ชัวร์หรือมั่ว : กินแล้วนอนทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งหลอดเลือด จริงหรือไม่ ?
ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าการกินแล้วนอนยังไม่มีผลทางการแพทย์ที่ชี้ว่าทำให้เสี่ยงเกิดเป็นโรคมะเร็งหลอดเลือดได้ ซึ่งพฤติกรรมกินแล้วนอนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่น โดยเฉพาะอาการกรดไหลย้อน จากอาหารไม่ย่อย ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง และอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหารและบริเวณกล่องเสียงได้ นอกจากนี้พฤติกรรมกินแล้วนอนอาจส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน เป็นต้น จึงควรปรับพฤติกรรมโดยเว้นระยะเวลาการรับประทานอาหารและการนอนให้ห่างกันอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง
ชัวร์หรือมั่ว : ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยสัปดาห์ละ 200 - 300 ราย
ทางทีมงานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษามากขึ้น เฉลี่ยสัปดาห์ละ 200 - 300 ราย ทั้งนี้จากยอดผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นคนไทย โดยการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยนั้นไม่สูงมาก และแนะนำให้ประชาชนที่มีอาการป่วยให้ตรวจหาเชื้อ ATK ด้วยตนเอง เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องเลือกชุดตรวจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้องเท่านั้น
รู้ทันกันได้ : โปรตีนพอกปอด เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ไม่กี่วันที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเพจสาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์ ได้โพสต์เคสคนไข้ชายรายหนึ่ง อายุ 50 ปี เหล้าไม่ดื่ม บุหรี่ไม่สูบ แต่มีอาการเหนื่อยง่าย พอไปเอกซเรย์ พบว่ามีฝ้าขึ้นเต็มปอด โดยแพทย์ระบุว่าเป็น โรคโปรตีนพอกปอด โรคนี้จะส่งผลอย่างไรกับร่างกาย อันตรายมากน้อยแค่ไหน รักษาได้หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : ATK โควิด-19 วัดผลด้วยเคมีไฟฟ้า
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนถึงปัจจุบันชุดตรวจ ATK เป็นอุปกรณ์สามัญที่ประชาชนใช้ในการตรวจคัดกรองโควิด-19 เบื้องต้นด้วยตัวเอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา แต่ถึงแม้ว่าปัจจุบันโควิด-19 ได้เบาบางลง การคิดค้นต่อยอด ATK ก็ยังคงมีความจำเป็น ล่าสุดมีการคิดค้น ATK โควิด-19 ด้วยการวัดผลจากเคมีไฟฟ้า ซึ่งจะมีแนวคิด และความน่าสนใจอย่างไร ไปติดตามกัน
คุยกันวันใหม่ : Kids Gym ศูนย์กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเยาวชนและครอบครัว
เยาวชนในวันนี้คือผู้นำสังคมในวันหน้า แต่หลายคนต้องดิ้นรนเพื่อเติมเต็มความฝัน เยาวชนในประเทศไทยยังคงเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างจำกัด และขาดการสอนทักษะชีวิต จะดีกว่าไหม...? ถ้าหากเยาวชนเหล่านี้ได้มีพื้นที่ในการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกันและช่วยเหลือกันในสังคม
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ชัวร์หรือมั่ว : กินแล้วนอนทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งหลอดเลือด จริงหรือไม่ ?
ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าการกินแล้วนอนยังไม่มีผลทางการแพทย์ที่ชี้ว่าทำให้เสี่ยงเกิดเป็นโรคมะเร็งหลอดเลือดได้ ซึ่งพฤติกรรมกินแล้วนอนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่น โดยเฉพาะอาการกรดไหลย้อน จากอาหารไม่ย่อย ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง และอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหารและบริเวณกล่องเสียงได้ นอกจากนี้พฤติกรรมกินแล้วนอนอาจส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน เป็นต้น จึงควรปรับพฤติกรรมโดยเว้นระยะเวลาการรับประทานอาหารและการนอนให้ห่างกันอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง
ชัวร์หรือมั่ว : ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยสัปดาห์ละ 200 - 300 ราย
ทางทีมงานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษามากขึ้น เฉลี่ยสัปดาห์ละ 200 - 300 ราย ทั้งนี้จากยอดผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นคนไทย โดยการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยนั้นไม่สูงมาก และแนะนำให้ประชาชนที่มีอาการป่วยให้ตรวจหาเชื้อ ATK ด้วยตนเอง เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องเลือกชุดตรวจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้องเท่านั้น
รู้ทันกันได้ : โปรตีนพอกปอด เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ไม่กี่วันที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเพจสาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์ ได้โพสต์เคสคนไข้ชายรายหนึ่ง อายุ 50 ปี เหล้าไม่ดื่ม บุหรี่ไม่สูบ แต่มีอาการเหนื่อยง่าย พอไปเอกซเรย์ พบว่ามีฝ้าขึ้นเต็มปอด โดยแพทย์ระบุว่าเป็น โรคโปรตีนพอกปอด โรคนี้จะส่งผลอย่างไรกับร่างกาย อันตรายมากน้อยแค่ไหน รักษาได้หรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : ATK โควิด-19 วัดผลด้วยเคมีไฟฟ้า
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนถึงปัจจุบันชุดตรวจ ATK เป็นอุปกรณ์สามัญที่ประชาชนใช้ในการตรวจคัดกรองโควิด-19 เบื้องต้นด้วยตัวเอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา แต่ถึงแม้ว่าปัจจุบันโควิด-19 ได้เบาบางลง การคิดค้นต่อยอด ATK ก็ยังคงมีความจำเป็น ล่าสุดมีการคิดค้น ATK โควิด-19 ด้วยการวัดผลจากเคมีไฟฟ้า ซึ่งจะมีแนวคิด และความน่าสนใจอย่างไร ไปติดตามกัน
คุยกันวันใหม่ : Kids Gym ศูนย์กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเยาวชนและครอบครัว
เยาวชนในวันนี้คือผู้นำสังคมในวันหน้า แต่หลายคนต้องดิ้นรนเพื่อเติมเต็มความฝัน เยาวชนในประเทศไทยยังคงเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างจำกัด และขาดการสอนทักษะชีวิต จะดีกว่าไหม...? ถ้าหากเยาวชนเหล่านี้ได้มีพื้นที่ในการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกันและช่วยเหลือกันในสังคม
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live