ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สผ.จ่อปรับ "หนอนเอเลียน" พ้นจากบัญชี 4 หลังเจอตัวรุกรานไทย

สิ่งแวดล้อม
10 พ.ย. 60
10:53
736
Logo Thai PBS
สผ.จ่อปรับ "หนอนเอเลียน" พ้นจากบัญชี 4 หลังเจอตัวรุกรานไทย
ดร.นณณ์ จากกลุ่ม siamensis.org เผยแพร่การจำแนกชนิดหนอนตัวแบนนิวกินีออกจากสัตว์ท้องถิ่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่่อไม่ให้กำจัดผิดตัว ขณะที่สผ.เตรียมปรับบัญชีหนอนเอเลียนจากบัญชี 4 เป็นชนิดที่รุกรานและเจอในไทยแล้ว

กรณีพบ "หนอนตัวแบนนิวกินี" กำเนิดในนิวกินีและออสเตรเลีย และถูกจัดอันดับจากสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ หรือไอยูซีเอ็น เป็น 1 ใน 100 สัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก วันนี้ (10 พ.ย.2560) ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการอิสระกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือกลุ่ม siamensis.org ได้เผยแพร่การจำแนกชนิดหนอนตัวแบนนิวกินีออกจากสัตว์ท้องถิ่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

โดยระบุว่า หลังจากที่ได้รายงานการพบหนอนตัวแบนนิวกินี ในประเทศไทยไป ก็มีภาพหนอนมาจากหลายที่ ด้วยเกรงว่าสัตว์ท้องถิ่นที่มีหน้าตาคล้ายๆ กันจะถูกกำจัดไปด้วย จึงเขียนอันนี้ แยกออกมาต่างหากให้มีภาพเปรียบเทียบ กับสัตว์ท้องถิ่นที่อาจจะสับสนกับเจ้าหนอนตัวแบนนิวกินี

ซึ่งระบุหนอนตัวแบนนิวกินี จากภาพจะเห็นว่ามันมีตัวสีน้ำตาลเข้ม ยาว 5-6 ซม. ลำตัวมันวาว มีลายสีน้ำตาลอ่อนพาดกลางลำตัว ส่วนหัว และท้ายแหลมแต่ส่วนหัวจะแหลมกว่า ในภาพที่ใช้กล้องโทรศัพท์ถ่ายมีแนวโน้มที่จะออกมาเป็นหนอนตัวดำๆที่มองไม่เห็นลายตรงกลางเหมือนกัน ก็คงต้องดูรูปร่างโดยรวมประกอบด้วย

 

 

สผ.ปรับบัญชี "หนอนเอเลียน"จากระดับ 4 

นางอัษฎาพร ไกรพานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม หรือ สผ.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลปัญหาสัตว์และพืชพันธ์ุต่างถิ่นที่รุกราน หรือเอเลียสปีชีส์ในประ เทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาหนอนตัวแบนนิวกินี ถูกจัดอยู่ในบัญชี 4 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ของไทยเท่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีรายงานว่าเจอตัวในไทย แต่หลังจากสัปดาห์นี้เริ่มมีรายงานการเจอหนอนตัวแบนนิวกินีทั้งจากดร.นณณ์ และรายงานจากสื่อแล้ว ทางสผ.จะต้องหารือกับทางกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและควบคุมพืชสัตว์ต่างถิ่นตามมติคณะรัฐมนตรี 28 เม.ย.2552 ในการออกมาตรการป้องกัน ควบคุมชนิดพันธุ์ 

โดยตามขั้นตอนหลังจากนี้ จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลว่ามีปัญหาการระบาดในกี่พื้นที่ จังหวัดไหนบ้าง ระดับการแพร่ระบาด เพื่อยืนยันข้อบ่งชี้ต่อระบบนิเวศ เหมือนกับกรณีการระบาดของปลาหมอสีคางดำ หรือแมงมุมแม่หม้ายดำ และชนิดอื่นๆ จากนั้นจึงจะมีการนำเสนอข้อมูลเข้าคณะทำงานวิชาการความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเตรียมปรับบัญชีเอเลียนสปีชีส์เพิ่มเติม ซึ่งที่ผ่านมาสผ.เพิ่งจัดทำรายงานทบทวนสถานภาพเอเลียนสปีชีส์ในไทยทั้งพืช สัตว์ และชนิดพันธ์ุต่างๆรอบใหม่แล้วเสร็จเมื่อเดือนก.ย.นี้ และกำลังเสนอให้กับพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอเข้าพิจารณาในครม.

พบมีรายงานเบื้องต้น 11 จังหวัดทั่วประเทศ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากกลุ่ม siamensis.org เปิดรายงานการค้นพบ "หนอนตัวแบนนิวกินี" หนอนที่มีถิ่นกำเนิดในนิวกินี และออสเตรเลียและถูกจัดอันดับจากสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ หรือไอยูซีเอ็นเป็น 1 ใน 100 สัตว์รุกรานต่างถิ่นที่น่ากลัวที่สุดของโลก

ซึ่งในช่วง 2 วันหลังจากมีการนำเสนอข่าวทางสื่อมวลชน พบว่ามีการส่งข้อมูลและภาพการเจอตัวหนอนตัวแบนนิวกินี ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศไทยผ่านทางเฟซบุ๊กกลุ่ม siamensis.org จำนวนมาก เช่น จาก อ.สารภี จ.เชียงใหม่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น จ.จันทบุรี  จ.ชัยภูมิ จ.อุบลราชธานี จ.เลย จ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จ.ปทุมธานี จ.ชุมพร แถวกรุงเทพกรีฑา -มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ชาวโซเชียล ตื่นส่งภาพเจอ "หนอนเอเลียน"กระจายทั่วประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง