วันนี้ (5 ก.พ.2563) นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊ก Thiravat Hemachudha ระบุว่า เรื่องการทำงานในเชิงรุก หลังจากที่ทราบว่าคนขับรถโดยสารที่เป็นคนไทย แท็กซี่ รถตู้ และรถทัวร์ติดโคโรน่า 2019 แม้ว่าจะมีการสำรวจในพื้นที่เขตการท่องเที่ยว 5 จังหวัดก็ตามที่มีนักท่องเที่ยวมาก โดยจะเฝ้าดูจนกระทั่งถึงกลางหรือปลายเดือน ก.พ.
ด้วยการประเมินจากการ ช่วงเวลาที่จีนมีการปิดประเทศ และโดยที่แม้แต่จะมีผู้ติดเชื้อเข้ามาแล้วก่อนปิดประเทศ (ซึ่งจริงๆไม่ได้ถึงกับปิดทั้งประเทศทั้งหมด) และถ้าจะเริ่มมีอาการหรือมีปอดบวมแล้วก็ตาม ในประเทศไทย หวังว่าจะอยู่ที่ช่วงเวลานี้ โดยเพิ่มระยะเวลาจนเสร็จเดือน ก.พ.นี้ และหวังว่าจะสามารถหน่วงเหนี่ยวการระบาดของโรคให้ช้าลงไปบ้าง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ข่าวดี! "คนขับแท็กซี่" เปิดใจหายป่วย-ให้กำลังใจคนจีน
แต่สิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ก็คือ ขณะนี้การแพร่เป็นการติดจากคนไทยไปยังคนไทยด้วยกันแล้ว ดังนั้นการป้องกันการติด และการแพร่กระจายในรถโดยสารสาธารณะทุกชนิด ควรต้องกระทำในทุกพื้นที่ และคำคำแนะนำก็คื
- จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครมีความโน้มเอียงที่จะติดเชื้อและแพร่ จะเป็นคนไทยเองหรือต่างชาติก็ตาม
- จะไม่สามารถแยกแยะได้จากลักษณะท่าทาง ได้อย่างชัดเจนนัก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งผู้ที่ติดเชื้อที่สามารถแพร่ได้เยอะ (จากการที่ปอดมีการอักเสบอยู่) แต่ยังดูปกติ เดินไปเดินมาได้ ไม่มีน้ำมูกไหล จะมีไอหรือจาม หรือไม่ก็ตาม และผู้ที่ติดเชื้อที่แพร่ได้น้อยโดยที่ปอดยังไม่อักเสบอยู่ ทั้งสองกลุ่มนี้ดูเหมือนคนธรรมดา
- ผู้ที่ขับรถโดยสารต้องมีการป้องกันตัวมีหน้ากากปิดปากปิดจมูก ถ้ามีที่ครอบตาแบบแว่นตาถูกๆที่กันลมได้ ยิ่งดีและหมั่นล้างมือบ่อยๆ
- ผู้โดยสารต้องมีการป้องกันตัวแบบเดียวกันและต้องไม่ลืมว่าละอองฝอยที่กระเด็นออกมาเวลาพูดจากผู้โดยสารที่ติดเชื้อก่อนหน้านี้ และเวลาไอจามจะติดอยู่ที่ภายในตัวรถ และเชื้อเหล่านี้จะอยู่ได้นานหลายชั่วโมงในอุณหภูมิ 20 ถึง 40 องศาได้ในความชื้นสัมพัทธ์ ในระดับที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปก็คือระดับที่มนุษย์พอใจดังนั้นต้องล้างมือบ่อยๆด้วย
- ถึงเวลาที่ทางการจะต้องออกมาตรฐานในการฆ่าเชื้อในตัวรถในห้องผู้โดยสารไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารชนิดใด รถประจำทางสาธารณะ รถไฟฟ้า รถใต้ดินทั้งนี้นึกถึงภาพสายการบินในการทำความสะอาดในตัวเครื่องบินในเวลาอันรวดเร็ว
หน่วยงานทั้งราชการ และเอกชนน่าจะให้คำตอบข้อนี้ได้รวดเร็วมาก และมีการได้ใช้ในเร็วๆนี้ การที่ติดแล้วจะพัฒนาถึงขั้นปอดบวมอย่างรุนแรงหายใจไม่ได้ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจไม่ได้อยู่ที่จะต้องมีโรคประจำตัว หรือสูงวัยเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่แพร่ออกมา และระยะเวลาที่สัมผัสกับเชื้อที่ออกมาด้วยเชื้อที่แพร่ออกมามาก ได้รับเข้าไปมากผลกระทบก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัวแม้จะเป็นคนปกติก็ตาม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มอีก 6 คน
ข่าวดี! "คนขับแท็กซี่" เปิดใจหายป่วย-ให้กำลังใจคนจีน
เปิดตรวจสุขภาพ "คนขับแท็กซี่" ฟรี 12-13 ก.พ.นี้