รัสเซียยืนยันเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมียนมา แม้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง
บริษัท Rosatom ของรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานนิวเคลียร์ ประกาศเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กในเมียนมาตามแผนเดิม แม้ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตจากแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.7 เมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนกว่า 3,700 คน และทำลายโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย และ พล.อ.อาวุโส มิน ออง ไลง์ ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา โดยจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบ Small Modular Reactor (SMR) กำลังผลิตรวม 110 เมกะวัตต์ โดยใช้เตาปฏิกรณ์ RITM-200N ซึ่งเดิมออกแบบมาสำหรับเรือตัดน้ำแข็งของรัสเซีย
Rosatom ยืนยันผ่านอีเมลถึงสำนักข่าว Reuters ว่า “แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแผนการของเราในเมียนมา เราปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและความทนทานต่อแผ่นดินไหวในระดับสากลอย่างเคร่งครัด”
รายงานจากแหล่งข่าวด้านความมั่นคงในไทย ระบุว่า หนึ่งในสถานที่ที่เป็นไปได้อาจตั้งอยู่ในกรุงเนปิดอว์ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่นที่ถูกพิจารณา เช่น ภูมิภาคพะโคตอนกลาง และเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งมีแผนร่วมกับรัสเซียในการสร้างท่าเรือและโรงกลั่นน้ำมัน โครงการนิวเคลียร์ดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เมียนมากำลังเผชิญสงครามกลางเมืองที่ขยายตัวหลังการรัฐประหารในปี 2021 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของออง ซาน ซูจี โดยรัฐบาลทหารได้สูญเสียอำนาจในหลายพื้นที่ และพึ่งพาความช่วยเหลือจากพันธมิตรอย่างรัสเซียมากขึ้น
แม้จะไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน แต่ Rosatom ระบุว่า เมียนมากำลังพิจารณาแหล่งเงินทุนทั้งจากภายในประเทศและการกู้ยืม โดยในประเทศอื่น เช่น บังกลาเทศและอียิปต์ รัสเซียเคยให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนโครงการนิวเคลียร์ ด้าน ริชาร์ด ฮอร์ซีย์ ที่ปรึกษาอาวุโส International Crisis Group ประจำเมียนมาเห็นว่า โครงการนี้ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การเงินของเมียนมาในปัจจุบัน “พลังงานนิวเคลียร์มีต้นทุนสูงมาก และเมียนมาก็ไม่มีกำลังจ่าย”บริษัท Rosatom ของรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานนิวเคลียร์ ประกาศเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กในเมียนมาตามแผนเดิม แม้ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตจากแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.7 เมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนกว่า 3,700 คน และทำลายโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย และ พล.อ.อาวุโส มิน ออง ไลง์ ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา โดยจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบ Small Modular Reactor (SMR) กำลังผลิตรวม 110 เมกะวัตต์ โดยใช้เตาปฏิกรณ์ RITM-200N ซึ่งเดิมออกแบบมาสำหรับเรือตัดน้ำแข็งของรัสเซีย
Rosatom ยืนยันผ่านอีเมลถึงสำนักข่าว Reuters ว่า “แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแผนการของเราในเมียนมา เราปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและความทนทานต่อแผ่นดินไหวในระดับสากลอย่างเคร่งครัด”
รายงานจากแหล่งข่าวด้านความมั่นคงในไทย ระบุว่า หนึ่งในสถานที่ที่เป็นไปได้อาจตั้งอยู่ในกรุงเนปิดอว์ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่นที่ถูกพิจารณา เช่น ภูมิภาคพะโคตอนกลาง และเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งมีแผนร่วมกับรัสเซียในการสร้างท่าเรือและโรงกลั่นน้ำมัน โครงการนิวเคลียร์ดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่เมียนมากำลังเผชิญสงครามกลางเมืองที่ขยายตัวหลังการรัฐประหารในปี 2021 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของออง ซาน ซูจี โดยรัฐบาลทหารได้สูญเสียอำนาจในหลายพื้นที่ และพึ่งพาความช่วยเหลือจากพันธมิตรอย่างรัสเซียมากขึ้น
แม้จะไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน แต่ Rosatom ระบุว่า เมียนมากำลังพิจารณาแหล่งเงินทุนทั้งจากภายในประเทศและการกู้ยืม โดยในประเทศอื่น เช่น บังกลาเทศและอียิปต์ รัสเซียเคยให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนโครงการนิวเคลียร์ ด้าน ริชาร์ด ฮอร์ซีย์ ที่ปรึกษาอาวุโส International Crisis Group ประจำเมียนมาเห็นว่า โครงการนี้ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์การเงินของเมียนมาในปัจจุบัน “พลังงานนิวเคลียร์มีต้นทุนสูงมาก และเมียนมาก็ไม่มีกำลังจ่าย”
แท็กที่เกี่ยวข้อง: