัวคน

จน นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ต้องเขียนจดหมายเรียกคะแนนจากคนเชียงใหม่

ความอึดอัดใจจึงตกอยู่ที่ น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ เขต 1 หลานสาวของ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ และยังคงเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ไม่เคยโหวตสวนมติพรรค และที่สำคัญช่วงรณรงค์ประชามติ รธน. ปี 2560 ถูกจับกุมในข้อหาอั้งยี่-ซ่องโจร (นายบุญเลิศ ก็ถูกจับกุมด้วย)

นางทัศนีย์ ยืนยันว่า อึดอันไม่สบายใจเมื่อ นายทักษิณ เขียนจดหมายขอคะแนน และอ้างว่า นายบุญเลิศ ยอมเลี่ยงไม่ลงสมัคร หากเพื่อไทยจะส่งสัญญาณว่าจะส่งคนของตนเอง

กรณี จ.เชียงใหม่ จึงไม่ต่างจากพื้นที่อื่น ที่การส่งผู้สมัครกลายเป็นจุด "แตกหัก" ของคนในพรรค

3. พี่ชวน -ลูกน้องชวน ส่งผู้สมัครชิง นายกฯ อบจ.

เมื่อ นายกิจ หลีกภัย อดีตนายก อบจ.ตรัง หลายสมัยประกาศวางมือ ตำแหน่งนี้จึงเป็นที่หมายตาของนักการเมืองท้องถิ่น

กลุ่มแรก คือ ทีมกิจปวงชน ทีมของ นายกิจ หลีกภัย พี่ชายของนายชวน ส่ง นายบุ่งเล้ง โล่สถาพรพิพิธ นักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ในพื้นที่ (พี่ชาย นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ อดีต ส.ส.ตรัง เขต 3 หลายสมัย) เท่ากับการส่งสัญญาณ ส่งไม้ต่อให้กับ นายบุ่งเล้ง

คนที่ 3 นับจากซ้าย บุ่งเล้ง โล่สถาพรพิพิธ และคนที่ 4 นายกิจ หลีกภัย

คนที่ 3 นับจากซ้าย บุ่งเล้ง โล่สถาพรพิพิธ และคนที่ 4 นายกิจ หลีกภัย

คนที่ 3 นับจากซ้าย บุ่งเล้ง โล่สถาพรพิพิธ และคนที่ 4 นายกิจ หลีกภัย

กลุ่ม 2 คือ กลุ่มตรังพัฒนาเมืองตรัง นำโดย นายสาธร วงศ์หนองเตย น้องชายนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ปชป. อดีตแกนนำ กปปส. ซึ่ง นายสาธร เคยทำงานช่วย นายสาทิตย์ หาเสีสยงในพื้นที่ รวมถึงเป็นทีมงานของ นายชวน ด้วย

จ.ตรัง จึงกลายเป็นศึกสายเลือดพรคประชาธิปัตย์ ที่มี นายชวน หลีกภัย อยู่ตรงกลาง เมื่อฟากฝั่งหนึ่ง คือ นายบุ่งเล้ง มีพี่ชายของนายชวน เป็นผู้สนับสนุน และอีกฟากฝั่งหนึ่งคือ นายสาธร น้องชาย นายสาทิตย์ ส.ส.คู่ใจนายชวน

4."พลังประชารัฐ" คนชนกันหลายสนาม

ความขัดแข้งข้างตัน เชื่อว่าเป็นเหตุหนึ่งที่ "พลังประชารัฐ" เลือกไม่ส่งผู้สมัครในนามพรรค ดังจะเห็นอุณหภูมิแต่ต้นปี ที่มีกลุ่มก๊วนในพรรคประกาศส่งคนของตัวเอง ซึ่งหากพรรคส่งในนามพรรคต้องหนักใจแน่

อาทิ จ.กำแพงเพชร เจ้าของพื้นที่มี นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร เป็น ส.ส. สาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับค่ยของ นายวราเทพ รัตนากร มือทำงานของพรรค ประกาศส่งผู้สมัครในนามตนเองตั้งแต่ต้นปี

นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา หรือ กำนันตุ้ย

นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา หรือ กำนันตุ้ย

นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา หรือ กำนันตุ้ย

จ.ราชบุรี น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ประกาศสนับสนุน นายนภินทร ศรีสรรพางค์ พรรคภูมิใจไทย ขณะที่ ส.ส.คนอื่น นำโดย "แม่ยิ่ง" หรือ นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ หนุน "กำนันตุ้ย" หรือ นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา สามีของตนเองเป็นนายก อบจ.

ปมของพรรคพลังประชารัฐ นอกจากระมัดระวังเรื่องข้อกฎหมาย ยังมีความกังวลเรื่องความขัดแย้งของคนในพรรคด้วย

กลุ่มก๊วนการเมืองยิ่งเยอะ ปัญหาตามมายิ่งมากขึ้น... โดยเฉพาะพรรคใหญ่ที่มีแกนนำ ส.ส. และเส้นสายหลายขั้ว เมื่อการเลือกตั้งท้องถิ่นมาถึงจึงเกิดปรากฏการณ์ "พรรคร้าว" ในลักษณะนี้

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง