เศรษฐกิจติดบ้าน : ราคาหมูไทย ใครกำหนด ?
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว บ้านเราประสบปัญหา African Swine Fever หรือโรคอหิวาต์ แอฟริกา ในหมู ส่งผลให้หมูในบ้านเราล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้น จนทำให้เกิดการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนเข้ามาจนเป็นข่าวครึกโครมมาแล้ว จนหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าทำไมการนำเนื้อหมูข้ามประเทศมาจึงมีต้นทุนที่ถูกกว่าหมูภายในประเทศ เบื้องหลังของราคาหมูไทย มีปัจจัยด้านราคาอะไรบ้าง และใครคือผู้กำหนดราคาที่แท้จริง ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ชวนหาคำตอบนี้จาก คุณวรวัฒน์ โพธาคณาพงศ์ ผู้ประกอบการฟาร์มสุกร บริษัท หมูกมล
ชมย้อนหลัง "เศรษฐกิจติดบ้าน" ได้ที่นี่ คลิก!
รู้ทันกันได้ : "หาวบ่อย" เป็นสัญญาณบอกโรคอะไรบ้าง
การหาว ถือเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของร่างกายอย่างหนึ่งที่ไม่มีใครฝืนได้ บางครั้งการหาวระหว่างวัน ยังพอเข้าใจตัวเองได้ว่าอาจจะนอนไม่พอ ร่างกายจึงสัญญาณมาพร้อมกับความง่วง แต่หากใน 1 ชั่วโมง ก็หาวไปแล้วมากกว่า 3 ครั้ง จะถือว่าเป็นการหาวบ่อยหรือไม่ เป็นสัญญาณบอกโรคอะไรหรือเปล่า ร่วมพูดคุยกับ หมอต้น นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
นครฮีลใจ : ฟื้นหอศิลป์ พีระศรี ปลุกอุดมการณ์ศิลปะสาธารณชน
หากย้อนกลับไปเมื่อ 36 ปีก่อน ตอนนั้นหอศิลป์พีระศรี เป็นพื้นที่ที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงผลงานศิลปะเชิงอุดมการณ์ งานจัดแสดงสะท้อนอิสระภาพทางความคิดของศิลปิน แม้ภายหลังจะต้องผิดตัวลง แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพิ่งมีการจัดแสดงงานศิลป์ชั่วคราว และเริ่มบทสนทนาในการขับเคลื่อนพื้นที่ศิลปะอีกครั้ง
การพัฒนาบึงสีไฟ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หนึ่งพื้นที่ที่มีการพัฒนา พร้อมน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ สู่การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญของประเทศ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ในภูมิภาคที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนานาชนิด และมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ นอกจากนี้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ได้นำแนวคิด "การสร้างพื้นที่แห่งความสุข" มาปรับใช้ได้อย่างสมบูรณ์
บึงสีไฟโฉมใหม่ แลนมาร์คส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.พิจิตร
บึงสีไฟนอกจากจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติคู่เมืองชาละวันแล้ว ยังเป็นแหล่งเศรษฐกิจและแหล่งรายได้จากการทำประมง ทำสวนบัว การค้าขาย และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคู่เมืองพิจิตร ซึ่งปัจจุบัน บึงสีไฟโฉมใหม่ได้รับการพัฒนาจากบึงน้ำที่เคยเสื่อมโทรมเปลี่ยนเป็นบึงอันสวยงาม จนกลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดพิจิตร ซึ่งชาวพิจิตร นักท่องเที่ยวต่างถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่างช่วยกันดูแลรักษาบึงสีไฟโฉมใหม่ให้มีความสวยงาม และเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ และพักผ่อนหย่อนใจได้
ไหว้พระเสริมสิริมงคล ตามรอยประวัติศาสตร์เมืองพิจิตร
เรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี หรือพระเจ้าเสือ ที่วัดโพธิ์ประทับช้าง วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2242 สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือประมาณกว่า 300 ปีมาแล้ว และไปกราบสักการะหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง พระพุทธรูปที่มีความงดงาม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตร
ย่านเก่าวังกรดชุมนุมเก่ามีเรื่องเล่า
ชมบรรยากาศของสถานีรถไฟ และตลาดเก่าแก่โบราณอายุ 100 กว่าปี ซึ่งเป็นแหล่งรวมอาหารพื้นถิ่น ตั้งอยู่ในชุมชนย่านเก่าวังกรด จ.พิจิตร หรือที่คนจังหวัดพิจิตรคุ้นเคยกันดีในชื่อ "ตลาดวังกรด"
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เรียนรู้วิถีพื้นบ้านที่ฟาร์มบ้านชัดเจน จ.พิจิตร
ท่องเที่ยวสัมผัสวิถีเกษตรที่ฟาร์มบ้านชัดเจน ฟาร์มเกษตรอินทรีย์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ที่เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งการปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงผึ้งชันโรง เห็ดถั่งเช่าออร์แกนิก และเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ ปูทะเลในบ่อปูน ที่เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนที่สนใจเข้ามาศึกษาอีกด้วย
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เศรษฐกิจติดบ้าน : ราคาหมูไทย ใครกำหนด ?
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว บ้านเราประสบปัญหา African Swine Fever หรือโรคอหิวาต์ แอฟริกา ในหมู ส่งผลให้หมูในบ้านเราล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้น จนทำให้เกิดการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนเข้ามาจนเป็นข่าวครึกโครมมาแล้ว จนหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าทำไมการนำเนื้อหมูข้ามประเทศมาจึงมีต้นทุนที่ถูกกว่าหมูภายในประเทศ เบื้องหลังของราคาหมูไทย มีปัจจัยด้านราคาอะไรบ้าง และใครคือผู้กำหนดราคาที่แท้จริง ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ชวนหาคำตอบนี้จาก คุณวรวัฒน์ โพธาคณาพงศ์ ผู้ประกอบการฟาร์มสุกร บริษัท หมูกมล
ชมย้อนหลัง "เศรษฐกิจติดบ้าน" ได้ที่นี่ คลิก!
รู้ทันกันได้ : "หาวบ่อย" เป็นสัญญาณบอกโรคอะไรบ้าง
การหาว ถือเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของร่างกายอย่างหนึ่งที่ไม่มีใครฝืนได้ บางครั้งการหาวระหว่างวัน ยังพอเข้าใจตัวเองได้ว่าอาจจะนอนไม่พอ ร่างกายจึงสัญญาณมาพร้อมกับความง่วง แต่หากใน 1 ชั่วโมง ก็หาวไปแล้วมากกว่า 3 ครั้ง จะถือว่าเป็นการหาวบ่อยหรือไม่ เป็นสัญญาณบอกโรคอะไรหรือเปล่า ร่วมพูดคุยกับ หมอต้น นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
นครฮีลใจ : ฟื้นหอศิลป์ พีระศรี ปลุกอุดมการณ์ศิลปะสาธารณชน
หากย้อนกลับไปเมื่อ 36 ปีก่อน ตอนนั้นหอศิลป์พีระศรี เป็นพื้นที่ที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงผลงานศิลปะเชิงอุดมการณ์ งานจัดแสดงสะท้อนอิสระภาพทางความคิดของศิลปิน แม้ภายหลังจะต้องผิดตัวลง แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ เพิ่งมีการจัดแสดงงานศิลป์ชั่วคราว และเริ่มบทสนทนาในการขับเคลื่อนพื้นที่ศิลปะอีกครั้ง
การพัฒนาบึงสีไฟ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หนึ่งพื้นที่ที่มีการพัฒนา พร้อมน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ สู่การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญของประเทศ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ในภูมิภาคที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนานาชนิด และมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ นอกจากนี้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ได้นำแนวคิด "การสร้างพื้นที่แห่งความสุข" มาปรับใช้ได้อย่างสมบูรณ์
บึงสีไฟโฉมใหม่ แลนมาร์คส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.พิจิตร
บึงสีไฟนอกจากจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติคู่เมืองชาละวันแล้ว ยังเป็นแหล่งเศรษฐกิจและแหล่งรายได้จากการทำประมง ทำสวนบัว การค้าขาย และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคู่เมืองพิจิตร ซึ่งปัจจุบัน บึงสีไฟโฉมใหม่ได้รับการพัฒนาจากบึงน้ำที่เคยเสื่อมโทรมเปลี่ยนเป็นบึงอันสวยงาม จนกลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดพิจิตร ซึ่งชาวพิจิตร นักท่องเที่ยวต่างถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่างช่วยกันดูแลรักษาบึงสีไฟโฉมใหม่ให้มีความสวยงาม และเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ และพักผ่อนหย่อนใจได้
ไหว้พระเสริมสิริมงคล ตามรอยประวัติศาสตร์เมืองพิจิตร
เรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี หรือพระเจ้าเสือ ที่วัดโพธิ์ประทับช้าง วัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2242 สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือประมาณกว่า 300 ปีมาแล้ว และไปกราบสักการะหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง พระพุทธรูปที่มีความงดงาม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิจิตร
ย่านเก่าวังกรดชุมนุมเก่ามีเรื่องเล่า
ชมบรรยากาศของสถานีรถไฟ และตลาดเก่าแก่โบราณอายุ 100 กว่าปี ซึ่งเป็นแหล่งรวมอาหารพื้นถิ่น ตั้งอยู่ในชุมชนย่านเก่าวังกรด จ.พิจิตร หรือที่คนจังหวัดพิจิตรคุ้นเคยกันดีในชื่อ "ตลาดวังกรด"
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เรียนรู้วิถีพื้นบ้านที่ฟาร์มบ้านชัดเจน จ.พิจิตร
ท่องเที่ยวสัมผัสวิถีเกษตรที่ฟาร์มบ้านชัดเจน ฟาร์มเกษตรอินทรีย์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ที่เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ ทั้งการปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงผึ้งชันโรง เห็ดถั่งเช่าออร์แกนิก และเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ ปูทะเลในบ่อปูน ที่เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนที่สนใจเข้ามาศึกษาอีกด้วย
ติดตามรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 10.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live