(13 มี.ค.) นายอดิศักดิ์ จันทรวิชานุวงษ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือตอนล่าง กล่าวถึง แผนการขุดลอกบึงบอระเพ็ด เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำให้ได้อีก 2 ล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการต้นเดือน เม.ย.นี้ ว่าการเลือกพื้นที่จำเป็นต้องศึกษาในการผลกระทบอย่างรอบด้าน เนื่องจากสัตว์บางชนิดมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
นายณพล อนุตตรังกุร นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงในปี 2559 รุนแรงทำให้ระบบนิเวศที่เหลืออยู่ กลายเป็นตัวเลือกบังคับให้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ บึงบอระเพ็ด เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ มีพื้นที่กว่า 130,000 ไร่ โดยหลังอุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อปี 2554 รัฐบาลในขณะนั้น ได้ดำเนินโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตามแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยจะใช้บึงบอระเพ็ดเป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำจากแม่น้ำ ปิง ยม น่าน และ เจ้าพระยา แต่หลายปีที่ผ่านมา บึงบอระเพ็ด ยังคงประสบกับปัญหาน้ำน้อยมาโดยตลอด