ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จุดบริการ อาหาร-น้ำ-แพทย์-สุขา อยู่ไหน?

สังคม
2 พ.ค. 62
11:50
689
Logo Thai PBS
จุดบริการ อาหาร-น้ำ-แพทย์-สุขา อยู่ไหน?
"ไทยพีเอสออนไลน์" รวบรวมเรื่องต้องรู้ก่อนไปร่วมงานพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 2-6 พ.ค. แนะพกแผนที่จุดบริการรอบพื้นที่สนามหลวง ครอบคลุมจุดบริการอาหาร น้ำดื่ม แพทย์ และห้องสุขาเคลื่อนที่

จุดบริการอาหารและน้ำดื่ม

 

เริ่มจุดแรก คือ จุดบริการอาหารและน้ำดื่ม โดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคม องค์กรภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน เพื่อปรุงประกอบอาหาร สำหรับประชาชน 160,000- 200,000 คน จำนวน 6 จุด ที่มารอเฝ้ารับเสด็จฯ ดังนี้

1.วัดเทพศิรินทราวาส

2.บ้านมนังคศิลา

3.สนามม้านางเลิ้ง

4.บริเวณเชิงสะพานพุทธ

5.บ้านพิษณุโลก

และ 6.ใต้สะพานพระรามแปด ฝั่งเขตบางพลัด

และได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานในพื้นที่ พร้อมทั้งมีกระทรวงต่าง ๆ อีก 19 กระทรวง ร่วมให้การสนับสนุนอาหารว่างสำหรับประชาชน กระทรวงละ 3,000 กล่อง รวม 57,000 กล่อง

จุดให้บริการน้ำดื่ม

กรุงเทพมหานคร ได้จัดเตรียมแทงค์น้ำบริการน้ำดื่ม จำนวน 80 แทงค์ รวมถึงมีน้ำขวดกว่า 350,000 ขวด ทั้งในจุดบริการอาหารที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบ 6 จุด

และกระจายตามโซนต่าง ๆ นอกจากนี้ การประปานครหลวงได้ให้การสนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดสำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชน และสนับสนุนกระบอกน้ำหรือแก้วน้ำสำหรับเติมน้ำได้ จำนวน 300,000 ใบ รวมทั้งจัดรถบริการน้ำดื่มแบบเติม จำนวน 8 คัน ตลอดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

จุดบริการห้องน้ำ-สุขาเคลื่อนที่ 

 

อีกจุดหนึ่ง คือ บริการห้องน้ำห้องสุขา กรุงเทพมหานคร ได้จัดรถสุขาเคลื่อนที่ จำนวน 48 คัน ในจุดพักคอยทั้ง 6 จุด จุดละ 2 คัน และกระจายตามโซนต่าง ๆ อีกทั้งยังเตรียมรถสุขาเคลื่อนที่สนับสนุนเพิ่มเติม กรณีไม่เพียงพออีก จำนวน 29 คัน

 

นอกจากนี้ ประชาชนที่ยินดีให้การสนับสนุนห้องสุขาสำรองกรณีสุขาเคลื่อนที่ของกรุงเทพมหานครไม่เพียงพอสำหรับให้บริการ โดยจะทำการติดสติ๊กเกอร์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ประชาชนทราบ และหน่วยราชการทุกหน่วยที่ตั้งอยู่บริเวณรอบพิธีจะเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการสุขาได้เช่นกัน

จัดทีมแพทย์ ดูแลประชาชน 6 โซน 


กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ ด้านการแพทย์ไว้ดูแลประชาชนที่จะมาร่วมพระราชพิธี 6 โซน เช่น

โซนที่ 1 ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า พระแม่ธรณีบีบมวยผม ซอยหน้าพระธาตุ ปากซอยถนนจันทร์ (วัดพระธาตุ) ท่าช้าง (ท่าเรือ) ซ.หัยเผย (ศาลหลักเมือง)

โซนที่ 2 หน้าพิพิธภัณฑ์เหรียญ ถ.บูรณศาสตร์ หน้าวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครพาณิชยการ แยกโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ถ.ข้าวสาร ถ.ตะนาว

โซนที่ 3 วัดสามพระยา ถ.พระสุเมรุ วัดชนะสงคราม วัดตรีทศเทพ โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ อาคารจอดรถ กทม. โรงเรียนสตรีวิทยา

โซนที่ 4 เทเวศประกันภัย แยกสะพานวันชาติ หน้าอาคารสยามเฮ้าท์ ลานพลับพลา มหาเจษฎาบดินทร์ แมกซ์แฟชั่น ถนนสนามหลวง สมาคมโรงแรมไทย ถนนดินสอ

โซนที่ 5 แยกเสาชิงช้า แยกเฉลิมกรุง วงเวียน สน.พระราชวัง โรงเรียนราชบพิธ สี่กั๊กพระยาศรี

โซนที่ 6 เทคโนโลยีตั้งตงจิตรพานิชยการ แยกชุมชนท่าเตียน กพร.ทร.มิวเซียมสยาม

 

นอกจากจุดบริการทางการแพทย์ในพื้นที่แล้ว ยังมีทีมแพทย์เดินเท้ากระจายอยู่ทุกพื้นที่ พร้อมทั้งได้เตรียมเส้นทางฉุกเฉินในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลต่าง ๆ

สำหรับการเตรียมตัวของประชาชนที่จะมาร่วมงาน เนื่องจากในช่วงงานพระราชพิธีอากาศจะร้อน ควรเตรียมหมวก หรือ ร่มมา หรือ หากใครมีโรคประจำตัวแนะนำให้พกยาประจำตัวมาด้วย

ทั้งนี้ หากมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ที่ประจำจุดได้ทันที

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ยังกำหนดให้อาคารกีฬาเวสน์ 1 และอาคารกีฬาเวสน์ 2 ในศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง เป็นสถานที่รองรับประชาชนที่จะเดินทางมาพักค้าง เพื่อร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งแต่วันนี้ 1-7 พ.ค. 

สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าพัก สามารถนำบัตรประจำตัวประชาชนมายื่นแสดงความจำนงแบบวันต่อวัน เจ้าหน้าที่มีการจัดเตรียมถุงนอน และรถสุขาเคลื่อนที่ไว้อำนวนความสะดวก สามารถรองรับประชาชนได้สูงสุดถึง 1,500 คนต่อวัน 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็ก 22 จุดคัดกรองเข้าสู่พื้นที่งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เปิดอาคารกีฬาเวสน์รองรับ ปชช.พักค้างถึง 7 พ.ค.นี้

27 จุดจอดรถฟรี ร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง