ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

THE EXIT : ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ

สังคม
24 ก.ย. 63
18:41
4,377
Logo Thai PBS
THE EXIT : ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ
ฝนตก ยังคงเป็นฝันร้ายของคนกรุงเทพฯ เพราะหากฝนตกเกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง นั่นหมายถึง น้ำจะท่วมขัง รถจะหยุดนิ่งเข้าขั้นวิกฤตทันที ไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ก็ดูจะสอบตกไปกันแทบทุกคน แต่ก็น่าคิดว่า แล้วทำไมคนกรุงเทพฯ ถึงต้องยอมจมอยู่กับปัญหานี้

ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯไม่ได้เกิดจากน้ำเหนือหลากเข้าท่วมเหมือนน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 แต่ในฤดูฝน ฝนที่ตกลงมากเกินกว่าที่กรุงเทพฯรับได้ 60 มม./ชม.ทำให้ กทม.เป็นเมืองหลวงที่มีน้ำท่วมขังเพราะน้ำต้องรอการระบายจากถนนเดินทางไปไม่ถึงอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ

 

ขณะที่ปัญหาขยะหน้าอุโมงค์ระบายน้ำซึ่งมีมากมายหลายประเภท ทั้งซากทีวีเก่า โซฟารับแขก ยางล้อรถยนต์ ท่อนไม้ ฝาผนังบ้าน รวมถึงที่นอนเก่า โดยขยะเหล่านี้มาจากคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าวซึ่งลอยมาติดหน้าอุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9 เป็นปกติแทบทุกวัน ทั้งหมดนี้ ยังไม่นับรวมขยะในครัวเรือน

 

เจ้าหน้าที่สำนักระบายน้ำต้องใช้เวลาเก็บขยะออกจากอุโมงค์ วันละ 3 ครั้ง โดยต้องมุดดำน้ำเก็บขยะซึ่งต้องอยู่ในน้ำไม่ต่ำกว่าครั้งละ 1 ชม. แต่ขยะวันละ 4- 5 ตันกลับทำให้ทุกอย่างช้าลง

 

ที่ผ่านมาขยะถูกมองว่าเป็น 1 ในสาเหตุทำให้น้ำระบายช้า ไทยพีบีเอสจึงสำรวจปริมาณขยะในคลองลาดพร้าว คอกดักขยะขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯที่เต็มไปด้วยขยะในครัวเรือน ไม่ต่างจากท่อระบายน้ำย่านใจกลางเมืองกรุงฯ เราพบว่ามีขยะพลาสติก โฟม ถูกทิ้งลงไปในท่อระบายน้ำมากกว่าถังขยะเสียอีก

 

ทุกปี กทม.จะต้องขุดลอกท่อระบายน้ำขยะในครัวเรือน ไขมัน เศษอาหาร หรือแม้แต่อุจจาระคนก็ยังถูกทิ้งรวมลงในท่อระบายน้ำ เจ้าหน้าที่ต้องตักขึ้นมาทิ้งและมันได้กลายเป็นปัญหาให้การขุดลอกท่อเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะผู้ทิ้งขยะสิ่งปฎิกูลลงท่อมากขึ้นแต่คนเก็บยังเท่าเดิม

 

เศษขยะที่ปะปนดินและวัสดุจากการก่อสร้างถนน เหล่านี้เป็นฝีมือของคนไทยที่ทิ้งลงไป แม้ท่อระบายน้ำจะถูกลอกอย่างสะอาดพร้อมรอรับน้ำฝน แต่ท่อระบายน้ำที่มีขนาดเล็ก ยังเป็นปัญหาที่ทำให้กรุงเทพฯไม่สามารถระบายน้ำด้วยวิธีธรรมชาติเหมือน 30 ปีที่ผ่านมาได้อีกต่อไปได้

 

ศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ยอมรับว่า กรุงเทพฯกำลังถูกคุกคามจากภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับหลายประเทศ จากสาเหตุน้ำท่วม คือเมืองขยายพื้นที่รับน้ำหาย ขยะอุดตันท่อระบายน้ำ แผ่นดินทรุด และท่อระบายนน้ำไม่ทัน ผลงานวิจัย IPCC ระบุว่าน้ำท่วมจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับกรุงเทพฯ ปีละ 20,000 ล้านบาท

 

เมื่อโลกเผชิญกับ new normal สภาพอากาศแล้งก็แล้งหนัก ท่วมก็ท่วมมาก นั่นหมายถึงว่าพื้นที่ต่ำเสี่ยงน้ำท่วมสูงในกรุงเทพฯ เช่น ลาดพร้าว บางเขน บางกะปิ มีนบุรี พระโขนง ลาดกระบัง จะใช้วิธีการระบายน้ำแบบเดิมไมได้อีกต่อไป นับเป็นโจทย์ท้าทายไม่น้อยของกรุงเทพฯว่าจะทำอย่างไรให้กรุงเทพฯต้องจมน้ำ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง