วันนี้ (7 เม.ย.2563) กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์ไวรัส COVID-19 โดยมี นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมแถลงข่าว
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วันนี้พบผู้ป่วยรายใหม่ 38 คน ผู้ป่วยสะสม 2258 คน ผู้ป่วยกลับบ้าน 31 คน รวมตั้งแต่ ม.ค.ถึงปัจจุบัน 824 คนจากนี้ จะปรับเกณฑ์ปรับเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรคไวรัส COVID-19 ใหม่ เพิ่มโดยขยายผู้ป่วยที่จะเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังและสอบสวนและนำเข้าสู่การตรวจในห้องปฏิบัติการ และคนที่ไม่มีอาการแต่มีความเสี่ยงสูง จากเดิม 3 จุด คือ
1.ในช่วงแรกด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจะเน้นการเฝ้าระวังสอบสวนโรคผู้ที่เดินทางมากจากประเทศจีนในช่วงแรก คือ เมืองอู่ฮั่น และเนื่องจากปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยจาก 209 ประเทศทั่วโลก จึงปรับนิยาม หากมีผู้ป่วยไม่ว่าจะมีอาการไข้ 37.3 หรือโรคระบบทางเดินหาใจ และประวัติเสี่ยง โดยขยายครอบคลุมทุกประเทศทั่วโลก โดยจะต้องสอบสอนและตรวจในห้องปฏิบัติการ
2.ผู้ป่วยที่มายังสถานพยาบาล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ คือ ผู้ที่มีอาการไข้ โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดอักเสบ เดิม จะต้องเดินทางมาจากประเทศที่มีเหตุระบาดของโรคต่อเนื่องแต่ปัจจุบันปรับให้ครอบคลุมทุกประเทศ รวมถึงขยายไปยังคนไทยที่ประกอบอาชีพสัมพันธ์กับคนต่างชาติในทุกประเทศ โดยคนต่างชาติอยู่ในไทย 14 วัน และคนไทยไปสัมผัส คนเหล่านี้ต้องได้รับการสอบสวนและตรวจห้องปฏิบัติการ
3.กลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ หาสาเหตุไม่ได้ หรือรักษาไม่หายใน 2 วัน อาการรุนแรงรักษาไม่หาย และการถ่ายภาพรังสีพบติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งต้องได้รับการตรวจห้องปฏิบัติการอยู่แล้ว
4.กลุ่มที่แยกจำเพาะคือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข พบการรายงานการติดเชื้อต่อเนื่อง 3 คน และพบว่า บุคลากกรที่ รพ.วชิระภูเก็ตที่พบว่าติดเชื้อโควิด จำนวน 112 คน โดยมากกว่า 90 คน พบตรวจเชื้อเป็นลบ แต่จำเป็นต้องกักตัวเป่็นเวลา 14 วันและรายงานผล ซึ่งต้องแยกและเฝ้าระวังบุคลากรทางการแพทยออกมาจากอาการไข้ อาการแสดงโรคระบบทางเดินหายใจและปอดอักเสบ หากแพทย์ผู้ตรวจมีความสงสัย และร่วมกับประวัติสัมผัสผู้ที่หรือผู้ที่สงสัยจะได้การสอบสวนและตรวจสอบขจากห้องปฏิบัติการทุกคน
5.กลุ่มสุดท้าย เมื่อเข้าฤดูฝนจะมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มก้อน มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และผลตรวจไข้หวัดใหญ่เป็นลบ คนกลุ่มนี้จะแยกเป็น 2 กลุ่ม ในกรณีของบุคลากรทางการแพทย์มีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน 3 คน และในประชาชนทั่วไปมีผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า 5 คน จะต้องสอบสวนโรคและตรวจทางห้องปฏิบัติเพื่อตรวจผู้สงสัยและมีความเสี่ยงมากขึ้น
6.ขณะที่ผู้ที่สัมผัสกระบวนการสอบสวนโรคช่วยให้พบผู้ที่อาจไม่ป่วยแต่สัมผัส กลุ่มนี้จะต้องจำแนกทันทีเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน หากมีไข้ก็จะเข้าสู่เกณฑ์การจัดการแบบผู้ป่วย หากไม่ป่วยก็จะดำเนินการเฝ้าระวัง 14 วัน โดยมีสมาชิกในครอบครัว ผู้ที่อาจเดินทางท่องเที่ยวร่วมกัน ทั้งทางเครื่องบินนั่งด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลังโดยใช้กับกรณีรถประจำทางด้วยเช่นกัน ครอบคลุมพนักงาน และเจ้าหน้าที่ด่าน ตม.และควบคุมโรคระหว่างประเทศ และบุคลากรทางการแพทยที่เข้าข่ายผู้สัมผัสและสงสัย และผู้ป่วยอื่นๆที่อยู่ห้องเดียวกัน
7.หากมีผู้ป่วยอยู่ในสำนักงานใดและเพื่อนร่วมงานในขณะที่ผู้ป่วยทำงาน พนักงานต้องได้รับการตรวจเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง เมื่อเข้าเกณฑ์ทุกคนจะได้รับการตรวจโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ภาพโดยรวมจากการปรับนิยามและขยายกลุ่มสัมผัส จะเข้าถึงการสอบสวนและการตรวจห้องปฏิบัติการมากขึ้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การปรับเกณ์ฑ์ PUI ให้ขยายครอบคลุมหลายกลุ่มมากขึ้น ขณะนี้ในไทยการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างน้อย 78,560 ตัวอย่าง จากนี้ไปการตรวจคัดกรองจะมากขึ้น โดยจัดทำ "โครงการ 1 แล็บ 1 จังหวัด 100 ห้องปฏิบัติการรู้ผลใน 1 วัน" เป้าหมายเพิ่มห้องปฏิบัติการเป็น 110 ห้อง ขณะนี้มีห้องปฏิบัติการจำนวน 80 ห้อง ซึ่งห้องปฏิบัติการที่จะเข้าเกณ์คือ โดยมีบุคลากรเพียงพอ ห้องปฏิบัติการได้มาตรฐาน ระบบควบคุมได้มาตรฐาน และข้อมูลเชื่อมโยงกันได้
ขณะนี้ ในกรุงเทพมีห้องปฏิบัติการจำนวน 40 กว่าห้อง ในต่างจังหวัดมีห้องปฏิบัติการ 40 กว่าห้อง สามารถตรวจได้จำนวน 10,000 ตัวอย่างต่อวัน ในต่างจังหวัด 10,000 ตัวอย่าง คาดสิ้น เม .ย.อจะมีห้องปฏิบัติการอย่างน้อย 110 ห้อง และจำนวนห้องปฏิบัติการจะมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน้อยในแต่ละจังหวัดต้องมีห้องปฏิบัติการ 1 ห้อง รวมถึงการเตรียมน้ำยาให้เพียงพอภาครัฐจะใช้น้ำยาที่ผลิตโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขณะเอกชนใช้น้ำยาจากต่างประเทศ ผ่านมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจากนี้การรายงาน PUI เป็นระบบออนไลน์ จะรู้ผลภายใน 24 ชม.