ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ยังพุ่งเกินมาตรฐาน

สิ่งแวดล้อม
20 ม.ค. 63
08:25
3,450
Logo Thai PBS
ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ยังพุ่งเกินมาตรฐาน
กรมควบคุมมลพิษ รายงานคุณภาพอากาศ กรุงเทพฯ และปริมณฑล วันนี้ ( 20 ม.ค.) พบค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 54 พื้นที่ สูงสุดริมถนนสามเสน เขตพระนคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"นครสวรรค์" ค่าฝุ่น PM2.5 พีคสุดรอบ 10 วัน ผู้ว่าฯ ถกด่วนพรุ่งนี้

โพล เผย คนกรุงมองหน่วยงานรัฐไร้ประสิทธิภาพแก้ "วิกฤตฝุ่น"

คนกรุงอ่วม! ลมสงบ-เจอภาวะ "ฝาชีครอบ" ทำฝุ่นสะสม

"ไทยพีบีเอส" แจกหน้ากากกันฝุ่น PM 2.5 ให้นักเรียนทุ่งสองห้อง

 

วันนี้ (20 ม.ค.2563) กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ เวลา 08.00 น. พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 47-90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก.ต่อ ลบ.ม.) โดยพบพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) 54 พื้นที่ เช่น บริเวณแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ, แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ, แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

และริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ, แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ต.นครปฐม อ.เมือง นครปฐม, ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี, ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี, ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ปทุมธานี, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.ปากน้ำ อ.เมือง สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร

ขณะที่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 61-126 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ

ประชาชนสามารถติดตาสถานการณ์คุณภาพอากาศแบบ RealTime ได้ทาง Air4Thai.com 

ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคสังเกตอาการ

นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากกรณีที่พบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯและปริมณฑล นั้นได้สั่งการไปยังหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสื่อสารและประชาสัมพันธ์ความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากค่า PM 2.5 ในแต่ละจุดในแต่ละเวลามีความแตกต่างกัน ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจึงขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ได้แก่ 

1.ตำแหน่งที่อยู่อาศัยหรือตำแหน่งที่ทำกิจกรรม 

2.ช่วงเวลาและระยะเวลาที่สัมผัส 

3.ชนิดของกิจกรรมที่ทำในพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 สูง เช่น ออกกำลังกายกลางแจ้ง ทำงานกลางแจ้งจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับ PM 2.5 มากกว่า กลุ่มคนที่ออกกำลังกายในที่ร่ม หรือทำงานในอาคาร 

4.ปัจจัยเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว

โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหืด ภูมิแพ้ หากได้รับมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงกว่าประชาชนทั่วไป

นพ.ขจรศักดิ์ กล่าวว่า ประชาชนที่มีบุคคลในครอบครัวที่ป่วยด้วย 4 กลุ่มโรคสำคัญ ขอให้สังเกตอาการ ดังนี้ 1.กลุ่มโรคหัวใจ และหลอดเลือด เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว 2.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูกและลำคอ 3.กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย และ 4.กลุ่มโรคตาอักเสบ เช่น อาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ขอให้ประชาชนสังเกตและตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการสัมผัสฝุ่นละอองอย่างเหมาะสม และขอให้ประชาชนลดการเพิ่มปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ เช่น ลดการใช้รถยนต์และรถที่มีควันดำ หันมาโดยสารรถสาธารณะ ลดการเผาขยะ/หรือเผาในที่โล่งแจ้ง รวมถึงดูแลทำความสะอาดบ้านให้ปลอดฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ปิดประตู/หน้าต่างให้มิดชิด หากไม่จำเป็นไม่ควร ออกนอกบ้านหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณหรือเส้นทางที่มีฝุ่นขนาดเล็กหนาแน่น

หากจำเป็นควรป้องกันการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด โดยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และที่สำคัญควรสวมใส่หน้ากากอย่างถูกวิธี 

นอกจากนี้ผู้ที่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ควรป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากาก แว่นตา เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันฝุ่น เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนัง 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง