วันนี้ (1 ก.ย.61) ศูนย์เฉพาะกิจในภาวะวิกฤต สรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ โดยมีเนื้อหาดังนี้
สรุปสถานการณ์
บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนวันที่ 2–5 ก.ย.61 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น
แม่น้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระดับน้ำเพิ่มขึ้น โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขง แม่น้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ และแม่น้ำปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีระดับน้ำน้อย ภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
แม่น้ำโขง : (06.00 น.) มีน้ำสูงกว่าตลิ่งที่ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี (แนวโน้มสูงขึ้น) และต้องเฝ้าระวังบริเวณ จ.หนองคาย และจ.บึงกาฬ แนวโน้มน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะสูงกว่าตลิ่ง ใน 1-3 วัน
สถานการณ์ฝน
1 ก.ย. 61 ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 16 จังหวัดภาคเหนือ เชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด
24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (06.00 น.) มีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ (แพร่ 76.0 มม. เชียงราย 61.0 มม. แม่ฮ่องสอน 54.0 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สุรินทร์ 38.4 มม.) ภาคกลาง (ปทุมธานี 48.6 มม.) ภาคตะวันออก (นครนายก 41.8 มม.) ภาคตะวันตก (ประจวบคีรีขันธ์ 38.8 มม.) และภาคใต้ (นราธิวาส 43.2 มม.)
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
อ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 6 แห่ง ดังนี้
1. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 567 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 571) คิดเป็น 109% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 4.89 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 6.68) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 7.74 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 8.69) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง บริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม บ้านพอกใหญ่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร การบริหารจัดการน้ำ ลดการระบายน้ำ เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสนก. คาดการณ์ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนปริมาณฝนในเดือน ก.ย.-ต.ค. 61 ลดลง ทั้งนี้ขอให้หน่วยงานติดตามการคาดการณ์ฝน เพื่อการปรับแผนให้เหมาะสม โดยต้องแจ้งประชาชนให้ทราบล่วงหน้า การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ แจ้งเตือนให้พื้นที่ในลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง ตั้งแต่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนถึง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ
2. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 755 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 756) คิดเป็น 106% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 1.00 ม. (เมื่อวาน 1.02) ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 14.22 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 13.48) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 15.05 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 15.31) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีต่ำกว่าระดับตลิ่ง แต่ยังต้องเฝ้าระวังเนื่องจากยังคงมีฝนตกในพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำ เร่งระบายน้ำให้กลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ที่เขื่อนเพชร เพิ่มการระบายเป็น 11.23 ล้าน ลบ.ม./วัน ตั้งแต่ 30 ส.ค. 61 การช่วยเหลือและเร่งระบายน้ำ หน่วยปฏิบัติในพื้นที่ติดตามสถานการณ์และให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
3. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./31 ส.ค.61/กฟผ.) มีปริมาณน้ำ 8,352 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 8,329) คิดเป็น 94% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 75.73 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 86.91) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 52.34 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 52.31) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังไม่สูงกว่าตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำ ปรับเพิ่มการระบายวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. จากวันละ 53 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 58 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่ 4-10 ก.ย.61 โดยปริมาณน้ำที่ระบายเพิ่มขึ้นยังไม่เกินความจุของลำน้ำแควน้อย แต่อาจมีพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบางแห่งได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่เอ่อสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 50 ซม. การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำ
4. เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./31 ส.ค. 61 กฟผ.) ปริมาณน้ำ 16,092 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 16,061) คิดเป็น 91% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 57.52 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 56.52) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 25.01 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 21.97) การบริหารจัดการน้ำ ปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนท่าทุ่งนาขึ้นวันละ 6 ล้าน ลบ.ม. จากวันละ 22 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่ 7-13 ก.ย. 61 (หลังจากเขื่อนวชิราลงกรณเพิ่มการระบายน้ำแล้ว 3 วัน) โดยปริมาณน้ำที่ระบายเพิ่มขึ้นยังไม่เกินความจุของลำน้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านหนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี แต่อาจมีพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบางแห่งได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่เอ่อสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 60 ซม.
การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควใหญ่ให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำ
5. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 194 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 193) คิดเป็น 87% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 7.30 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 6.20) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 7.30 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 7.88) น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 0.94 ม. (เมื่อวาน 0.84) การบริหารจัดการน้ำ ลดการระบายน้ำ ทั้งนี้ขอให้หน่วยงานติดตามการคาดการณ์ฝนอย่างใกล้ชิดเพื่อการปรับแผนให้เหมาะสม โดยต้องแจ้งประชาชนให้ทราบล่วงหน้า
6. เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 312 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 315) คิดเป็น 80% มีปริมาณน้ำไหลเข้า 7.91 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 7.64) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 11.08 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 11.08) การบริหารจัดการ มีแผนระบายน้ำลงแม่น้ำปราณบุรีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จะค่อยๆเพิ่มอัตราการระบายโดยติดตามดูผลกระทบท้ายน้ำและแจ้งจังหวัด อำเภอ ให้แจ้งราษฎรในพื้นที่ก่อนเพิ่มอัตราการระบาย ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ให้วางแผนปรับลดการระบายน้ำ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนน้ำอูน และอ่างขนาดกลาง/ขนาดเล็ก ทุกแห่ง ตามการคาดการณ์ที่ปริมาณน้ำฝนที่มีแนวโน้มลดลงในเดือน ก.ย.-ต.ค. 61 พื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ให้ติดตามการพยากรณ์อากาศในช่วง ก.ย. นี้ เพื่อวางแผนปรับการระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก ทั้งนี้ ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันตก ใน 4 เขื่อนขนาดใหญ่ (ศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ แก่งกระจาน และปราณบุรี) ยังคงต้องเร่งการพร่องน้ำ ตามการคาดการณ์น้ำฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและรองรับฝนตามฤดูกาลในปลายเดือน ก.ย.-ต.ค. 61
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ/ลำน้ำ
แม่น้ำสายสำคัญ
- ภาคเหนือ มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำสูงกว่าตลิ่งในแม่น้ำป่าสัก บริเวณ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำสูงกว่าตลิ่งใน แม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร อ.เซกา จ.บึงกาฬ ห้วยหลวง จ.อุดรธานี แม่น้ำโขง บริเวณ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีระดับน้ำน้อยถึงปานกลาง ไม่มีน้ำสูงกว่าตลิ่ง
- ภาคตะวันตก มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก ไม่มีน้ำสูงกว่าตลิ่ง แต่ยังต้องเฝ้าระวังในแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
- ภาคตะวันออก มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำสูงกว่าตลิ่งใน แม่น้ำนครนายก บริเวณ อ.องครักษ์ จ.นครนายก คลองพระปรง จ.สระแก้ว แม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณ ตลาดเก่า อ.กบินทร์บุรี อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี
- ภาคกลาง และภาคใต้ มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก ไม่มีน้ำสูงกว่าตลิ่ง
การติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่
ตามมติที่ประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 61 ให้พื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่มีอ่างเก็บน้ำปริมาณน้ำมากกว่า 80% ของความจุ พิจารณาปรับแผนการระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำให้พอเพียงในฤดูแล้ง และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 50% ของความจุ ต้องวางแผนเก็บกักน้ำและเติมน้ำโดยประสานกับกรมฝนหลวง่และการบินเกษตร
อ่างฯ ขนาดใหญ่+ กลาง : ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มี 53,545 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,143 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61 รับน้ำได้อีก 19,420 ล้าน ลบ. ม.
อ่างฯ ที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนน้ำอูน (109% เมื่อวาน 110%) เขื่อนแก่งกระจาน (106% เท่าเดิม) ขนาดกลาง 22 แห่ง (ลดลง 11 แห่ง) ซึ่งอยู่ใน ภาคเหนือ 2 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 แห่ง (ลดลง 11 แห่ง) ภาคกลาง 1 แห่ง (เท่าเดิม) และภาคตะวันออก 3 แห่ง (เท่าเดิม)
อ่างเฝ้าระวัง (80-100%) ขนาดใหญ่ 5 แห่ง เขื่อนวชิราลงกรณ (94% เท่าเดิม) เขื่อนศรีนครินทร์ (91% เท่าเดิม)
เขื่อนรัชชประภา (86% เมื่อวาน 87% ) เขื่อนขุนด่านปราการชล (87% เมื่อวาน 86%) เขื่อนปราณบุรี (80% เมื่อวาน 81%) ขนาดกลาง 64 แห่ง (เพิ่มขึ้น 9 แห่ง) แยกเป็น ภาคเหนือ 8 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 36 แห่ง (เพิ่มขึ้น 10 แห่ง) ภาคตะวันออก 12 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคกลาง 4 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) และภาคใต้ 4 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง)
อ่างเฝ้าติดตาม (น้อยกว่า 30%) ขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนอุบลรัตน์ (28% เท่าเดิม) เขื่อนทับเสลา (25%เท่าเดิม) ขนาดกลาง 38 แห่ง (เพิ่มขึ้น 2 แห่ง) ภาคเหนือ 2 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออก 4 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคกลาง 1 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคใต้ 5 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง)
อ่างเฝ้าติดตามที่มีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุม (Lower Rule Curve) ขนาดใหญ่ 2 แห่ง เขื่อนกิ่วลม (38%) เขื่อนบางลาง (50%)
- พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม : แม่น้ำเพชรบุรี บริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ลำน้ำก่ำ ลำน้ำสงคราม ลำน้ำอูน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำป่าสัก อ.หล่มสัก อ.หนองไผ่ อ.เมืองเพชรบูรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ และแม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณตลาดเก่า อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ์ อ.เมืองปราจีนบุรี อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
- สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา : แนวโน้มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ 700-800 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ถึงบริเวณ ต.บ้านกระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา และ ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้จะควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 800 ลบ.ม./วินาที คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 30-50 ซม. ทั้งนี้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามการคาดการณ์ฝนอย่างใกล้ชิดเพื่อการปรับแผนให้เหมาะสม โดยต้องแจ้งประชาชนให้ทราบล่วงหน้า
- ประกาศศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ รวม 8 ฉบับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ส.ค.61