ชัวร์หรือมั่ว : อุบัติเหตุเสียชีวิตบนทางหลวง ได้รับเงินชดเชยจากกรมทางหลวง 15,000 บาท จริงหรือ ?
ทางกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะกรมทางหลวงไม่มีนโยบายให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ ซึ่งขอแนะนำเพื่อเป็นการรักษาสิทธิของประชาชนสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ พบว่ามีช่องทางที่ผู้ประสบภัยสามารถขอความช่วยเหลือได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถของ คปภ. หรือ กองทุนประกันสังคม
ชัวร์หรือมั่ว : ผู้หญิงมีโอกาสเกิดไตวายสูงมาก หากปล่อยให้กรดยูริกในเลือดสูง จริงหรือไม่ ?
ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ พร้อมชี้แจงว่ากรดยูริกทำให้เกิดโรคไตได้ เช่น เป็นนิ่วในท่อไต หรือ ถ้าเป็นโรคไตวายก็มักจะเป็นไตวายเฉียบพลัน ซึ่งมีโอกาสหายได้ แต่อาจจะไม่ใช่ไตวาย แต่โอกาสเกิดโรคไตวายเรื้อรังโดยตรงมีได้ แต่น้อยมาก อีกประเด็น คือ กรดยูริกที่สูงทำให้ไตเรื้อรังที่มีอยู่เสื่อมเร็วขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยขับกรดยูริก ซึ่งกรดยูริกในผู้หญิงวัยประจำเดือนจะต่ำกว่าผู้ชายและเกิดโรคเก๊าท์น้อยกว่าผู้ชาย แต่ในวัยหมดประจำเดือนกรดยูริกจะสูงขึ้นเท่าผู้ชาย ทำให้เกิดโรคเก๊าท์สูงขึ้นแต่ไม่ได้ทำให้เกิดโรคไตวายมากขึ้น
รู้ทันกันได้ : ไวรัส hMPV อันตรายหรือไม่ ?
เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส mHPV อาจได้ยินชื่อนี้บ่อยในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว คือ ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. - พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มักพบการระบาด แม้ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่แต่ก็พบได้บ่อย และพบมานานแล้ว มีการศึกษาย้อนหลัง พบว่าเชื้อ hMPV เป็นเชื้อที่มีอยู่เดิม แต่เพิ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2544 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เชื้อนี้จะสามารถก่อโรคได้อย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน และจะป้องกันรักษาได้อย่างไร ร่วมพูดคุยกับ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : ชุดตรวจสอบการติดพยาธิใบไม้ลำไส้ในปลาเศรษฐกิจ
ปัญหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียของปลาน้ำจืดนั้น ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการ ส่งออกอาหาร รวมถึงการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ นักวิจัยด้านประมงจึงได้คิดค้นชุดตรวจสอบการติดพยาธิใบไม้ลำไส้ในปลาเศรษฐกิจขึ้นมา ในราคาที่เข้าถึงได้และง่ายต่อการใช้งาน
คุยกันวันใหม่ : ดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยว สู่การอนุรักษ์มรดกโลกใต้น้ำ
หากพูดถึงวัตถุโบราณ จริง ๆ แล้วในประเทศเราไม่ได้มีแค่บนบกเท่านั้น เพราะในอดีตบ้านเรามีเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้บริเวณร่องน้ำทะเลบ้านเราจะมีวัตถุโบราณต่าง ๆ อยู่ใต้ท้องทะเลมากมาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าใครจะสามาถนำวัตถุเหล่านั้นขึ้นมาได้ เพราะหากไม่ได้รับการฝึกฝนหรือมีความรู้ในการขนย้ายวัตถุโบราณนั้น อาจจะเกิดการเสียหาย พาไปเรียนรู้วิธีการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ หากเราดำน้ำแล้วเกิดเจอวัตถุโบราณเหล่านี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ชัวร์หรือมั่ว : อุบัติเหตุเสียชีวิตบนทางหลวง ได้รับเงินชดเชยจากกรมทางหลวง 15,000 บาท จริงหรือ ?
ทางกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะกรมทางหลวงไม่มีนโยบายให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ ซึ่งขอแนะนำเพื่อเป็นการรักษาสิทธิของประชาชนสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ พบว่ามีช่องทางที่ผู้ประสบภัยสามารถขอความช่วยเหลือได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถของ คปภ. หรือ กองทุนประกันสังคม
ชัวร์หรือมั่ว : ผู้หญิงมีโอกาสเกิดไตวายสูงมาก หากปล่อยให้กรดยูริกในเลือดสูง จริงหรือไม่ ?
ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ พร้อมชี้แจงว่ากรดยูริกทำให้เกิดโรคไตได้ เช่น เป็นนิ่วในท่อไต หรือ ถ้าเป็นโรคไตวายก็มักจะเป็นไตวายเฉียบพลัน ซึ่งมีโอกาสหายได้ แต่อาจจะไม่ใช่ไตวาย แต่โอกาสเกิดโรคไตวายเรื้อรังโดยตรงมีได้ แต่น้อยมาก อีกประเด็น คือ กรดยูริกที่สูงทำให้ไตเรื้อรังที่มีอยู่เสื่อมเร็วขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยขับกรดยูริก ซึ่งกรดยูริกในผู้หญิงวัยประจำเดือนจะต่ำกว่าผู้ชายและเกิดโรคเก๊าท์น้อยกว่าผู้ชาย แต่ในวัยหมดประจำเดือนกรดยูริกจะสูงขึ้นเท่าผู้ชาย ทำให้เกิดโรคเก๊าท์สูงขึ้นแต่ไม่ได้ทำให้เกิดโรคไตวายมากขึ้น
รู้ทันกันได้ : ไวรัส hMPV อันตรายหรือไม่ ?
เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส mHPV อาจได้ยินชื่อนี้บ่อยในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว คือ ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. - พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มักพบการระบาด แม้ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่แต่ก็พบได้บ่อย และพบมานานแล้ว มีการศึกษาย้อนหลัง พบว่าเชื้อ hMPV เป็นเชื้อที่มีอยู่เดิม แต่เพิ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2544 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เชื้อนี้จะสามารถก่อโรคได้อย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ไหน และจะป้องกันรักษาได้อย่างไร ร่วมพูดคุยกับ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : ชุดตรวจสอบการติดพยาธิใบไม้ลำไส้ในปลาเศรษฐกิจ
ปัญหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียของปลาน้ำจืดนั้น ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการ ส่งออกอาหาร รวมถึงการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ นักวิจัยด้านประมงจึงได้คิดค้นชุดตรวจสอบการติดพยาธิใบไม้ลำไส้ในปลาเศรษฐกิจขึ้นมา ในราคาที่เข้าถึงได้และง่ายต่อการใช้งาน
คุยกันวันใหม่ : ดำน้ำเพื่อการท่องเที่ยว สู่การอนุรักษ์มรดกโลกใต้น้ำ
หากพูดถึงวัตถุโบราณ จริง ๆ แล้วในประเทศเราไม่ได้มีแค่บนบกเท่านั้น เพราะในอดีตบ้านเรามีเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้บริเวณร่องน้ำทะเลบ้านเราจะมีวัตถุโบราณต่าง ๆ อยู่ใต้ท้องทะเลมากมาย แต่ก็ไม่ใช่ว่าใครจะสามาถนำวัตถุเหล่านั้นขึ้นมาได้ เพราะหากไม่ได้รับการฝึกฝนหรือมีความรู้ในการขนย้ายวัตถุโบราณนั้น อาจจะเกิดการเสียหาย พาไปเรียนรู้วิธีการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ หากเราดำน้ำแล้วเกิดเจอวัตถุโบราณเหล่านี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live