ก๊าซไข่เน่า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นก๊าซชนิดหนึ่งที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า สามารถติดไฟและระเบิดได้ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกรดซัลฟิวริก และใช้ในกระบวนการปิโตรเคมีต่าง ๆ โดยก๊าซชนิดนี้มักเกิดจากการที่แบคทีเรียไปย่อยสลายสารอินทรีย์โดยที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น ย่อยสลายขยะจากเศษอาหารหรือสิ่งมีชีวิตที่มีโปรตีนสูงกลายเป็นก๊าซมีพิษที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง
ล่าสุดมีกรณีคนงานเสียชีวิต 5 คน ในบ่อน้ำทิ้งของโรงงานผลิตปลาร้าที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยเจ้าของโรงงานสั่งให้คนงานลงไปล้างบ่อ และคาดว่าคนงานคนแรกที่ลงไป ได้หมดสติทำให้คนงานที่เหลือลงไปช่วยและหมดสติ ก่อนจะเสียชีวิตทั้งหมดและผลจากการใช้เครื่องตรวจวัดค่าที่ก้นบ่อ พบสารเคมีสองชนิดคือ ก๊าซไข่เน่า และก๊าซแอมโมเนีย สูงกว่ามาตรฐาน 5 เท่า ซึ่งผลตรวจพิสูจน์ด้วยเครื่องตรวจวัด ได้ผลตรงกับการชันสูตรของแพทย์ตรงกันว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 5 รายเสียชีวิตด้วยการสูดดมก๊าซไข่เน่า
หลายคนคงสงสัยว่าทำไมก๊าซไข่เน่าถึงทำให้คนเสียชีวิตได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว จะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซหรือไม่ หากไม่เสียชีวิตจะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไร ร่วมพูดคุยกับ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/RuTanKanDai
ก๊าซไข่เน่า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นก๊าซชนิดหนึ่งที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า สามารถติดไฟและระเบิดได้ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกรดซัลฟิวริก และใช้ในกระบวนการปิโตรเคมีต่าง ๆ โดยก๊าซชนิดนี้มักเกิดจากการที่แบคทีเรียไปย่อยสลายสารอินทรีย์โดยที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น ย่อยสลายขยะจากเศษอาหารหรือสิ่งมีชีวิตที่มีโปรตีนสูงกลายเป็นก๊าซมีพิษที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง
ล่าสุดมีกรณีคนงานเสียชีวิต 5 คน ในบ่อน้ำทิ้งของโรงงานผลิตปลาร้าที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยเจ้าของโรงงานสั่งให้คนงานลงไปล้างบ่อ และคาดว่าคนงานคนแรกที่ลงไป ได้หมดสติทำให้คนงานที่เหลือลงไปช่วยและหมดสติ ก่อนจะเสียชีวิตทั้งหมดและผลจากการใช้เครื่องตรวจวัดค่าที่ก้นบ่อ พบสารเคมีสองชนิดคือ ก๊าซไข่เน่า และก๊าซแอมโมเนีย สูงกว่ามาตรฐาน 5 เท่า ซึ่งผลตรวจพิสูจน์ด้วยเครื่องตรวจวัด ได้ผลตรงกับการชันสูตรของแพทย์ตรงกันว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 5 รายเสียชีวิตด้วยการสูดดมก๊าซไข่เน่า
หลายคนคงสงสัยว่าทำไมก๊าซไข่เน่าถึงทำให้คนเสียชีวิตได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว จะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซหรือไม่ หากไม่เสียชีวิตจะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไร ร่วมพูดคุยกับ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/RuTanKanDai