วิถีชุมชนสองศาสนา
"บ้านตะโหมด" อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่เชิงเขาทางตะวันออกของแนวเทือกเขาบรรทัด เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไป ด้วยป่าไม้และแม่น้ำลำคลองที่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด จึงทำให้บ้านตะโหมดเป็นที่ราบ เหมาะแก่การทำกิน เช่น เพาะปลูก ทำไร่ ทำนา เพราะอยู่ใกล้เทือกเขามีแม่น้ำหลายสายจากเทือกเขาต่าง ๆ จึงเป็นที่ตั้งรกรากสร้างบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยของชาวตะโหมด ที่นี่เป็นชุมชนสองศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ชาวบ้านที่นี่อยู่อาศัยกันอย่างสามัคคี มีอัธยาศัยที่ดี และพร้อมที่จะต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม บ้านตะโหมดมีธรรมชาติที่สวยงาม และยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตรอีกมากมาย เช่น น้ำผึ้งบริสุทธิ์ เป็นน้ำผึ้งที่ชาวบ้านเลี้ยงด้วยวิธีการธรรมชาติ หรือจะเป็นทุเรียนทอด และโรตีกรอบ ที่ทำมาจากข้าวสังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวพื้นถิ่นของจังหวัดพัทลุง
ล่องแก่งชมธรรมชาติ
บ้านตะโหมด ด้วยความที่อยู่ใกล้เทือกเขาบรรทัด ทำให้ที่นี่มีธรรมชาติที่สวยงามมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก หรือ ลำคลองต่าง ๆ "น้ำตกหม่อมจุ้ย" เป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ มีน้ำใสสะอาดไหลผ่านโขดหินน้อยใหญ่ ลดหลั่นลงไปเป็นแนวยาว สามารถมองเห็นฝูงปลาน้อยใหญ่ที่แหวกว่ายไปมาและซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน หรือ จะล่องแก่งคลองหัวช้าง ซึ่งมีกิจกรรมให้สนุกกัน อย่าง การนั่งเรือคายัค ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและเป็นที่รู้จักกันดี ในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความท้าทายและชอบศึกษาธรรมชาติ และไม่ควรพลาดไปชมวิวแบบ 360 องศาที่ควนตาคม
มาถึงตะโหมดต้องลิ้มลอง
บ้านตะโหมด มีท้องไร่ท้องนามากมาย จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องอาหารการกิน เมนูที่คนตะโหมดพร้อมนำเสนอ คือ เมนู "แกงเผ็ดลูกปลา" เป็นเมนูที่มีความเผ็ดร้อนจากเครื่องแกงแบบคนใต้ นำมาแกงกับปลาซิว ปลาสร้อย ที่ได้มาจากท้องนา อีกหนึ่งเมนูที่บ่งบอกความเป็นอาหารใต้ คือ เมนู "ผักเหลียงต้มกะทิ" ผักเหลียงถือว่าเป็นผักพื้นถิ่นทางภาคใต้ เมื่อนำมาต้มกับกะทิ ทำให้ได้ความหวานจากผักเหลียงและกะทิ เมนูนี้ถือว่าเป็นเมนูที่กลมกล่อมเข้ากันเลยทีเดียว ปิดท้ายด้วยเมนูของหวาน เมนู "สาคูต้นกวนกะทิ" เป็นเมนูที่ได้แป้งมาจากต้นสาคู นำมากวนกับน้ำตาล แล้วราดด้วยน้ำกะทิ
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน หลงรักวิถีชุมชนสองศาสนา บ้านตะโหมด จ.พัทลุง วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2562 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
วิถีชุมชนสองศาสนา
"บ้านตะโหมด" อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่เชิงเขาทางตะวันออกของแนวเทือกเขาบรรทัด เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไป ด้วยป่าไม้และแม่น้ำลำคลองที่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัด จึงทำให้บ้านตะโหมดเป็นที่ราบ เหมาะแก่การทำกิน เช่น เพาะปลูก ทำไร่ ทำนา เพราะอยู่ใกล้เทือกเขามีแม่น้ำหลายสายจากเทือกเขาต่าง ๆ จึงเป็นที่ตั้งรกรากสร้างบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยของชาวตะโหมด ที่นี่เป็นชุมชนสองศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ชาวบ้านที่นี่อยู่อาศัยกันอย่างสามัคคี มีอัธยาศัยที่ดี และพร้อมที่จะต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม บ้านตะโหมดมีธรรมชาติที่สวยงาม และยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตรอีกมากมาย เช่น น้ำผึ้งบริสุทธิ์ เป็นน้ำผึ้งที่ชาวบ้านเลี้ยงด้วยวิธีการธรรมชาติ หรือจะเป็นทุเรียนทอด และโรตีกรอบ ที่ทำมาจากข้าวสังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวพื้นถิ่นของจังหวัดพัทลุง
ล่องแก่งชมธรรมชาติ
บ้านตะโหมด ด้วยความที่อยู่ใกล้เทือกเขาบรรทัด ทำให้ที่นี่มีธรรมชาติที่สวยงามมากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก หรือ ลำคลองต่าง ๆ "น้ำตกหม่อมจุ้ย" เป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ มีน้ำใสสะอาดไหลผ่านโขดหินน้อยใหญ่ ลดหลั่นลงไปเป็นแนวยาว สามารถมองเห็นฝูงปลาน้อยใหญ่ที่แหวกว่ายไปมาและซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน หรือ จะล่องแก่งคลองหัวช้าง ซึ่งมีกิจกรรมให้สนุกกัน อย่าง การนั่งเรือคายัค ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและเป็นที่รู้จักกันดี ในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความท้าทายและชอบศึกษาธรรมชาติ และไม่ควรพลาดไปชมวิวแบบ 360 องศาที่ควนตาคม
มาถึงตะโหมดต้องลิ้มลอง
บ้านตะโหมด มีท้องไร่ท้องนามากมาย จึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องอาหารการกิน เมนูที่คนตะโหมดพร้อมนำเสนอ คือ เมนู "แกงเผ็ดลูกปลา" เป็นเมนูที่มีความเผ็ดร้อนจากเครื่องแกงแบบคนใต้ นำมาแกงกับปลาซิว ปลาสร้อย ที่ได้มาจากท้องนา อีกหนึ่งเมนูที่บ่งบอกความเป็นอาหารใต้ คือ เมนู "ผักเหลียงต้มกะทิ" ผักเหลียงถือว่าเป็นผักพื้นถิ่นทางภาคใต้ เมื่อนำมาต้มกับกะทิ ทำให้ได้ความหวานจากผักเหลียงและกะทิ เมนูนี้ถือว่าเป็นเมนูที่กลมกล่อมเข้ากันเลยทีเดียว ปิดท้ายด้วยเมนูของหวาน เมนู "สาคูต้นกวนกะทิ" เป็นเมนูที่ได้แป้งมาจากต้นสาคู นำมากวนกับน้ำตาล แล้วราดด้วยน้ำกะทิ
ติดตามชมรายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน หลงรักวิถีชุมชนสองศาสนา บ้านตะโหมด จ.พัทลุง วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2562 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live