วันนี้ (15 ธ.ค.2559) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สอบถามความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วมกับชาวบ้านในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งเดินทางมารอพบที่วัดวารีปาโมกข์ ต.ตะเครียะ อ.ระโนด โดยชาวบ้านเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งแก้ปัญหาเรื่องน้ำในคาบสมุทรสทิงพระทั้งระบบ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาน้ำเค็มซึ่งรุกล้ำพื้นที่น้ำจืดในทะเลสาบสงขลาจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรเป็นวงกว้าง
วันนี้ (15 ธ.ค.2559) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สอบถามความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วมกับชาวบ้านในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งเดินทางมารอพบที่วัดวารีปาโมกข์ ต.ตะเครียะ อ.ระโนด โดยชาวบ้าน เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งแก้ปัญหาเรื่องน้ำในคาบสมุทรสทิงพระทั้งระบบ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาน้ำเค็มซึ่งรุกล้ำพื้นที่น้ำจืดในทะเลสาบสงขลาจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรเป็นวงกว้าง
พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า มีความเป็นห่วงประชนในพื้นที่ประสบภัยเป็นอย่างมาก จึงได้เดินทางมาดูความเป็นอยู่ และขอให้ประชาชนปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลก ที่จะก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำมากขึ้นในอนาคต
โดยทางจังหวัดสงขลาได้เสนอแผนแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบในคาบสมุทรสทิงพระ ทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเค็มรุกพื้นที่น้ำจืด ด้วยงบประมานกว่า 2,800 ล้านบาทต่อนายกรัฐมนตรี โดยเน้นการจัดสร้างประตูระบายน้ำเพื่อควบคุมการไหลเวียนของน้ำจืดและน้ำเค็มรอบพื้นที่ทะเลสาบสงขลา เพื่อลดผลกระทบต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของประชาชนรอบทะเลสาบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีชาวบ้านจำนวนมากมารอรับนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัย นายกรัฐมนตรีลงเรือไปตรวจบ้านเรือนและชาวบ้านทางบกและทางน้ำ โดยชาวบ้านรู้สึกดีใจที่ชาวบ้านมาเยี่ยมเพราะพื้นที่ห่างไกล การช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึง
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ พบว่าบางส่วนเริ่มคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น โดยล่าสุด ระดับน้ำในแม่น้ำตาปีที่ไหลผ่าน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เริ่มลดต่ำกว่าจุดวิกฤติเล็กน้อยแล้ว 18 เซนติเมตร แต่น้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานานที่หมู่ 7 ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน เริ่มเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นชาวบ้านหลายคนเริ่มป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำ
นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี กำชับเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในทุกพื้นที่ที่น้ำท่วมขังให้สำรวจสภาพน้ำและแจกจ่ายยาสามัญช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ส่วนชาวตำบลควรปริง อ.เมืองตรัง หลายครอบครัวยังคงต้องอาศัยเต้นท์พักชั่วคราว ริมถนนบริเวณสี่แยกควนปริง จากผลกระทบน้ำท่วมบ้านเรือน เช่นเดียวกับที่ตำบล นาท่ามใต้ หนองตรุด นาตาล่วง และบางรัก ซึ่งติดแม่น้ำตรัง ยังมีน้ำท่วมสูง เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 ภูเก็ต ต้องใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เร่งสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่