การประชุม BIMSTEC ที่มีจุดมุ่งหมายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ติดกับอ่าวเบงกอลในรอบนี้ เป็นรอบที่6 ที่ไทยเป็นผู้จัด ความน่าสนใจของการประชุมรอบนี้ คือ 1 ในประเทศสมาชิกคือเมียนมามีผู้นำทหารเมียนมา “มิน อ่อง ไลง์” เข้าร่วมประชุมด้วย
รศ.ปิติ ศรีแสงนาม ผอ.บริหารมูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มองว่า ไทยและอินเดีย เป็น 2 ประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดใน BIMSTEC ดังนั้น ไทยควรใช้เวทีนี้ในการต้อนรับผู้นำเมียนมา เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ โดยการเสนอผลประโยชน์แก่ประชาชนเมียนมาทุกกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การจัดการเลือกตั้งที่เป็นเสรีและเป็นธรรม รวมถึงการอนุญาตให้ความช่วยเหลือจากภายนอกเข้าถึงพื้นที่โดยไม่มีการแทรกแซงและเปิดให้มีการตรวจสอบ
แต่หากประเทศไทยไม่กระตุ้นเตือนหรือกดดันให้เมียนมาปฏิบัติตามสิ่งที่ประชาคมโลกคาดหวัง เช่น การจัดการเลือกตั้งตามสัญญา อาจทำให้ประเทศไทยถูกกดดันจากประชาคมโลกเอง และเป็นการเสียโอกาสในการแสดงภาวะผู้นำ
การประชุม BIMSTEC ที่มีจุดมุ่งหมายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ติดกับอ่าวเบงกอลในรอบนี้ เป็นรอบที่6 ที่ไทยเป็นผู้จัด ความน่าสนใจของการประชุมรอบนี้ คือ 1 ในประเทศสมาชิกคือเมียนมามีผู้นำทหารเมียนมา “มิน อ่อง ไลง์” เข้าร่วมประชุมด้วย
รศ.ปิติ ศรีแสงนาม ผอ.บริหารมูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มองว่า ไทยและอินเดีย เป็น 2 ประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดใน BIMSTEC ดังนั้น ไทยควรใช้เวทีนี้ในการต้อนรับผู้นำเมียนมา เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ โดยการเสนอผลประโยชน์แก่ประชาชนเมียนมาทุกกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การจัดการเลือกตั้งที่เป็นเสรีและเป็นธรรม รวมถึงการอนุญาตให้ความช่วยเหลือจากภายนอกเข้าถึงพื้นที่โดยไม่มีการแทรกแซงและเปิดให้มีการตรวจสอบ
แต่หากประเทศไทยไม่กระตุ้นเตือนหรือกดดันให้เมียนมาปฏิบัติตามสิ่งที่ประชาคมโลกคาดหวัง เช่น การจัดการเลือกตั้งตามสัญญา อาจทำให้ประเทศไทยถูกกดดันจากประชาคมโลกเอง และเป็นการเสียโอกาสในการแสดงภาวะผู้นำ