ตำรวจ 191 ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่ ภาคกลางและกรุงเทพมหานครยึดของกลางเป็นไอซ์ 332 กิโลกรัม เร่งขยายผลผู้ร่วมขบวนการที่หลบหนีอีก 3 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ขยายผลจับบุหรี่ไฟฟ้าและพอร์ตเครวมกว่า 7,000 ชิ้น ขายนักเที่ยวย่านทองหล่อ-สุขุมวิท
โฆษก ศธ. ออกโรงเคลียร์ปมเข้าใจผิด หลังออกมาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา ย้ำครูไม่ต้องรับภาระเพิ่ม แค่ป้องปรามตามหน้าที่ ส่วนการจับกุมเป็นของหน่วยงานอื่น หากครูหรือบุคลากรปล่อยปละละเลยหรือสนับสนุนจะเจอวินัย เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัย
ข้อมูลภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อาการจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน จะชัดเจนในช่วงอายุน้อย เพราะอวัยวะต่าง ๆ กำลังเติบโต ซึ่งนอกจากจะมีปัญหากับปอดแล้ว สิ่งที่น่ากังวลคือ สมองจะสูญเสียการพัฒนา ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว สมาธิสั้น การเรียนแย่ลง และความจำไม่ดี มีงานวิจัยจากประเทศบราซิล เปรียบเทียบปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าแบบสูบแล้วทิ้ง กับ บุหรี่มวน พบว่า ปี 2565 บุหรี่ไฟฟ้าแบบสูบแล้วทิ้ง 1 แท่ง มีสารนิโคตินเทียบเท่ากับบุหรี่ 20 มวน , ปี 2566 บุหรี่ไฟฟ้า 1 แท่ง มีสารนิโคตินเท่ากับบุหรี่ 400 มวน และ ปี 2567 บุหรี่ไฟฟ้า 1 แท่ง มีปริมาณสารนิโคติน เท่ากับบุหรี่ 1,000 มวน .
วันนี้ (31 พ.ค. 67) วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2567 WHO ได้ออกมาเผยข้อมูลว่า มีเด็กอายุ 13-15 ปี ทั่วโลก ติดบุหรี่กว่า 37 ล้านคน ในทางสุขภาพบุหรี่ไฟฟ้าที่ระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ ทำให้คนเสี่ยงสูญเสียฟันมากกว่าคนไม่สูบถึง 2 เท่า และยังเสี่ยงป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด 2-4 เท่า
ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองจำนวนกว่าร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากบุหรี่ ทั้งจากการที่ตัวผู้ป่วยเป็นผู้สูบเองหรือคนใกล้ตัวสูบ โดยจะมีอาการคือ หายใจเข้าและออกไม่เต็มที่ ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย หอบ ไอ มีเสมหะตลอดเวลา ระยะของโรคจะเริ่มแสดงอาการตอนที่เรามีอายุมากขึ้นเพราะเกิดจากการสะสมเรื่อย ๆ โดยมีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นตัวกระตุ้น วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันด้วยการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่เพื่อยืดอายุสุขภาพของปอด ติดตามความรู้จาก อ. พญ.สิรภัทร ตุลาธรรมกิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ติดตามความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีผลโดยตรงต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่าการสูบบุหรี่แบบมวนธรรมดา และทางการแพทย์ยังไม่แนะนำให้หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นแนวทางในการเลิกสูบบุหรี่มวน เนื่องจากในบุหรี่ไฟฟ้ายังคงมีสารนิโคติน ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสารเสพติด ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
ทุก ๆ ปี "บุหรี่" และ "ยาสูบ" คร่าชีวิตคนทั่วโลกราว ๆ 8 ล้านคน เฉพาะคนไทยก็ตายเพราะบุหรี่ปีละกว่า 80,000 ราย แต่ความร้ายกาจของบุหรี่ไม่ได้เป็นแค่ภัยต่อสุขภาพ หรือภัยต่อเงินในกระเป๋า แต่ยังลามไปถึงการเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตั้งแต่การปลูก, บำรุงรักษา, เก็บเกี่ยว, ขนส่ง, จุดสูบ และขยะจากก้นบุหรี่
"บุหรี่ไฟฟ้า" กลายเป็นข้อถกเถียงระหว่างตัวผู้ใช้กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ที่ต่างฝ่ายต่างหยิบยกงานวิจัยของต่างประเทศมาสนับสนุน แต่จุดร่วมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นเหมือนกันคือบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายแน่นอน ติดตามชมในรายการเปิดปม วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 เวลา 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บุหรี่สามารถเผาปอดและทำร้ายหัวใจทั้งคนที่สูบและคนที่ต้องสูดดมกลิ่นควันบุหรี่ แล้วการเลือกสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ชนิดอื่นหรือไม่ และควันจากบุหรี่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ติดตามชมประเด็นรู้เท่ารู้ทัน ในช่วง "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคมนี้ ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
31 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก Talk to Films สัปดาห์นี้ขอนำเสนอภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่อง 60 Smokers ผลงานโดยทีม Fongnom Films ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้หมู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้เท่าทันถึงพิษภัย และอันตรายของบุหรี่ ติดตามชมในรายการ Talk to Films หนังเล่าเรื่อง วันพฤหัสบดีที่ 25 พ.ค. 2560 เวลา 13.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
00:00
00:00