ปัจจุบันปัญหาขยะทางการเกษตรและมลพิษจากอุตสาหกรรมหนังสัตว์เป็นสิ่งที่กำลังท้าทายโลกใบนี้ ในประเทศไทย ปี 2566 มีขยะมูลฝอยรวมกว่า 26.95 ล้านตัน โดยขยะทางการเกษตร เช่น ใบสับปะรด มักถูกทิ้งหรือเผา สร้างมลพิษอากาศ
ขณะที่อุตสาหกรรมหนังสัตว์ก็มีการปล่อยน้ำเสียในปริมาณสูง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และสุขภาพของประชาชน
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างนวัตกรรมหนังเทียมจากเส้นใยใบสับปะรด หรือ (PALF) ที่เปลี่ยนใบสับปะรดเหลือทิ้ง ให้กลายเป็นวัสดุหนังเทียมที่ยั่งยืน ซึ่งมีความคงทน แข็งแรงกว่าหนังเทียมทั่วไป อีกทั้ง ช่วยลดมลพิษและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนอนาคตให้ยั่งยืนไปด้วยกัน
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/ThaiInvention
ปัจจุบันปัญหาขยะทางการเกษตรและมลพิษจากอุตสาหกรรมหนังสัตว์เป็นสิ่งที่กำลังท้าทายโลกใบนี้ ในประเทศไทย ปี 2566 มีขยะมูลฝอยรวมกว่า 26.95 ล้านตัน โดยขยะทางการเกษตร เช่น ใบสับปะรด มักถูกทิ้งหรือเผา สร้างมลพิษอากาศ
ขณะที่อุตสาหกรรมหนังสัตว์ก็มีการปล่อยน้ำเสียในปริมาณสูง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และสุขภาพของประชาชน
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างนวัตกรรมหนังเทียมจากเส้นใยใบสับปะรด หรือ (PALF) ที่เปลี่ยนใบสับปะรดเหลือทิ้ง ให้กลายเป็นวัสดุหนังเทียมที่ยั่งยืน ซึ่งมีความคงทน แข็งแรงกว่าหนังเทียมทั่วไป อีกทั้ง ช่วยลดมลพิษและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนอนาคตให้ยั่งยืนไปด้วยกัน
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/ThaiInvention