ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์ พล.ร.ต.อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ หรือหน่วยซีล เบื้องหลังความสำเร็จ ในภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย มีคำยืนยันว่า ความรัก-ความสามัคคี คือพลังที่สูงที่สุด ที่ทำให้ทุกคน ชนะภัยอันตรายและอุปสรรค
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พล.ร.ต.อาภากร เชื่อว่าทุกๆ วินาทีคือการเรียนรู้ คือประสบการณ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบภัย ที่หมายถึงเด็กๆและโค้ชทั้ง 13 คน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือนับพันคน แม้แต่ตัวเอง พร้อมกับยอมรับว่า 17 วันในภารกิจค้นหา กู้ชีพ และส่ง 13 ชีวิตกลับสู่ครอบครัว
ความยากการทำงานของหน่วยซีล
ภารกิจนี้ มันยากมาก เพราะในหน่วยซีลทำงานกับทะเล แต่ที่เราเข้าไปเป็นถ้ำมืด มีความซับซ้อนของ
ถ้ำ เจอกับธรรมชาติเรื่องน้ำฝน ทำให้มีน้ำเข้ามาในถ้ำ ต้องดำน้ำในสภาวะความซับซ้อนของถ้ำ และดำน้ำเข้าถึงตัวเด็ก ยอมรับว่าสาหัสสากรรจ์ ถือป็นความท้าทายที่ต้องผ่านไปได้
ภารกิจที่สำเร็จ ยอมรับยังมีอีกหลายจุดที่ต้องมาพิจารณาเพิ่มเติม ประเด็นสำคัญคือการต่อสู้ “ถ้าเราสู้ไม่ถอย ภารกิจไม่สำเร็จ เราไม่ล้มเลิก” และมีกองเชียร์เราเยอะ มีคนมาสนับสนุนเราเยอะ อะไรที่เราติดขัดก็มีคนมาช่วย
กรณีที่เราโดนน้ำไล่เรามา โดนมาถึงตรงสามแยก ต้องถอยร่นมาอยู่โถง 3 จากโถง 3 มาถึงปากถ้ำเลย และตอนนั้นคือวันที่ 7-8 ที่เด็กทั้ง 13 คนติดในถ้ำ ความหวังของเราก็ค่อนข้างน้อยมากกว่าเด็กจะมีชีวิตอยู่ไหรือไม่ เราจะสูกับน้ำประมาณมหาศาล เราจะสูบน้ำหมดอย่างไร ในเมื่อฝนยังตก เดิมเราจะรอให้น้ำลดแค่ลดแค่ 1-2 เซนติเมตร แต่เราจะรอไม่ได้แล้ว
ผมกับทีมงานได้คุยกัน และประกาศกับทีมงาน และกำลังพลทั้งหมดว่า ไม่ว่าน้ำจะลดเท่าไหร่กับการสูบน้ำ เราจะไม่รอแล้ว แต่เราจะต้องอยู่กับน้ำให้ได้ เลยคิดวิธีการนำขวดอากาศไปวางทุก 25 เมตร พอดำแล้วขอให้มีอากาศหายใจ จะอยู่ในน้ำก็ได้ “เป็นมนุษย์น้ำ” ดำไปให้หาเด็กๆให้เจอ และการแบ่งงานให้กับทีมดำน้ำจากหลายประเทศ ที่เข้าในถ้ำหลวงไป ที่สุดนักดำน้ำชาวอังกฤษที่เข้าไปเจอ โชคดีมาก ๆ
เพราะตอนที่คุยกัน ไม่รู้ว่าน้องจะอยู่จุดไหน เพราะที่คุยกันคิดว่าเด็กๆน่าจะเลี้ยวซ้ายไปทางพัทยาบีช แต่ผมคิดว่าน้ำท่วมแน่นอน แต่ตอนนั้นน้ำท่วมหมดแล้ว และคิดแผนต่อถ้าไม่เจอในจุดนี้ จะไปทางซ้าย หรือทางขวา มันคิดเยอะว่าจะเจอหรือ แต่เราเลี้ยวซ้ายไปจากพัทยาบีชและไปเจอตรงเนินนมสาว ดีใจว่าเจอเด็กๆปลอดภัย
ทำไมถึงยอมเสี่ยงนำเด็กออกมา
การเจอง่ายกว่าการนำน้องออกกลับมา เพราะเดิมคิดว่าเด็กๆอาจจะอยู่ได้เป็นเดือนๆ และให้หน่วยซีลดำน้ำไปส่งอาหาร ข้างนอกก็หาวิธีการเจาะโพรงถ้ำด้านบน ไม่ต้องเสี่ยงให้เด็กๆดำน้ำออกมา เพราะคิดว่าสังคมคงไม่เห็นด้วยที่จะใช้วิธีการน้ำเด็กออกมาได้ ต้องคิดกันหลายวิธีการ ที่จะนำเอาทีมหมุป่าออกมา
แต่สุดท้ายก็มีปัจจัยที่บังคับเรา และต้องตัดสินใจแล้ว คือเรื่องฝนตกหนัก และน้ำจะมาเยอะ ที่เราสูบน้ำ เปลี่ยนทางน้ำ และเมื่อธรรมชาติเอาจริง เราคงสู้ไมได้ บวกกับปริมาณออกซิเจนที่เด็กอยู่ไปเหลือแค่ 15เปอร์เซ็นต์ การจะเจาะภูเขาลึก 500 เมตรที่ยังไม่สามารถระบุจุดได้ เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร ทำไม่ได้ง่ายๆ และตัดสินใจกันว่าคงรอต่อไปไม่ได้
มั่นใจมากแค่ไหน
เมื่ออธิบายทำความเข้าใจและเสนอแผนเลือกวิธีการนี้ เราต้องพูดคุยนักดำน้ำ นักดำถ้ำคุยจนเรารู้ว่าชาติไหนขีดความสามารถแบบไหน และพวกอังกฤษยุโรปเป็นดำน้ำในถ้ำ เขามีความสามารถ มีอุปกรณ์ มีประสบการณ์ดำน้ำในถ้ำ และวิธีการนำเด็กออกมาไม่เสี่ยง จากนั้นพูดคุย และเสนอแผนนี้ไปทางผู้ว่าฯ และทั้งหมดรับทราบ เพื่อให้ระดับบนตัดสินใจ แต่ก่อนจะเริ่มปฏิบัติต้องมีการวางขวดอากาศไว้ให้กับทีมดำน้ำ
ผมมั่นใจทีมดำน้ำ และมีความเป็นมืออาชีพ และเขาสามารถทำได้ และจะมั่นใจว่าการประเมินสภาพร่างกายของเด็กๆ กับสภาพน้ำที่เย็น และจิตใจเด็กๆ มีทีมหมอภาคย์ และทีมซีลอีก 3 คนที่อยู่และพูดคุยกับเด็กๆอยู่หลายวัน ผมคิดว่าแทบไม่มีปัญหาอะไร เราใช้ใจทำงาน อุปสรรคที่มีเราฟันฝ่าออกไป จนนำเด็กออกมาได้ ทำให้คนไทยมีความสุข คนทัวโลกมีความสุข
17 วันอะไรที่บีบหัวใจมากที่สุด
ยอมรับว่าภารกิจนี้ไม่ง่าย กำลังพลของเราเสี่ยงภัยมาก หลายคนดำน้ำออกมาแล้วป่วย ไปโรงพยาบาล และเราไม่บอกใครเพราะจะมีผลต่อขวัญและจิตวิทยา พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ สอบถามทุกวัน ถามว่าผมอยู่หน้างานต้องการอะไร นับตั้งแต่วันแรกที่มีการขอให้หน่วยซีลไปช่วยในภารกิจนี้ ประโยคที่บอก "อาภากร คืนนี้รีบไป"
ภาพที่บีบหัวใจมากที่สุด คือภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกนำส่งโรงพยาบาล กำลังพล จ.อ.สมาน กุนัน อดีตหน่วยซีล ที่เสียชีวิตในระหว่างที่นำขวดอากาศไปวางในถ้ำ ซึ่งวันพรุ่งนี้(14 ก.ค.)ทางกองทัพเรือจะเดินทางไปงานศพของจ่าแซม เป็นครั้งสุดท้ายที่ จ.ร้อยเอ็ด
บทเรียนที่จะนำมาปรับมาใช้พัฒนาหน่วยซีล
การที่ได้ทำงานกับทีมดำน้ำ นักดำถ้ำมืออาชีพระดับโลก ก่อนหน้านี้เราคิดว่าเราเก่งแล้ว แต่จริงๆ เรายังไม่เก่ง ถ้าเทียบกับมืออาชีพ การดำน้ำในถ้ำ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยมาก่อน ต่อไปต้องพัฒนาอุปกรณ์ คงไม่ต้องปรับหลักสูตรที่มีอยู่ไม่ต้องปรับ สมบูรณ์อยู่แล้วจากที่ปรากฎให้เห็นในการปฎิบัติงานของหน่วยซีล แต่เพิ่มเติม เช่นการดำน้ำในถ้ำ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย
เพราะที่เราคิดมีเพียงพอแล้ว แต่ยังไม่ใช่หลังจากที่ทำภารกิจนี้ และมีแผนงานแล้วว่าจะอย่างไรต่อไปและภัยพิบัติที่จะมีอีกหลายรูปแบบ เช่น มหาอุทกภัย กองทัพเรือก็ไปช่วย ในอนาคตต้องอาจจะภัยพิบัติ อื่นที่รอข้างหน้า เราต้องเตรียมกำลังพลให้พร้อมในอนาคต ในยามศึกสงคราม คนกลุ่มนี้ป้องกันประเทศ แต่ยามที่เรามีภัยพิบัติ กำลังกลุ่มนี้ต้องไปช่วยเหลือประชาชน
ภารกิจนี้ ไม่ได้สำเร็จเพราะหน่วยซีล แต่เป็นเพราะทุกคน และทุกหน่วยงานที่ร่วมแรงร่วมใจกัน ด้วยความรักและสามัคคี หน่วยอื่นๆ ต้องศึกษาบทบาทหน้าที่ของตัวเอง อย่าให้บทเรียนตรงนี้ผ่านไป คนไทยได้อะไรกับเหตุ การณ์ ส่วนตัวของผม ได้บทเรียนว่าคนไทยก็สามัคคีที่จะสู้ กำลังพลของเรา เหมือนกับหัวหมุ่ทะลวงฟันและต้องทำให้กำลังพลเราพุ่งไปข้างหน้า แม้แต่คนซักผ้าคนสุดท้ายให้กับคนที่ทำงานในถ้ำหลวง พลทหารที่แบกท่อน้ำ แบกสายไฟไปในโถง 3 เป็นพลังสำคัญในภารนี้จนสำเร็จ
กับเด็กทีมหมูป่า
จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้พบกับเด็กๆ และโค้ช ในทีมหมูป่าอะคาเดมี่ จะมีก็แต่ "ซีล" 4 นายที่ได้พบกับทั้ง 13 คนในถ้ำหลวง แต่เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยและกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หน่วยซีล จะเชิญเด็กๆและโค้ช มาผจญภัยที่สัตหีบ จ.ชลบุรี ก่อนจะบอกว่าที่หน่วยซีลมีแหล่งเรียนรู้มากมายไม่น้อยไปกว่าถ้ำ
เด็กกกลุ่มนี้ เป็นเด็กรักการผจยภัย เป็นนักกีฬา และเขาจะเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ จะดีกว่าที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ บทเรียนครั้งนี้ชเขาจะใช้ชีวิตอย่างุค้มค่า และวางแผนการใช้ชีวิตในอนาคตจากบทเรียนติดถ้ำหลวง
อ่านข่าวเพิ่มเติม
ญี่ปุ่นพับนกกระเรียน 1,000 ตัว ให้กำลังใจ "ทีมหมูป่า"