ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ครั้งแรก! หมอจุฬาฯ เล่าประสบการณ์ผ่าตัดผู้ป่วย COVID-19

สังคม
10 เม.ย. 63
10:54
1,339
Logo Thai PBS
ครั้งแรก! หมอจุฬาฯ เล่าประสบการณ์ผ่าตัดผู้ป่วย COVID-19
นพ.ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ หมอจุฬาฯ โพสต์เล่าประสบการณ์การผ่าตัดผู้ป่วย COVID-19 ครั้งแรก ต้องทำให้ดีที่สุดและเร็วที่สุด ภายใต้ชุดป้องกันเชื้อ ต้องเตรียมทั้งเครื่องมือ บุคลากรและทีมงาน ให้คนไข้ปลอดภัย

วันนี้ (10 เม.ย.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Phuphat Vonwattanakit ของนพ.ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า ขอบคุณทุกกำลังใจจากทุกท่านนะครับ ได้พลังมาล้นหลามมาก ปลื้มเลยครับ

ขอบอกเล่าประสบการณ์การผ่าตัดในคนไข้ covid+ ครั้งแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ไม่แน่ใจว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยด้วยหรือเปล่า)

1.การใส่ชุด PAPR ควรมีการฝึกวิธีใส่ชุดมาก่อน โชคดีที่ครั้งนี้ผ่าตัดตอนช่วงเย็นจึงมีคนช่วยเยอะ แต่ถ้าผ่าตอนดึกๆ อาจจะมีคนช่วยน้อยกว่านี้ ดังนั้นถ้าเราใส่เป็นอยู่แล้ว หรืออย่างน้อยเคยฝึกมาบ้างก็จะดีกว่า

2.หมวก (หรือเรียกว่าหน้ากากหว่า) ไม่จำเป็นต้องใส่ mask ข้างใน เพราะมันเป็นระบบ positive pressure อยู่แล้ว แต่ทีมวิสัญญีก็ใส่ N95 ไว้ด้วย ซึ่งอาจจะดีกว่าช่วงถอดชุด PAPR เดี๋ยวจะพูดตอนหลังครับ

3.หลังใส่ชุด PAPR เสร็จ ก็จะล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หลังจากนั้นจึงใส่ชุด sterile แบบ disposable กันน้ำ แล้วใส่ถุงมือsterile ตามปกติอีก 2 ชั้น

4.พาคนไข้เข้าในห้อง ขั้นตอนนี้ ถ้าเป็นการดมยาแบบ GA ทีมผ่าตัดก็จะออกมารอนอกห้อง แต่ถ้า SAB ก็ยืนรอในห้องได้

5.ผ่าตัดตามปกติ ทำแบบดีที่สุดและให้เร็วที่สุด ชุด PAPR นี่ใส่แล้วสบาย ไม่เหมือนใส่ N95 แต่หัวจะพองๆ หน่อย เวลาผ่าก็อาจจะหัวชนกันไปชนกันมา 555 ที่เป็นปัญหาคือ เสียงพูดจะอู้อี้ คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง scrub ต้องเดาใจ surgeon ว่าจะเอาเครื่องมืออะไร (แต่ส่วนใหญ่ scrub ก็น่าจะชินอยู่แล้ว เพราะ surgeon ชอบบอกว่า “ส่งไอ้ที่ผมจะเอาสิ ไม่ใช่ส่งอันที่ผมขอ” 555)

อีกจุดนึงคือ พยายามเตรียมเครื่องมือทุกอย่างให้พร้อม โดยเฉพาะไหมต่างๆ เพราะการจะต้องเปิดประตูเพื่อไปเอาของ ค่อนข้างลำบาก และอาจทำให้เชื้อกระจายออกไปนอกห้องผ่าตัดได้

อีกเรื่องคือตอน paint ยาก่อนปูผ้า ทาง ID แนะนำใช้ povidone iodine ไม่ควรใช้ chlorhexidine เพราะยังไม่มีข้อมูลว่าสามารถฆ่า covid ได้หรือเปล่า (ถ้าใครมีข้อมูลตรงนี้ ช่วยแชร์หน่อยนะครับ)

ส่วนเรื่องจี้ไฟฟ้า ถ้ามีแบบดูดควันได้ในตัวก็น่าจะดี แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลว่าเจ้า covid มันจะลอยออกมาพร้อมควันจี้ได้หรือเปล่า

ภาพ: Phuphat Vonwattanakit

ภาพ: Phuphat Vonwattanakit

ภาพ: Phuphat Vonwattanakit

 

6.หลังจากผ่าตัดเสร็จ ก็ช่วยกันย้ายเตียงผู้ป่วย แล้วค่อยถอดชุด sterile ออกแบบม้วนเอาด้านในออกมา ป้องกัน contaminate ชุดหมีข้างใน

7.เดินออกมาที่ห้อง anteroom เพื่อถอดชุด PAPR ซึ่งขั้นตอนนี้แหล่ะที่ยากที่สุดโดยเฉพาะในคนที่ขาดความชำนาญในการถอดชุด จะต้องกักตัวเองไหมก็อยู่ตอนถอดนี่แหละ ในขั้นตอนนี้จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่จะไม่มี mask บนหน้าเลย เพราะเราจะถอดหมวกออกก่อน แล้วจึงถอดชุดหมี ช่วงนี้แหละ เสียวมากกกกก ฉะนั้นถ้าเราใส่ mask ไว้ด้วยตั้งแต่แรกแบบวิสัญญี ก็น่าจะสบายใจมากกว่า หรืออย่างน้อยให้มันมีmask ในห้องนี้ พอถอดหมวกปุ๊บ ก็กลั้นหายใจรีบใส่ mask เลยก็อาจจะดีกว่า

8.เปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ ออกมาจากห้อง anteroom แล้วรีบไปอาบน้ำสระผม เสร็จแล้วค่อยกลับมาเขียนชาร์ท กลับมาถึงบ้านก็อาบน้ำ สระผมอีกรอบ จิตตก 555

โชคดีที่วันนี้ผ่าตัดไม่ยากมาก ใช้เวลาไม่นาน ตอนใส่-ถอดชุดอาจจะนานกว่าต้องขอบคุณทีม ID มากๆครับ ทั้งอ.โอภาส Opass Putcharoen อ.วรรษมน อ.เลลานี อ.กำพล อาจารย์ดูแลดีมากๆ ช่วยใส่ชุด ช่วยให้กำลังใจ อยู่เป็นเพื่อนตั้งแต่ต้นจนจบ นี่ถ้าอาจารย์ผ่าเองได้ รู้เลยว่าอาจารย์คงทำเองแน่ๆ ขอปรบมือให้ล้านครั้งครับ

ขอบคุณทีมวิสัญญี อ.แอน อ.หมูหวาน ที่ทำได้ smooth และรวดเร็วมาก ทำให้ผ่าตัดได้ smooth as silk ไปด้วย

ขอบคุณทีมพยาบาล และผู้ช่วย Husainee Bangyai ที่ช่วยประสานงาน แต่งตัว หาของให้ โชคดีที่มีพี่ระดับ boss Paweena Naenna มาลุยเอง จัดการทุกอย่างได้หมดจด สุดยอดครับ

ขอบคุณคนเข็นเปล แม่บ้าน ห้องอาบน้ำกับห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าสะอาดมากๆ ชอบ สุดท้ายขอขอบคุณ อ.โสภาคย์ Sopark Manasnayakorn มากครับ ที่ทำให้ได้ประสบการณ์แปลกใหม่ แต่ครั้งเดียวก็พอนะครับ เสียว 555ว่าแล้ว ขอลาไปนอน สวดมนต์ก่อนนะครับ เพราะพรุ่งนี้อยู่เวรอีก หวังว่าโลกจะสงบสุข

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมอเตือนตัวอย่างจริงไม่กักตัวส่งเชื้อ COVID-19 ติดแม่

หมอเตือน “เลี่ยงวิ่ง” เหตุหายใจแรงเสี่ยงรับ COVID-19

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง