
ภาพไฟดับมืดในขบวนรถ มีเพียงแสงจากจอมือถือ รถหยุดเคลื่อน รอซ่อมอีก 20 นาที
ภาพไฟดับมืดในขบวนรถ มีเพียงแสงจากจอมือถือ รถหยุดเคลื่อน รอซ่อมอีก 20 นาที

เพจเฟซบุ๊ก “วันนี้แอร์พอร์ตลิ้งค์เป็นอะไร” โพสต์ข้อความ “ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นับตั้งแต่เย็นวันศุกร์ ากที่มีรถ 9 ขบวน เหลือใช้ได้ 4 ขบวน ต่อเนื่องมาจนถึงเช้าวันจันทร์ที่ความพังพินาศยังคงไม่น้อยลงไป
หลายปัญหาที่คนใช้แอร์พอร์ตลิงก์ต้องประสบจนมีการตั้งเพจเฟซบุ๊กหลายเพจ อย่างเช่น วันนี้แอร์พอร์ตลิงค์เป็นอะไร หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ที่รัก คอยโพสต์แจ้งรายงานการใช้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ เรียกว่าใครจะใช้บริการต้องตรวจสอบจากเพจถึงขั้นมีการตั้งรหัส รหัสแดง หมายถึงการโดยสารหนาแน่นใครที่คิดจะมาใช้บริการ ควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้ารหัสเขียว แสดงว่ารีบมาใช้ได้
ปรากฎการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าแอร์พอร์ตลิงก์ไม่มีปัญหา ให้บริการมา 7 ปี เต็มแต่ไม่สามารถรองรับและให้บริการประชาชนได้เต็มศักยภาพ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มีอยู่ 9 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ แต่ใช้งานจริงตอนนี้ 4 ขบวน ที่เหลืออยู่ระหว่างซ่อมบำรุง รถไฟฟ้าฯที่ให้บริการได้จริงรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 72,000 คนต่อวัน แต่บางช่วงผู้ใช้บริการสูงสุดถึง 85,000 คนต่อวัน
ผู้โดยสารต้องรอรถนานอย่างน้อย 2-3 ขบวน เฉลี่ยเวลา 10-12 นาที และเกิดความแออัดโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน รอนานกว่าถ้าเทียบกับรถไฟฟ้าแบบอื่นๆ แอร์พอร์ตลิงก์ถูกใช้งานอย่างหนัก ตั้งแต่เวลา 03.30-24.00 น. เกิดความเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด

ใช่ว่าจะไม่อยากซ่อมแต่กระบวนการซ่อมทำยาก ปัญหามาจากการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ที่ไม่อิสระ ทำอะไรต้องให้บอร์ดการรถไฟเคาะกว่าจะตัดสินใจแต่ละครั้ง พออนุมัติได้ต้องรอบริษัทซีเมนต์ของเยอรมันผลิตอะไหล่ทีละอย่าง ต้องรอ 6-8 เดือนเป็นอย่างน้อย ซื้ออะไหล่สำรองได้ไม่มากเสียก็ซ่อม
วิธีการแก้ปัญหา เริ่มแก้เฉพาะปลายทางที่ผู้โดยสารแออัด ใช้รถไฟดีเซลราง รถไฟปู๊น ที่มีรางคู่ขนานอยู่ด้านล่าง เพิ่มเที่ยววิ่งแบ่งผู้โดยสารไปช่วงเร่งด่วน เช้า เย็น วันจันทร์ - ศุกร์ จากสถานีลาดกระบังไปสถานีหัวลำโพง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรล ลิงก์ ถูกออกแบบมาให้เป็นเพียงรถที่เชื่อมต่อและโดยสารจากท่าอากาศสุวรรณภูมิเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับให้เป็นรูปแบบรูปแบบรถไฟฟ้าในเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอด คือ ภาครัฐประเมินผิด
แท็กที่เกี่ยวข้อง: