ทฤษฎีเกี่ยวกับการอดอาหารเพื่อชะลอวัยมีการพูดถึงในหนังสือและสื่อต่างๆ ทั้งจากญี่ปุ่นและตะวันตก โดยอ้างว่าการอดอาหารจะช่วยให้ดูเด็กลง แต่ความจริงอาจไม่ได้ง่ายแบบนั้น คุณหมอกฤษฎาอธิบายว่า ร่างกายของเรานั้นเมื่อหิวจะมีความตื่นตัว (Alert) มากขึ้น ลองสังเกตว่าเมื่อเรากินอาหารมื้อกลางวันจนอิ่ม เราจะรู้สึกง่วงและไม่กระปรี้กระเปร่าในช่วงบ่าย
กลไกนี้สามารถเทียบเคียงกับสมัยมนุษย์ยุคหิน ที่การอดมื้อกินมื้อเป็นเรื่องปกติ และร่างกายมีความแข็งแรง เพราะร่างกายจะมีการปรับตัวเมื่อไม่ได้รับอาหารอย่างสม่ำเสมอ
มีการกล่าวถึง "โหมดเอาชีวิตรอด" หรือ "Survival Mode" ที่ร่างกายจะถูกกระตุ้นเมื่อหิวมาก ๆ แต่คุณหมอกฤษฎาชี้แจงว่า การจะเปิดโหมดนี้ต้องหิวอย่างหนัก เทียบได้กับการตกเครื่องบินบนยอดเขาสูงจนต้องอดอาหารยาวนาน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราควรทำในชีวิตประจำวัน
การชะลอวัยจากการอดอาหารสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นสำคัญ
1. อดในระดับที่พอดี : อาจช่วยยืดอายุได้จริง
2. อดมากเกินไป : แทนที่จะกระตุ้นโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หรือฮอร์โมนเด็ก กลับกลายเป็นกระตุ้นฮอร์โมนเครียด (Cortisol) หรือฮอร์โมนแก่แทน ซึ่งทำให้เกิดผลตรงกันข้าม และอาจนำไปสู่อาการ "โมโหหิว"
คุณหมอกฤษดาแนะนำวิธีทำ IF ที่ดีคือ "อดมื้อเย็น" เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานมาก และการกินอาหารตอนค่ำจะทำให้แก่เร็วขึ้น
งานวิจัยพบว่าการอดอาหารในแมลงวันผลไม้ (Drosophila melanogaster) ทำให้แมลงอายุยืนขึ้นถึง 10 เท่า อย่างไรก็ตาม ในมนุษย์ผลอาจไม่ชัดเจนเท่า แม้ว่าแมลงวันผลไม้จะมีลักษณะบางอย่างคล้ายมนุษย์ถึง 75%
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Michigan โดย Dr. Fever ระบุว่า หัวใจของการชะลอวัยไม่ได้อยู่ที่การอดอาหาร แต่อยู่ที่การทำให้รู้สึกหิว คือร่างกายต้องรู้สึกว่าขาดอาหาร ไม่จำเป็นต้องอดเสมอไป
กลไกสำคัญคือการลดระดับกรดอะมิโน BCAA (Branched-Chain Amino Acids) โดยเฉพาะไอโซลิวซีน เมื่อระดับ BCAA ต่ำ จะทำให้รู้สึกหิวและกระตุ้นโหมดอายุยืน แม้ว่าเราจะกินอาหารอิ่มแล้วก็ตาม
BCAA พบมากในอาหารประเภทไข่ต้ม เนื้ออกไก่ ซึ่งนักเล่นกล้ามนิยมกินเพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าเป้าหมายคือการชะลอวัย ควรลดการบริโภค BCAA ลง
1. "ทำแบบพระ" : งดมื้อเย็น ซึ่งเป็นหลักการของ IF
2. "อิ่มก่อนอิ่ม" : สังเกตความรู้สึกอิ่ม และหยุดกินก่อนรู้สึกอิ่มประมาณ 3 คำ
3. ลดอาหารที่มี BCAA สูง : เช่น ไข่ต้ม หรืออกไก่
คุณหมอกฤษดาฝากข้อความสำคัญว่า คนส่วนใหญ่มักตามใจตัวเองในเรื่องการกิน แม้จะคิดว่ากินพอดีแล้ว แต่ความจริงมักกินเกินพอดีเสมอ
"หิวนิด ๆ จะพิชิตแก่ได้"
แต่ขณะเดียวกัน ไม่ควรปล่อยให้หิวมากเกินไปจนเกิดอาการโมโหหิว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อนได้ สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักฟังเสียงร่างกายและทำทุกอย่างแต่พอดี
การปล่อยให้ร่างกายหิวในระดับที่เหมาะสมอาจช่วยชะลอวัยได้จริง โดยเฉพาะการงดมื้อเย็น แต่การอดอาหารมากเกินไปจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ทางที่ดีที่สุดคือการรักษาความหิวในระดับเล็กน้อย และรับประทานอาหารอย่างพอดี ไม่มากเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีและการชะลอวัยที่ยั่งยืน
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/RuTanKanDai
ทฤษฎีเกี่ยวกับการอดอาหารเพื่อชะลอวัยมีการพูดถึงในหนังสือและสื่อต่างๆ ทั้งจากญี่ปุ่นและตะวันตก โดยอ้างว่าการอดอาหารจะช่วยให้ดูเด็กลง แต่ความจริงอาจไม่ได้ง่ายแบบนั้น คุณหมอกฤษฎาอธิบายว่า ร่างกายของเรานั้นเมื่อหิวจะมีความตื่นตัว (Alert) มากขึ้น ลองสังเกตว่าเมื่อเรากินอาหารมื้อกลางวันจนอิ่ม เราจะรู้สึกง่วงและไม่กระปรี้กระเปร่าในช่วงบ่าย
กลไกนี้สามารถเทียบเคียงกับสมัยมนุษย์ยุคหิน ที่การอดมื้อกินมื้อเป็นเรื่องปกติ และร่างกายมีความแข็งแรง เพราะร่างกายจะมีการปรับตัวเมื่อไม่ได้รับอาหารอย่างสม่ำเสมอ
มีการกล่าวถึง "โหมดเอาชีวิตรอด" หรือ "Survival Mode" ที่ร่างกายจะถูกกระตุ้นเมื่อหิวมาก ๆ แต่คุณหมอกฤษฎาชี้แจงว่า การจะเปิดโหมดนี้ต้องหิวอย่างหนัก เทียบได้กับการตกเครื่องบินบนยอดเขาสูงจนต้องอดอาหารยาวนาน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราควรทำในชีวิตประจำวัน
การชะลอวัยจากการอดอาหารสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นสำคัญ
1. อดในระดับที่พอดี : อาจช่วยยืดอายุได้จริง
2. อดมากเกินไป : แทนที่จะกระตุ้นโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หรือฮอร์โมนเด็ก กลับกลายเป็นกระตุ้นฮอร์โมนเครียด (Cortisol) หรือฮอร์โมนแก่แทน ซึ่งทำให้เกิดผลตรงกันข้าม และอาจนำไปสู่อาการ "โมโหหิว"
คุณหมอกฤษดาแนะนำวิธีทำ IF ที่ดีคือ "อดมื้อเย็น" เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานมาก และการกินอาหารตอนค่ำจะทำให้แก่เร็วขึ้น
งานวิจัยพบว่าการอดอาหารในแมลงวันผลไม้ (Drosophila melanogaster) ทำให้แมลงอายุยืนขึ้นถึง 10 เท่า อย่างไรก็ตาม ในมนุษย์ผลอาจไม่ชัดเจนเท่า แม้ว่าแมลงวันผลไม้จะมีลักษณะบางอย่างคล้ายมนุษย์ถึง 75%
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Michigan โดย Dr. Fever ระบุว่า หัวใจของการชะลอวัยไม่ได้อยู่ที่การอดอาหาร แต่อยู่ที่การทำให้รู้สึกหิว คือร่างกายต้องรู้สึกว่าขาดอาหาร ไม่จำเป็นต้องอดเสมอไป
กลไกสำคัญคือการลดระดับกรดอะมิโน BCAA (Branched-Chain Amino Acids) โดยเฉพาะไอโซลิวซีน เมื่อระดับ BCAA ต่ำ จะทำให้รู้สึกหิวและกระตุ้นโหมดอายุยืน แม้ว่าเราจะกินอาหารอิ่มแล้วก็ตาม
BCAA พบมากในอาหารประเภทไข่ต้ม เนื้ออกไก่ ซึ่งนักเล่นกล้ามนิยมกินเพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าเป้าหมายคือการชะลอวัย ควรลดการบริโภค BCAA ลง
1. "ทำแบบพระ" : งดมื้อเย็น ซึ่งเป็นหลักการของ IF
2. "อิ่มก่อนอิ่ม" : สังเกตความรู้สึกอิ่ม และหยุดกินก่อนรู้สึกอิ่มประมาณ 3 คำ
3. ลดอาหารที่มี BCAA สูง : เช่น ไข่ต้ม หรืออกไก่
คุณหมอกฤษดาฝากข้อความสำคัญว่า คนส่วนใหญ่มักตามใจตัวเองในเรื่องการกิน แม้จะคิดว่ากินพอดีแล้ว แต่ความจริงมักกินเกินพอดีเสมอ
"หิวนิด ๆ จะพิชิตแก่ได้"
แต่ขณะเดียวกัน ไม่ควรปล่อยให้หิวมากเกินไปจนเกิดอาการโมโหหิว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อนได้ สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักฟังเสียงร่างกายและทำทุกอย่างแต่พอดี
การปล่อยให้ร่างกายหิวในระดับที่เหมาะสมอาจช่วยชะลอวัยได้จริง โดยเฉพาะการงดมื้อเย็น แต่การอดอาหารมากเกินไปจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ทางที่ดีที่สุดคือการรักษาความหิวในระดับเล็กน้อย และรับประทานอาหารอย่างพอดี ไม่มากเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีและการชะลอวัยที่ยั่งยืน
ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/RuTanKanDai