รู้ทันกันได้ : "มัทฉะ" สุดฮิตเป็นมิตรกับร่างกายแค่ไหน ?
มัทฉะเป็นชาที่มาจากต้นชาเหมือนกันกับชาเขียว แต่ถูกปลูกในที่ร่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มคลอโรฟิลล์ เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมีบางชนิดและสารสำคัญอื่น ๆ ให้กับมัทฉะนอกจากนี้กระบวนการผลิตมัทฉะกับชาเขียวก็แตกต่างกัน โดยมัทฉะจะนำใบชามาบดเป็นผงละเอียดเพื่อนำไปชงกับน้ำ แต่ชาเขียวจะถูกเก็บเกี่ยวและอบไอน้ำเพื่อนำไปคั่วให้แห้ง เวลาดื่มก็นำไปต้มกับน้ำร้อน แล้วสกัดเอาแต่น้ำชามาดื่ม ซึ่งจะแตกต่างจากมัทฉะที่ได้ดื่มใบชาทั้งใบ ส่งผลให้คุณค่าทางโภชนาการและรสชาติของมัทฉะมีความแตกต่างจากชาเขียว ทั้งนี้มัทฉะยังสามารถที่จะปรับสูตรและดื่มกับเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ได้อีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือแอปเปิลไซเดอร์ ซึ่งมีหลายคนที่ดื่มได้ต้องข้อสงสัยว่าการดื่มมัทฉะที่ผสมกับแอปเปิลไซเดอร์สามารถทำให้เกิดอาการอาเจียนได้จริงหรือไม่ การดื่มมัทฉะควรดื่ม หรือไม่ควรดื่มคู่กับอะไร การดื่มมัทฉะเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากที่สุดควรดื่มในช่วงเวลาไหน ? ร่วมพูดคุยกับ อ.สมิทธิ โชติศรีลือชา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
เศรษฐกิจติดบ้าน : “สมรสเท่าเทียม” โอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย
ในวันที่ 22 มกราคม 2568 ประเทศไทยจะเข้าสู่บทใหม่แห่งความเท่าเทียมด้วยการเปิดให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถ จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นี่คือก้าวสำคัญของการยอมรับสิทธิและความเท่าเทียมของทุกคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนเฝ้ารอมานาน อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมนั้นไม่ได้เป็นเพียงการลงชื่อในเอกสาร หากแต่ “สมรสเท่าเทียม” ยังมีโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทยด้วย รายละเอียดเรื่องนี้ไปเป็นอย่างไร ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน จะพูดคุยกับคุณธนะชัย กุลสมบูรณ์สินธ์ นักลงทุน สตาร์ตอัป จาก Canvas Ventures International
ชมย้อนหลัง "เศรษฐกิจติดบ้าน" ได้ที่นี่ คลิก!
นครฮีลใจ : เมื่อเด็กก่ออาชญากรรม สังคมยับยั้งอย่างไร ?
บ่อยครั้งที่เราอาจได้เห็นความรุนแรงเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่เป็นเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะการทำร้ายร่างกาย การทำร้ายในเชิงวาจา หรือการกลั่นแกล้งในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่ากำลังเป็นปัญหาสังคมในระดับสากล นครฮีลใจชวนคุยถึงสาเหตุที่มาที่ไปและทางออกของเรื่องนี้
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
รู้ทันกันได้ : "มัทฉะ" สุดฮิตเป็นมิตรกับร่างกายแค่ไหน ?
มัทฉะเป็นชาที่มาจากต้นชาเหมือนกันกับชาเขียว แต่ถูกปลูกในที่ร่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มคลอโรฟิลล์ เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤกษเคมีบางชนิดและสารสำคัญอื่น ๆ ให้กับมัทฉะนอกจากนี้กระบวนการผลิตมัทฉะกับชาเขียวก็แตกต่างกัน โดยมัทฉะจะนำใบชามาบดเป็นผงละเอียดเพื่อนำไปชงกับน้ำ แต่ชาเขียวจะถูกเก็บเกี่ยวและอบไอน้ำเพื่อนำไปคั่วให้แห้ง เวลาดื่มก็นำไปต้มกับน้ำร้อน แล้วสกัดเอาแต่น้ำชามาดื่ม ซึ่งจะแตกต่างจากมัทฉะที่ได้ดื่มใบชาทั้งใบ ส่งผลให้คุณค่าทางโภชนาการและรสชาติของมัทฉะมีความแตกต่างจากชาเขียว ทั้งนี้มัทฉะยังสามารถที่จะปรับสูตรและดื่มกับเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ได้อีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือแอปเปิลไซเดอร์ ซึ่งมีหลายคนที่ดื่มได้ต้องข้อสงสัยว่าการดื่มมัทฉะที่ผสมกับแอปเปิลไซเดอร์สามารถทำให้เกิดอาการอาเจียนได้จริงหรือไม่ การดื่มมัทฉะควรดื่ม หรือไม่ควรดื่มคู่กับอะไร การดื่มมัทฉะเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากที่สุดควรดื่มในช่วงเวลาไหน ? ร่วมพูดคุยกับ อ.สมิทธิ โชติศรีลือชา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
เศรษฐกิจติดบ้าน : “สมรสเท่าเทียม” โอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย
ในวันที่ 22 มกราคม 2568 ประเทศไทยจะเข้าสู่บทใหม่แห่งความเท่าเทียมด้วยการเปิดให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถ จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นี่คือก้าวสำคัญของการยอมรับสิทธิและความเท่าเทียมของทุกคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนเฝ้ารอมานาน อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมนั้นไม่ได้เป็นเพียงการลงชื่อในเอกสาร หากแต่ “สมรสเท่าเทียม” ยังมีโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทยด้วย รายละเอียดเรื่องนี้ไปเป็นอย่างไร ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน จะพูดคุยกับคุณธนะชัย กุลสมบูรณ์สินธ์ นักลงทุน สตาร์ตอัป จาก Canvas Ventures International
ชมย้อนหลัง "เศรษฐกิจติดบ้าน" ได้ที่นี่ คลิก!
นครฮีลใจ : เมื่อเด็กก่ออาชญากรรม สังคมยับยั้งอย่างไร ?
บ่อยครั้งที่เราอาจได้เห็นความรุนแรงเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่เป็นเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะการทำร้ายร่างกาย การทำร้ายในเชิงวาจา หรือการกลั่นแกล้งในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่ากำลังเป็นปัญหาสังคมในระดับสากล นครฮีลใจชวนคุยถึงสาเหตุที่มาที่ไปและทางออกของเรื่องนี้
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live