ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"กทม." มหานครขยะล้น 4.2 ล้านตันต่อวัน

สิ่งแวดล้อม
16 ต.ค. 60
19:22
3,028
Logo Thai PBS
"กทม." มหานครขยะล้น 4.2 ล้านตันต่อวัน
เผยตัวเลขชาวกรุงเทพมหานครผลิตขยะ ติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย 4.2 ล้านตันต่อวัน หลังฝนตกหนักพบขยะติดตามท่อระบายน้ำ จนเกิดปัญหาท่วมขัง

วันนี้(16 ต.ค.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครมีปัญหาน้ำท่วมขังหลายจุด จากฝนที่ตกหนักเกินกว่า 203 มิลลิเมตร ซึ่งนอกจากน้ำท่วมจะทำให้รถติดอีกปัญหาที่ปรากฎคือ ขยะ

ถ้าดูภาพจากหลายๆที่ ที่พยายามจะระบายน้ำ ก็พบว่า ขยะไปอุดตันตามท่อระบายน้ำและเครื่องสูบน้ำ
ก่อนหน้านี้ไทยพีบีเอส เคยเผยแพร่ภาพโซฟา เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ตกค้างอยู่บริเวณประตูระบายน้ำ และทำให้ระบายน้ำได้ช้า

แต่นี่ใช่ปัญหาการจัดเก็บเพียงอย่างเดียวหรือไม่ เพราะถ้าดูในปริมาณการผลิตขยะต่อวัน กรุงเทพ มหานครมีขยะถูกทิ้งต่อวันถึง 4.2 ล้านตัน ติด 1 ใน 5 จังหวัดที่มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นต่อวันมากที่สุด ปีที่แล้วทั่วประเทศมีขยะ กว่า 27 ล้านตัน เป็นขยะอินทรีย์ที่เกิดจากอุตสาหกรรมอาหารและการกินเหลือทิ้งมากที่สุด นั่นหมายถึง เรายังพอมีวิธีลดจำนวนขยะได้

ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ขยะมูลฝอยในประเทศไทย ปี 2559 เป็นขยะมูลฝอยชุมชน 27.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558  จำนวน 190,000 ตัน โดยพบว่าเป็นขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานคร 4.2 ล้านตัน และ76 จังหวัด อีก 22.84 ล้านตัน

โดยกรุงเทพมหานครเป็น 1 ใน 5 จังหวัด ที่มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นต่อวันมากที่สุด รองลงมาคือ ชลบุรี นครราชสีมาสมุทรปราการ ขอนแก่น ปัจจุบันคนไทยสร้างขยะเฉลี่ย 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน หรือคิดเป็น 74,130 ตันต่อวัน

ในจำนวนนี้ เป็นขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่เพียงร้อยละ 22 ตัวเลขที่น่าสนใจคือ เกินครึ่งของขยะมูลฝอย เป็นขยะอินทรีย์ร้อยละ 64 ในจำนวนนี้ เกิดจากอุตสาหกรรมอาหารร้อยละ 53 และยังมีขยะอาหารที่เหลืออีก ร้อยละ 46.7 ซึ่งยังไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ ที่ผ่านมาการกำจัดขยะ มักไม่ถูกต้องการนำกลับมาใช้ใหม่จึงต่ำกว่าเป้าหมาย ทำให้มีขยะสะสมมากถึง 30.49 ล้านตัน แต่จัดการได้เพียง 20.53 ล้านตัน

จนนำมาสู่การจัดทำแผนแม่บทการบริการจัดการขยะ ระยะ 5 ปี กำหนดกรอบ แนวทางการดำเนินการอย่างชัดเจน ควบคู่กับการสร้างวินัยให้คนในชาติ เพื่อให้มีส่วนร่วมจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ภายใต้หลัก 3 R ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง