ตลอดเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ โดยเสด็จพระราชดำเนินติดตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตลอดจนพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวง เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร โดยมิได้ทรงเหน็ดเหนื่อยและย่อท้อแต่อย่างใด ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกร ทรงเป็นแบบอย่างในการฉลองพระองค์ด้วยชุดผ้าไทย ทรงสืบสานพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทย ทรงฉลองพระองค์ชุดผ้าไทยอันงดงามวิจิตรตระการตา ด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงรักษา สืบสาน และต่อยอด ทำให้กรมหม่อนไหมนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนา และสร้างอัตลักษณ์ให้ผ้าไทยมีความโดดเด่นและทันสมัย ด้วยการจัดทำโครงการออกแบบลายผ้าจัดพิมพ์หนังสือและทอผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมภูมิปัญญา ไปสู่การพัฒนาอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสนพระทัยงานวิจัยการเพาะพันธุ์ดอกเอเดลไวส์ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติสวิตเซอร์แลนด์ มีความหมายว่า "รักแท้" กรมหม่อนไหมจึงมีแนวคิดนำดอกเอเดลไวส์มาพัฒนาเป็นลายผ้าไหม ประกอบด้วย 5 เทคนิค ได้แก่ มัดหมี่, ยกดอก, จก, ขิด และบาติก และส่งต่อลายผ้าให้ช่างทอผ้าไหมและเกษตรกรทอผ้าของไทยที่มีอยู่ทุกภูมิภาคนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างความหลากหลายและมูลค่าเพิ่มให้แก่ผ้าไหมไทย เช่นเดียวกับช่างทอผ้าไหมมัดหมี่ลายดอกเอเดลไวส์ จ.มหาสารคาม ที่ได้รับลายดอกเอเดลไวส์และนำมาพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นลายผ้าที่สวยงาม
นอกจากผ้าไหมมัดหมี่ลายดอกเอเดลไวส์ จังหวัดมหาสารคาม ที่มีความสวยงาม ประณีต งดงามแล้ว ที่จังหวัดราชบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับลายดอกเอเดลไวส์มาทอกี่ทอมือด้วยกระบวนการจก จนเกิดเป็นลายผ้าที่สวยงาม
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในงานนิทรรศการ "อาภรณ์ 5 การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย" ชื่นชมความงดงามของผ้าทอจำลองจากฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และผลงานการออกแบบสิ่งทอและเครื่องประดับ ที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสุโขทัยของเยาวชน จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร
จังหวัดยโสธร กับงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟมรดกวัฒนธรรม ที่เป็นประเพณีเก่าแก่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เพื่อขอฝนในช่วงเข้าฤดูฝนแบบนี้ ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ 3 วัน 3 คืน
"ช่างเขียนจิตรกรรมบนตาลปัตร" งานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาดและระบายสี ซึ่งเป็นอัตลักษณ์แสดงถึงความเป็นไทยอันประณีต โดย "คุณนพพล นุชิตประสิทธิชัย" ช่างเขียนจิตรกรรมรุ่นใหม่ได้เข้ามาสืบสานต่อยอดงานช่างเขียนแขนงนี้ไว้ด้วยใจรักและความศรัทธา จนวันหนึ่งตัวเองได้ยืนอยู่ในฐานะครูผู้สอนงานศิลป์ของไทย ก็ไม่ลืมที่จะนำองค์ความรู้การเขียนจิตรกรรมบนตาลปัตรนี้มาสืบทอด สานต่อให้กับนักเรียนได้อนุรักษ์งานจิตรกรรมแขนงนี้ต่อไปอีกยาวนาน
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ตลอดเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ โดยเสด็จพระราชดำเนินติดตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตลอดจนพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวง เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร โดยมิได้ทรงเหน็ดเหนื่อยและย่อท้อแต่อย่างใด ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกร ทรงเป็นแบบอย่างในการฉลองพระองค์ด้วยชุดผ้าไทย ทรงสืบสานพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทย ทรงฉลองพระองค์ชุดผ้าไทยอันงดงามวิจิตรตระการตา ด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงรักษา สืบสาน และต่อยอด ทำให้กรมหม่อนไหมนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนา และสร้างอัตลักษณ์ให้ผ้าไทยมีความโดดเด่นและทันสมัย ด้วยการจัดทำโครงการออกแบบลายผ้าจัดพิมพ์หนังสือและทอผ้าไหมลายดอกเอเดลไวส์ เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมภูมิปัญญา ไปสู่การพัฒนาอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสนพระทัยงานวิจัยการเพาะพันธุ์ดอกเอเดลไวส์ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติสวิตเซอร์แลนด์ มีความหมายว่า "รักแท้" กรมหม่อนไหมจึงมีแนวคิดนำดอกเอเดลไวส์มาพัฒนาเป็นลายผ้าไหม ประกอบด้วย 5 เทคนิค ได้แก่ มัดหมี่, ยกดอก, จก, ขิด และบาติก และส่งต่อลายผ้าให้ช่างทอผ้าไหมและเกษตรกรทอผ้าของไทยที่มีอยู่ทุกภูมิภาคนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างความหลากหลายและมูลค่าเพิ่มให้แก่ผ้าไหมไทย เช่นเดียวกับช่างทอผ้าไหมมัดหมี่ลายดอกเอเดลไวส์ จ.มหาสารคาม ที่ได้รับลายดอกเอเดลไวส์และนำมาพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นลายผ้าที่สวยงาม
นอกจากผ้าไหมมัดหมี่ลายดอกเอเดลไวส์ จังหวัดมหาสารคาม ที่มีความสวยงาม ประณีต งดงามแล้ว ที่จังหวัดราชบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับลายดอกเอเดลไวส์มาทอกี่ทอมือด้วยกระบวนการจก จนเกิดเป็นลายผ้าที่สวยงาม
ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้
ชมย้อนหลัง "ร้องทุก(ข์)ลงป้ายนี้" ได้ที่นี่ คลิก!
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในงานนิทรรศการ "อาภรณ์ 5 การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย" ชื่นชมความงดงามของผ้าทอจำลองจากฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และผลงานการออกแบบสิ่งทอและเครื่องประดับ ที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสุโขทัยของเยาวชน จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร
จังหวัดยโสธร กับงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟมรดกวัฒนธรรม ที่เป็นประเพณีเก่าแก่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เพื่อขอฝนในช่วงเข้าฤดูฝนแบบนี้ ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ 3 วัน 3 คืน
"ช่างเขียนจิตรกรรมบนตาลปัตร" งานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาดและระบายสี ซึ่งเป็นอัตลักษณ์แสดงถึงความเป็นไทยอันประณีต โดย "คุณนพพล นุชิตประสิทธิชัย" ช่างเขียนจิตรกรรมรุ่นใหม่ได้เข้ามาสืบสานต่อยอดงานช่างเขียนแขนงนี้ไว้ด้วยใจรักและความศรัทธา จนวันหนึ่งตัวเองได้ยืนอยู่ในฐานะครูผู้สอนงานศิลป์ของไทย ก็ไม่ลืมที่จะนำองค์ความรู้การเขียนจิตรกรรมบนตาลปัตรนี้มาสืบทอด สานต่อให้กับนักเรียนได้อนุรักษ์งานจิตรกรรมแขนงนี้ต่อไปอีกยาวนาน
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live