วันนี้ (17 ก.ค. 67) ปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ล่าสุดพบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำพบการระบาดใน 16 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ตราด และชลบุรี
ขณะที่ ทีมข่าวไทยพีบีเอส ได้เปิดเผยภาพมุมสูงเหนือพื้นที่หมู่ที่4 ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ทำให้เห็นได้ชัดถึง คลอง 3 สาย ในตำบลยี่สาร ที่อยู่รายรอบที่ตั้งของศูนย์วิจัย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด หรือ CPF ผู้ได้รับอนุญาต ให้นำเข้าปลาหมอคางดำ ปลายปี 2553
เมื่อตรวจสอบรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปี 2561 เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำแจ้ง ร้องเรียนปัญหาพบ “ปลาหมอคางดำ” ในลำคลองบริเวณเดียวกันกับที่ปรากฏในภาพมุมสูง เช่น คลองดอนจั่น ซึ่งไหลผ่านศูนย์วิจัยในตำบลยี่สาร รวมไปถึงคลองลำประโดง
ยังมีคลองอีก 2 สาย ไหลผ่านศูนย์วิจัยแห่งนี้ คือ คลองหลวง และ คลองบางยาว ก่อนไหลลงทะเลอ่าวไทย ที่ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยจังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรก ๆ ที่พบการแพร่พันธุ์ปลาหมอคางดำ ในปี 2555
คลองทั้ง 3 สายนี้ผ่านบ่อกุ้ง, บ่อเลี้ยงปลากะพง รวมถึงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ของชาวบ้านตำบลยี่สาร ซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงแบบระบบเปิด ถัดมาปี 2553 ได้รับอนุญาตอีกครั้ง ให้นำเข้าปลาหมอคางดำ 2,000 ตัว มีรายงานว่าปลาไม่สมบูรณ์แข็งแรงและตายเกือบทั้งหมด
เมื่อตรวจสอบรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า ผู้นำเข้าแจ้งว่าปลาตาย ได้ทำลายซากทิ้ง และส่งมอบซากด้วยวิธีการดอง 50 ตัวให้กรมประมง และแจ้งด้วยวาจา
แต่ข้อมูลอีกด้านที่ไม่ตรงกัน คือ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่าไม่เคยได้ซากปลาหมอคางดำ 50 ตัว และไม่เคยได้รับรายงานเป็นเอกสาร หรือเป็นทางการ จาก CPF มีเพียงการรายงานด้วยวาจา ตรงกับเอกสาร จาก กสม.
วันนี้ (17 ก.ค. 67) ปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ล่าสุดพบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำพบการระบาดใน 16 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ตราด และชลบุรี
ขณะที่ ทีมข่าวไทยพีบีเอส ได้เปิดเผยภาพมุมสูงเหนือพื้นที่หมู่ที่4 ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ทำให้เห็นได้ชัดถึง คลอง 3 สาย ในตำบลยี่สาร ที่อยู่รายรอบที่ตั้งของศูนย์วิจัย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด หรือ CPF ผู้ได้รับอนุญาต ให้นำเข้าปลาหมอคางดำ ปลายปี 2553
เมื่อตรวจสอบรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปี 2561 เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำแจ้ง ร้องเรียนปัญหาพบ “ปลาหมอคางดำ” ในลำคลองบริเวณเดียวกันกับที่ปรากฏในภาพมุมสูง เช่น คลองดอนจั่น ซึ่งไหลผ่านศูนย์วิจัยในตำบลยี่สาร รวมไปถึงคลองลำประโดง
ยังมีคลองอีก 2 สาย ไหลผ่านศูนย์วิจัยแห่งนี้ คือ คลองหลวง และ คลองบางยาว ก่อนไหลลงทะเลอ่าวไทย ที่ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยจังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรก ๆ ที่พบการแพร่พันธุ์ปลาหมอคางดำ ในปี 2555
คลองทั้ง 3 สายนี้ผ่านบ่อกุ้ง, บ่อเลี้ยงปลากะพง รวมถึงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ของชาวบ้านตำบลยี่สาร ซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงแบบระบบเปิด ถัดมาปี 2553 ได้รับอนุญาตอีกครั้ง ให้นำเข้าปลาหมอคางดำ 2,000 ตัว มีรายงานว่าปลาไม่สมบูรณ์แข็งแรงและตายเกือบทั้งหมด
เมื่อตรวจสอบรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า ผู้นำเข้าแจ้งว่าปลาตาย ได้ทำลายซากทิ้ง และส่งมอบซากด้วยวิธีการดอง 50 ตัวให้กรมประมง และแจ้งด้วยวาจา
แต่ข้อมูลอีกด้านที่ไม่ตรงกัน คือ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่าไม่เคยได้ซากปลาหมอคางดำ 50 ตัว และไม่เคยได้รับรายงานเป็นเอกสาร หรือเป็นทางการ จาก CPF มีเพียงการรายงานด้วยวาจา ตรงกับเอกสาร จาก กสม.