บ้านหอคำ จังหวัดบึงกาฬ หากย้อนไปเมื่อ 300 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีเรื่องเล่าขานกันมาอย่างยาวนาน บ้านหอคำเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน มีหนองน้ำธรรมชาติมากมายจึงเหมาะแก่การเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อคือ การแปรรูปลูกหยี ที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกหยีทั่วไป มีการแปรรูปเป็นน้ำลูกหยี ลูกหยีอบแห้ง เป็นต้น เริ่มตั้งแต่การเก็บลูกหยีสด ๆ จากต้นมาแปรรูปตามที่ต้องการ ซึ่งสินค้าจากลูกหยีถือเป็นของฝากและขายดี จนต้องมีการรวมกลุ่มแม่บ้านแปรรูปลูกหยี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นที่คุ้นตากันดีสำหรับผ้าผืนบาง ๆ ลายตารางที่เรียกกันว่า ผ้าขาวม้า มีมาแต่สมัยโบราณ สำหรับที่นี่มีความพิเศษตรงที่ผ้าจะผ่านการหมักโคลนนาคี ซึ่งโคลนจะได้มาจากแม่น้ำโขงที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นที่อาศัยของพญานาค หรือ นาคี จึงเป็นที่มาของผ้าหมักโคลนนาคี บ้านหอคำเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีฉากหลังเป็นแม่น้ำโขงและภูเขาน้อยใหญ่ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่รอคอยผู้คนให้มาเยี่ยมเยือน
วิถีพุทธศาสนา คนสองฝั่งโขง
ทิวทัศน์ที่สวยงามสุดตลอดลำน้ำโขง ทำให้บ้านหอคำมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทั้งการล่องเรือจากบริเวณหน้าวัดหอคำเพื่อชมพระอาทิตย์ตก ชมวิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งโขง ประเทศไทยและประเทศลาว ที่นี่มีวัดอยู่หลายแห่งเพราะชาวบ้านนิยมทำบุญใส่บาตรอย่างสม่ำเสมอด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา วัดสุวรรณราชดาราม หรือ วัดหอคำ เป็นวัดที่มีความสำคัญกับหมู่บ้านมาอย่างยาวนาน และพื้นที่ไม่ไกลกันยังมีวัดหอคำเหนือ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดเหนือ มีพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ตะเคียนโบราณ ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับคนในชุมชนเช่นกัน ในทุกวันจันทร์และพฤหัสบดีจะมีตลาดยามเย็นริมแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสถานที่ผู้คนสองประเทศใช้ในการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากัน หากได้มาตลาดแห่งนี้ก็จะทำให้เข้าใจและเข้าถึงผู้คนที่นี่ได้มากขึ้น
กินอยู่ริมโขง
มาถึงบ้านหอคำต้องได้ลิ้มลองอาหารจากปลาแม่น้ำโขง ที่ชาวบ้านหากันแบบสด ๆ เมนูที่ต้องแนะนำ คือ ลาบปลาแม่น้ำโขง เป็นเมนูที่นำปลามาทำเป็นลาบ มีรสชาติจัดจ้าน มีความหวานจากเนื้อปลา ได้กลิ่นหอมจากสมุนไพรต่าง ๆ อีกหนึ่งเมนูที่ถือว่าเป็นเมนูที่หาทานกันไม่ได้ง่าย ๆ คือ เมนูที่ชาวบ้านเรียกกันว่าหม้อน้อย หม้อน้อยเป็นพืชชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยคล้าย ๆ กับใบย่านาง แต่ลักษณะของใบจะออกคล้ายรูปหัวใจสีเขียวมีขนอ่อน ๆ ตามใบและเถา หรือ กิ่ง ชาวบ้านจะนำใบหม้อน้อยมาขยี้ในน้ำธรรมดาจนได้เป็นน้ำหม้อน้อย ก่อนนำมาปรุงรสด้วยปลาป่นและสมุนไพรต่าง ๆ เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะเป็นวุ้น ถือว่ามีความแปลกแต่อร่อยแน่นอน ปิดท้ายด้วยขนมกล้วยที่มีความหวานและหอม ซึ่งได้กล้วยจากการปลูกกันเองในหมู่บ้าน
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน วิถีถิ่นริมฝั่งโขง บ้านหอคำ จ.บึงกาฬ วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2562 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บ้านหอคำ จังหวัดบึงกาฬ หากย้อนไปเมื่อ 300 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีเรื่องเล่าขานกันมาอย่างยาวนาน บ้านหอคำเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน มีหนองน้ำธรรมชาติมากมายจึงเหมาะแก่การเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อคือ การแปรรูปลูกหยี ที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกหยีทั่วไป มีการแปรรูปเป็นน้ำลูกหยี ลูกหยีอบแห้ง เป็นต้น เริ่มตั้งแต่การเก็บลูกหยีสด ๆ จากต้นมาแปรรูปตามที่ต้องการ ซึ่งสินค้าจากลูกหยีถือเป็นของฝากและขายดี จนต้องมีการรวมกลุ่มแม่บ้านแปรรูปลูกหยี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นที่คุ้นตากันดีสำหรับผ้าผืนบาง ๆ ลายตารางที่เรียกกันว่า ผ้าขาวม้า มีมาแต่สมัยโบราณ สำหรับที่นี่มีความพิเศษตรงที่ผ้าจะผ่านการหมักโคลนนาคี ซึ่งโคลนจะได้มาจากแม่น้ำโขงที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นที่อาศัยของพญานาค หรือ นาคี จึงเป็นที่มาของผ้าหมักโคลนนาคี บ้านหอคำเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีฉากหลังเป็นแม่น้ำโขงและภูเขาน้อยใหญ่ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่รอคอยผู้คนให้มาเยี่ยมเยือน
วิถีพุทธศาสนา คนสองฝั่งโขง
ทิวทัศน์ที่สวยงามสุดตลอดลำน้ำโขง ทำให้บ้านหอคำมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทั้งการล่องเรือจากบริเวณหน้าวัดหอคำเพื่อชมพระอาทิตย์ตก ชมวิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งโขง ประเทศไทยและประเทศลาว ที่นี่มีวัดอยู่หลายแห่งเพราะชาวบ้านนิยมทำบุญใส่บาตรอย่างสม่ำเสมอด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา วัดสุวรรณราชดาราม หรือ วัดหอคำ เป็นวัดที่มีความสำคัญกับหมู่บ้านมาอย่างยาวนาน และพื้นที่ไม่ไกลกันยังมีวัดหอคำเหนือ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดเหนือ มีพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ตะเคียนโบราณ ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับคนในชุมชนเช่นกัน ในทุกวันจันทร์และพฤหัสบดีจะมีตลาดยามเย็นริมแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสถานที่ผู้คนสองประเทศใช้ในการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากัน หากได้มาตลาดแห่งนี้ก็จะทำให้เข้าใจและเข้าถึงผู้คนที่นี่ได้มากขึ้น
กินอยู่ริมโขง
มาถึงบ้านหอคำต้องได้ลิ้มลองอาหารจากปลาแม่น้ำโขง ที่ชาวบ้านหากันแบบสด ๆ เมนูที่ต้องแนะนำ คือ ลาบปลาแม่น้ำโขง เป็นเมนูที่นำปลามาทำเป็นลาบ มีรสชาติจัดจ้าน มีความหวานจากเนื้อปลา ได้กลิ่นหอมจากสมุนไพรต่าง ๆ อีกหนึ่งเมนูที่ถือว่าเป็นเมนูที่หาทานกันไม่ได้ง่าย ๆ คือ เมนูที่ชาวบ้านเรียกกันว่าหม้อน้อย หม้อน้อยเป็นพืชชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยคล้าย ๆ กับใบย่านาง แต่ลักษณะของใบจะออกคล้ายรูปหัวใจสีเขียวมีขนอ่อน ๆ ตามใบและเถา หรือ กิ่ง ชาวบ้านจะนำใบหม้อน้อยมาขยี้ในน้ำธรรมดาจนได้เป็นน้ำหม้อน้อย ก่อนนำมาปรุงรสด้วยปลาป่นและสมุนไพรต่าง ๆ เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะเป็นวุ้น ถือว่ามีความแปลกแต่อร่อยแน่นอน ปิดท้ายด้วยขนมกล้วยที่มีความหวานและหอม ซึ่งได้กล้วยจากการปลูกกันเองในหมู่บ้าน
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน วิถีถิ่นริมฝั่งโขง บ้านหอคำ จ.บึงกาฬ วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2562 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live