รู้ทันกันได้ : "สีส้ม" ในชาไทย อันตรายจริงหรือไม่ ?
สำหรับ "ชาเย็น, ชาไทย" หรือบางคนก็เรียกว่า "ชาสีส้ม" จริง ๆ แล้วนั้นชาไทยดั้งเดิมเลยไม่ได้สีส้มอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ แต่เกิดจากการเติมสีผสมอาหารลงไปในผงชา โดยชาไทยเป็นการนำชาซีลอนมาดัดแปลงปรับแต่งสี กลิ่น และรสชาติให้หอมหวานถูกปากคนไทย เพราะชาซีลอนมีสีคล้ายสีเบจ ส่วนใหญ่จึงนิยมเติมสีผสมอาหารที่ชื่อว่า "Sunset yellow FCF" ลงในตัวชาเพื่อให้เครื่องดื่มมีสีส้มน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้มีประเด็นสีส้มของชาที่โลกโซเชียลมีเดียต่างก็พูดถึงอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ ข้อมูลนี้จะจริงหรือไม่ สีส้มของชานั้นเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไร รวมถึงสีผสมอาหารที่ชื่อว่า "Sunset yellow FCF" เป็นสีผสมอาหารที่สังเคราะห์จากกระบวนการทางเคมีหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ อ.สมิทธิ โชติศรีลือชา สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
เศรษฐกิจติดบ้าน : รู้ไว้ไม่เสียท่า ข้อมูลแบบไหนที่มิจฉาชีพต้องการ
รู้ไว้ไม่เสียท่า ข้อมูลแบบไหนที่มิจฉาชีพต้องการ ในโลกดิจิทัล เต็มไปด้วยโอกาสและความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยภัยคุกคามที่อยู่ใกล้ตัวเราเช่นกัน การเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลของคุณ วันนี้ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และสุธน แซ่ลี้ เจ้าของเพจ คุณลุงไอที จะมาให้ข้อมูลเรื่องนี้
ชมย้อนหลัง "เศรษฐกิจติดบ้าน" ได้ที่นี่ คลิก!
นครฮีลใจ : ท่องโลกนิเวศฟื้นฟูถิ่นฐานนกชายเลนด้วยการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ในประเทศไทยของเราหลาย ๆ คนถ้าไม่ใช่คนในวงการดูนกอาจจะยังไม่รู้ว่า บ้านเรานั่นเป็นแหล่งดูนกชายเลนหายาก ที่ทั่วทุกมุมโลกต่างเข้ามาดูและศึกษา เจ้านกชายเลนที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจนั่นก็คือ "นกชายเลนปากช้อน" เป็นพันธุ์ที่หายากที่สุดในโลก ซึ่งแน่นอนว่าบ้านเรามีเจ้านกตัวนี้อยู่ แต่จะอยู่ที่ไหนและพวกเขามีวิธีการจัด การเพื่อการอนุรักษ์และดูแลนกเหล่านี้อย่างไร
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : ส่องหาปูนิ่มด้วย AI นวัตกรรมเพื่อผู้ผลิตปูนิ่ม
หากพูดถึงการทำฟาร์มปูนิ่มในปัจจุบันหากปูลอกคราบได้ 2 - 3 ชั่วโมง นั่นคือช่วงเวลาในการนำปูขึ้นจากบ่อเพื่อไปทำเป็นปูนิ่ม เพราะหากช้ากว่านี้ปูจะดึงแร่ธาตุในน้ำเค็มมาสร้างกระดองแข็ง ทำให้เป็นภาระที่ต้องเลี้ยงรอการลอกคราบครั้งต่อไปไม่น้อยกว่า 1 เดือน และที่สำคัญคือการใช้คนงานในการคนทำหน้าที่ส่องดูปูในตะกร้าทีละใบและทำอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะต้องใช้คนงานบ่อละหลายคนแล้ว ยังมีโอกาสผิดพลาดหรือไม่เจอปูลอกคราบได้ถึง 5% ทางทีมผู้พัฒนานวัตกรรมสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้พัฒนาระบบตรวจจับและเก็บเกี่ยวปูนิ่มด้วย AI ในการเลี้ยงระบบปิดแบบธรรมชาติ
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
รู้ทันกันได้ : "สีส้ม" ในชาไทย อันตรายจริงหรือไม่ ?
สำหรับ "ชาเย็น, ชาไทย" หรือบางคนก็เรียกว่า "ชาสีส้ม" จริง ๆ แล้วนั้นชาไทยดั้งเดิมเลยไม่ได้สีส้มอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ แต่เกิดจากการเติมสีผสมอาหารลงไปในผงชา โดยชาไทยเป็นการนำชาซีลอนมาดัดแปลงปรับแต่งสี กลิ่น และรสชาติให้หอมหวานถูกปากคนไทย เพราะชาซีลอนมีสีคล้ายสีเบจ ส่วนใหญ่จึงนิยมเติมสีผสมอาหารที่ชื่อว่า "Sunset yellow FCF" ลงในตัวชาเพื่อให้เครื่องดื่มมีสีส้มน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้มีประเด็นสีส้มของชาที่โลกโซเชียลมีเดียต่างก็พูดถึงอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ ข้อมูลนี้จะจริงหรือไม่ สีส้มของชานั้นเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไร รวมถึงสีผสมอาหารที่ชื่อว่า "Sunset yellow FCF" เป็นสีผสมอาหารที่สังเคราะห์จากกระบวนการทางเคมีหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ อ.สมิทธิ โชติศรีลือชา สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
เศรษฐกิจติดบ้าน : รู้ไว้ไม่เสียท่า ข้อมูลแบบไหนที่มิจฉาชีพต้องการ
รู้ไว้ไม่เสียท่า ข้อมูลแบบไหนที่มิจฉาชีพต้องการ ในโลกดิจิทัล เต็มไปด้วยโอกาสและความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยภัยคุกคามที่อยู่ใกล้ตัวเราเช่นกัน การเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลของคุณ วันนี้ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และสุธน แซ่ลี้ เจ้าของเพจ คุณลุงไอที จะมาให้ข้อมูลเรื่องนี้
ชมย้อนหลัง "เศรษฐกิจติดบ้าน" ได้ที่นี่ คลิก!
นครฮีลใจ : ท่องโลกนิเวศฟื้นฟูถิ่นฐานนกชายเลนด้วยการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ในประเทศไทยของเราหลาย ๆ คนถ้าไม่ใช่คนในวงการดูนกอาจจะยังไม่รู้ว่า บ้านเรานั่นเป็นแหล่งดูนกชายเลนหายาก ที่ทั่วทุกมุมโลกต่างเข้ามาดูและศึกษา เจ้านกชายเลนที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจนั่นก็คือ "นกชายเลนปากช้อน" เป็นพันธุ์ที่หายากที่สุดในโลก ซึ่งแน่นอนว่าบ้านเรามีเจ้านกตัวนี้อยู่ แต่จะอยู่ที่ไหนและพวกเขามีวิธีการจัด การเพื่อการอนุรักษ์และดูแลนกเหล่านี้อย่างไร
ไทยประดิษฐ์คิดเก่ง : ส่องหาปูนิ่มด้วย AI นวัตกรรมเพื่อผู้ผลิตปูนิ่ม
หากพูดถึงการทำฟาร์มปูนิ่มในปัจจุบันหากปูลอกคราบได้ 2 - 3 ชั่วโมง นั่นคือช่วงเวลาในการนำปูขึ้นจากบ่อเพื่อไปทำเป็นปูนิ่ม เพราะหากช้ากว่านี้ปูจะดึงแร่ธาตุในน้ำเค็มมาสร้างกระดองแข็ง ทำให้เป็นภาระที่ต้องเลี้ยงรอการลอกคราบครั้งต่อไปไม่น้อยกว่า 1 เดือน และที่สำคัญคือการใช้คนงานในการคนทำหน้าที่ส่องดูปูในตะกร้าทีละใบและทำอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะต้องใช้คนงานบ่อละหลายคนแล้ว ยังมีโอกาสผิดพลาดหรือไม่เจอปูลอกคราบได้ถึง 5% ทางทีมผู้พัฒนานวัตกรรมสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้พัฒนาระบบตรวจจับและเก็บเกี่ยวปูนิ่มด้วย AI ในการเลี้ยงระบบปิดแบบธรรมชาติ
สีสันวาไรตี้
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live