ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปลาถือเป็นสาขาหนึ่งของการทำเกษตรกรรมไทยที่มีความสำคัญมายาวนาน แต่การเลี้ยงปลายังคงเผชิญความเสี่ยง และประสบปัญหาจากการระบาดของเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ซึ่งเป็นโรคที่พบมากที่สุดในการเลี้ยงปลา มักพบการระบาดในปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล มีอัตราการตายสูงถึง 50 - 100% ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนั้นการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อและรักษาปลาที่ติดเชื้อได้ทันเวลา จากปัญหาดังกล่าว ทางทีมวิจัยศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คิดค้นนวัตกรรมชุดตรวจเชื้อ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ที่จะช่วยป้องกันและสามารถตรวจพบเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/ThaiInvention
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปลาถือเป็นสาขาหนึ่งของการทำเกษตรกรรมไทยที่มีความสำคัญมายาวนาน แต่การเลี้ยงปลายังคงเผชิญความเสี่ยง และประสบปัญหาจากการระบาดของเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ซึ่งเป็นโรคที่พบมากที่สุดในการเลี้ยงปลา มักพบการระบาดในปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล มีอัตราการตายสูงถึง 50 - 100% ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนั้นการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อและรักษาปลาที่ติดเชื้อได้ทันเวลา จากปัญหาดังกล่าว ทางทีมวิจัยศูนย์นวัตกรรมวัคซีนและชีวภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คิดค้นนวัตกรรมชุดตรวจเชื้อ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ที่จะช่วยป้องกันและสามารถตรวจพบเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/ThaiInvention